Homeม.ปลายฟิตเพิ่มเกรด-ชีวะฟิตเพิ่มเกรด ชีวะ ม.ปลาย - ระบบร่างกาย-ดวงตา

ฟิตเพิ่มเกรด ชีวะ ม.ปลาย – ระบบร่างกาย-ดวงตา

กลับมาเจอกับพี่มุกกันอีกครั้งนะคะกับฟิตเพิ่มเกรดชีวะม.ปลาย วันนี้พี่มุกนำเรื่อง อวัยวะและระบบของร่างกาย มาฝากน้องๆ ที่กำลังจะขึ้นม.4 ให้ได้เตรียมตัวกันก่อนเปิดเทอม รับรองว่าเปิดเทอมไปน้องๆ จะต้องเข้าใจที่คุณครูสอน
อย่างเเน่นอนเเละเทคนิคที่พี่มุกนำมาฝากกันในวันนี้เป็นเทคนิคที่พี่มุกใช้ตอนสมัยเรียนม.ปลาย (ผ่านมาหลายปีมากกกก) โดยพี่มุกจะเน้นการจำเป็นภาพพี่มุกวาดเองง่ายๆ เเละเขียนคำศัพท์กำกับไว้ ซึ่งสรุปภาพที่พี่มุกนำมาฝากกันวันนี้ รับรองว่าเข้าใจง่ายนำไปใช้อ่านสอบได้เเน่นอน เเละยังมีตัวอย่างโจทย์ง่ายๆ ให้น้องๆ ได้ลองทำอีกด้วยถ้าน้องๆ พร้อมเเล้ว ไปดูสรุปภาพที่พี่มุกนำมาฝากกันเลย ^^

เทคนิคของพี่มุกคืออ่านให้จบคร่าวๆก่อน เเล้วสรุปเป็นรูปออกมาให้ได้เขียนคำศัพท์หรือโน๊ตสั้นๆ กำกับไว้ในส่วนที่สำคัญ หรือต้องการเน้นจะไม่จดเเบบลอกจากหนังสือเเต่จะสรุปเเค่ส่วนที่สำคัญพอ เเละการที่จดเป็นคำศัพท์กำกับไว้ยังช่วยให้น้องๆ ผลัดกันถามตอบทบทวนความจำกับเพื่อนได้อีกด้วย สำหรับน้องๆ คนไหนที่รู้ว่าเเต่ละส่วนในรูปเรียกว่าอะไร (ภาษาไทย) เเละทำหน้าที่อะไร พี่มุกอยากให้น้องๆ ลองเขียนในรูปเพิ่มเติมกันดูเเละอย่าลืมมาเเชร์ให้พี่มุกดูกันด้วยน้า เป็นการทบทวนความรู้ของตัวเองเเละยังได้เเบ่งปันความรู้กับเพื่อนๆ อีกด้วย 

ส่วนประกอบของดวงตา

โดยหน้าที่ของส่วนต่างๆ ของดวงตาเรามีดังนี้

  • กระจกตา (Cornea) เป็นหน้าต่างของดวงตา ทำให้เกิดการหักเหของแสง
  • ม่านตา (Iris) เป็นส่วนที่ทำให้ดวงตาของคนเรามีสีต่างกัน เช่น สีเขียว, สีฟ้า, สีน้ำตาลหรือสีดำ
    หน้าที่ของม่านตาคือช่วยในการควบคุมขนาดของรูม่านตา โดยการหดตัวหรือขยายตัวของกล้ามเนื้อม่านตา
  • เลนส์แก้วตา (Lens) ป็นส่วนที่ใสอยู่หลังม่านตา หน้าที่ของเลนส์แก้วตาคือช่วยโฟกัสเพื่อการมองเห็นที่ชัดเจน
  • รูม่านตา (Pupil) เป็นรูกลม ๆ ที่เห็นในดวงตา มีหน้าที่ควบคุมปริมาณแสงที่ผ่านเข้าสู่ลูกตา เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแสงจ้า ม่านตาจะหดทำให้แสงเข้าตาได้น้อยลง ส่วนในที่มืดม่านตาจะขยายเพื่อให้แสงเข้าตาได้มากขึ้น
  • น้ำวุ้นตา (Vitreous) มีลักษณะคล้ายเจลอยู่ด้านในช่องหลังลูกตา ทำหน้าที่ให้ลูกตาคงรูปลักษณะกลมตลอดเวลา
  • เส้นประสาท (Optic Nerve) เป็นตัวส่งผ่านการกระตุ้นของการมองเห็นจากจอประสาทตามายังสมอง

จอประสาทตา(Retina) ทำหน้าที่คล้ายกับฟิล์มถ่ายรูปโดยจะส่งผ่านรูปไปยังสมอง ซึ่งในภาวะสายตาปกติ การหักเหของแสงจะลงมาตกกระทบที่จอประสาทตาพอดี นอกจากนั้นเรติน่ายังประกอบด้วยเซลล์ประสาท 2 ชนิดดังนี้

  1. เซลล์ประสาทรูปแท่ง (Rod Cell) ทำให้เกิดความรู้สึกเกี่ยวกับความมืดและความสว่าง ทำงานได้ดีในที่มีแสงสว่างน้อย
  2. เซลล์ประสาทรูปกรวย (Cone Cell) ทำให้เกิดความรู้สึกเกี่ยวกับสี ทำงานได้ดีในที่มีแสงสว่างมาก
    Cone cell มี 3 ชนิดซึ่งเเต่ละชนิดไวต่อสีต่างกัน ซึ่งสีที่ลูกตาเรามองเห็นนั้นคือ สีเเดง, เหลืองเเละน้ำเงินเพราะมีความเข้มเเสงสูง

หลังจากรู้หน้าที่ของส่วนประกอบต่างๆของดวงตาไปเเล้วพี่มุกมีโจทย์ง่ายๆ มาให้น้องๆ ได้ลองทำเพื่อทบทวนความเข้าใจดู อย่าเพิ่งเเอบดูเฉลยนะ ลองคิดเองดูก่อนเเล้วค่อยเลื่อนลงไปดูเฉลยน้า

ตัวอย่างโจทย์ เรื่อง ดวงตา

เฉลยคำตอบ

ข้อ 1 ตอบ ก. 
ข้อ 2 ตอบ ข. 
ข้อ 3 ตอบ ง.

เห็นไหมว่าไม่ยากเลยเเค่น้องๆ จำเป็นภาพนอกจากจะจำง่ายเเล้วยังทำให้การเรียนไม่น่าเบื่ออีกด้วยสำหรับน้องๆ คนไหนที่มีคำถามเพิ่มเติมหรืออยากรู้เทคนิคการทำข้อสอบเรื่องไหนสามารถมาพูดคุยกันได้ที่ Facebook Dek-D School หรือ Line @schooldekd

สำหรับน้องๆ คนไหนที่อยากเก่งชีวะแบบไม่ต้องท่องจำเเละสนุกกับการเรียนชีวะให้เป็นเรื่องราวสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครเรียนได้ที่ เก่งชีววิทยา สอนโดยดร.ศุภณัฐ ไพโรหกุล (อ.อุ้ย) ผู้แต่งหนังสือ Biology และ Essential Biology โอกาสดีๆ ที่น้องๆ สามารถเรียนออนไลน์เเละถามคำถามกับอาจารย์ได้ทันที บอกเลยว่าอาจารย์สอนสนุกเเละเข้าใจง่ายมากอยากให้น้องๆ ได้มาลองเรียนกันนะคะเเละอย่าลืมติดตามฟิตเพิ่มเกรดในตอนต่อไปว่าพี่มุกจะมีเทคนิคการเรียนเรื่องไหนมาฝากกันรับรองว่าน้องๆ ที่อ่านฟิตเพิ่มเกรดทุกคนคะเเนนจะต้องพุ่งขึ้นอย่างเเน่นอนค่ะ ? 

เลือกฟิตเนื้อหาชีวะเพิ่มเกรดเทอมที่ต้องการได้เลย!

[แพ็ก] ติว TCAS ชีวะ 7 คอร์ส
  • สรุปชีวะ 6 เทอม ม.ปลาย อัปเดตหลักสูตรใหม่ปี 60”
  • ตะลุยโจทย์ TCAS กว่า 440 ข้อ พร้อมเฉลยเอียดยิบ
RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular

Recent Comments