HomeTCASเปรียบเทียบข้อสอบฟิสิกส์ O-NET PAT2 วิชาสามัญ ต่างกันยังไง อันไหนยากสุด

เปรียบเทียบข้อสอบฟิสิกส์ O-NET PAT2 วิชาสามัญ ต่างกันยังไง อันไหนยากสุด

สวัสดีค่ะน้องๆ #Dek63 และน้องๆ ม.ปลายทุกคน น้องๆ คงเคยได้ยินชื่อข้อสอบ O-NET วิทยาศาสตร์, PAT2, วิชาสามัญฟิสิกส์ มาแล้ว เคยสงสัยไหมคะ ว่าเขาต่างกันยังไง วันนี้พี่บิวจะพาน้องๆ ไปเปรียบเทียบข้อสอบ TCAS วิชาฟิสิกส์ให้เห็นชัดๆ ไปเลยว่าเขาต่างกันยังไง บทไหนออกบ่อย และมีเทคนิคเตรียมตัวสอบยังไงให้คะแนนดี ก่อนจะไปดูพี่บิวมีเปรียบเทียบของวิชาอื่นให้ดูด้วยนะ คลิกดูได้เลย เปรียบเทียบข้อสอบคณิต เปรียบเทียบข้อสอบเคมี 

ข้อสอบฟิสิกส์ PAT2 วิชาสามัญ O-NET ต่างกันอย่างไร

ข้อสอบต่างกันอย่างไร

จะเห็นว่าข้อสอบวิชาสามัญฟิสิกส์จะมีความยากและลึกที่สุด เพราะฉะนั้นหากเราเตรียมตัวทำความเข้าใจทั้งส่วนเนื้อหาและทำแบบฝึกหัดที่ลึกพอจะทำให้เราทำได้ทั้งวิชาสามัญ PAT2 และ O-NET
ข้อสอบวิชาสามัญ นอกจากโจทย์และคำตอบจะมาในรูปของตัวแปร ไม่เน้นคิดเลขแล้ว ตัวโจทย์มักจะมีรูปประกอบ ทำให้ประหยัดเวลาในการอ่านโจทย์ แต่ก็ต้องอ่านจับใจความเพื่อให้เข้าใจว่าโจทย์ถามอะไร และให้ตัวแปรใดมาแล้วบ้าง  
ข้อสอบ PAT2 จะมีการคำนวณตัวเลขเยอะ ซึ่งส่วนนี้จะต้องฝึกคิดเลขให้เร็วและถูกต้องแม่นยำ เพราะแต่ละข้อมีเวลาทำไม่ถึงสามนาที โจทย์จะมีความซับซ้อนน้อยกว่าวิชาสามัญ นอกจากการคำนวณแล้ว PAT2 ยังมีโจทย์แนววิเคราะห์ เช็คความเข้าใจ ซึ่งถ้าเข้าใจในเนื้อหาจริงๆจะตอบได้อย่างรวดเร็วภายในหนึ่งถึงสองนาที ทำให้มีเวลาไปเก็บข้อที่ต้องคำนวณมากขึ้นด้วย

เวลาทำข้อสอบ TCAS ฟิสิกส์

แต่ละข้อมีเวลาทำเท่าไร

จะเห็นว่าวิชาสามัญวิทยาศาสตร์ทั่วไปกับ PAT2 มีเวลาทำน้อยที่สุด แต่ข้อสอบวิชาสามัญวิทยาศาสตร์ทั่วไปจะไม่ยากมาก และข้อสอบ PAT2 ถึงจะไม่ยากซับซ้อนเหมือนวิชาสามัญฟิสิกส์แต่เวลาทำน้อยกว่า น้องๆ ต้องทำความเข้าใจในเนื้อหาและคิดเลขเร็วนิดนึงนะ

ข้อสอบ TCAS ฟิสิกส์ มีจำนวนข้อละกี่คะแนน

ข้อละกี่คะแนน

เทียบคะแนนให้เห็นชัดๆ ไปเลย ข้อยากหรือข้อง่ายคะแนนเท่ากันนะ เลือกเก็บข้อง่ายที่น้องๆ ถนัดไปเลยดีกว่า

เนื้อหาที่ออกบ่อยในข้อสอบ TCAS ฟิสิกส์

เนื้อหาที่ออกบ่อย และน่าเก็บคะแนน

โจทย์กลศาสตร์อาจจะยากหน่อยสำหรับคนที่ไม่แม่น โดยเฉพาะเรื่องทิศทาง และเวกเตอร์ เพราะจะทำให้ใช้เวลาคิดวิเคราะห์นาน แต่ถ้ามีเวลาเตรียมตัวและเก็บคะแนนส่วนนี้ได้ จะทำให้คะแนนเราดีกว่าคนส่วนใหญ่เลย เพราะเนื้อหาคอนเซ็ปท์นั้นแทบจะเป็นเรื่องเดียวกันทั้งหมดและใช้ต่อเนื่องได้ทุกบท ซึ่งกลศาสตร์ที่ว่านี้ก็คือเนื้อหาของ ม.4 ทั้งเทอม 1 และเทอม 2 นั่นเอง
แสง และเสียง คือ เรื่องที่ออกแน่ๆ แต่คำนวณไม่ซับซ้อนเท่ากลศาสตร์
ส่วนเรื่อง สมบัติของสาร ฟิสิกส์นิวเคลียร์ และฟิสิกส์อะตอม เนื้อหาและสมการที่ต้องใช้จะมีค่อนข้างเยอะ แต่ถ้าจำได้จะมีประโยชน์มาก เพราะส่วนคำนวณจะง่ายและตรงไปตรงมาไม่ซับซ้อนเท่าบทอื่นๆ 

ตัวอย่างข้อสอบ PAT2 ฟิสิกส์

เปรียบเทียบข้อสอบจริง – PAT2

บอกแค่ว่ายากง่ายมันยังไม่เห็นภาพ เอาข้อสอบจริงมาให้ดูกันเลย ข้อสอบ PAT2 จะให้คิดเลขเยอะนิดนึง พวกเลขยกกำลัง เศษส่วน น้องๆ ต้องระวังตรงนี้ไม่ให้คิดเลขผิดนะ

เฉลยข้อสอบ PAT2 ฟิสิกส์

โจทย์เป็นเรื่องของการชน จึงใช้เรื่องกฎการอนุรักษ์โมเมนตัมมาช่วย โดยที่ก่อนชน เราจะคิดแค่มวลของลูกปืน เพราะมวลของก้อนไม้ไม่มีความเร็ว (u=0 นั่นเอง) และหลังชน ลูกปืนมันฝังเข้าไปแล้ว เท่ากับมวล 2 ก้อนนี้มันรวมกัน ดังนั้น เราต้องเอามวลมาบวกกัน เมื่อแก้สมการหาค่า v ได้แล้ว ก็ไปแก้หาพลังงานจลน์ที่หายไปได้เลย นั่นคือ การเอาพลังงานจลน์ตอนแรก มาลบกับพลังงานจลน์ในตอนหลัง ก็จะได้คำตอบออกมานั่นเอง

ตัวอย่างข้อสอบวิชาสามัญ ฟิสิกส์

เปรียบเทียบข้อสอบจริง – วิชาสามัญฟิสิกส์

ข้อนี้เป็นกลศาสตร์ เรื่องโมเมนตัมและการชน จะเห็นว่าโจทย์จะมีรูปมาให้ และตัวเลือกเป็นแบบตัวแปรไว้ น้องๆ ต้องจับใจความได้นะว่าโจทย์ถามอะไร และให้ตัวแปรอะไรมาบ้าง

เฉลยโจทย์ วิชาสามัญฟิสิกส์

วิธีคิดข้อนี้ เริ่มจากกฎการอนุรักษ์โมเมนตัมของมวล m ก่อนที่จะชนและมวล m ตอนที่ชนแล้วจะได้ค่าของ \(v_2\) มา จากนั้นก็หา h จากกฎการอนุรักษ์พลังงาน แทนค่า \(v_2\) ลงไปก็ได้คำตอบเรียบร้อย

ตัวอย่างโจทย์ข้อสอบ O-NET วิทยาศาสตร์

เปรียบเทียบข้อสอบจริง – O-NET วิทยาศาสตร์

ข้อสอบ O-NET จะคำนวณไม่ค่อยเยอะ จะเน้นถามเป็นข้อความมากกว่า อย่างเช่นข้อนี้ที่โจทย์ยาวมาก แต่วิธีคิดง่ายนิดเดียว

เฉลยโจทย์ O-NET วิทยาศาสตร์

แค่แทนสูตร \(w=mg\) หาค่าน้ำหนัก A และ B ก็ได้คำตอบแล้ว ง่ายมากเลย

เป็นยังไงบ้างคะ เห็นความแตกต่างของข้อสอบหรือยังเอ่ย อ่านจบแล้วอย่าลืมลองทำโจทย์และจับเวลาข้อสอบเสมือนจริงดูนะ และถ้าน้องๆ คนไหนยังไม่เข้าใจเนื้อหาพี่บิวมีคอร์สออนไลน์พิชิต TCAS ฟิสิกส์ สอนโดย อ.หลิน ดร.สลิลพร กิตติวัฒนากูล อาจารย์พิเศษ ภาควิชาวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์วัสดุ University of Virginia USA และ อาจารย์ประจำภาควิชา ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาแนะนำค่ะ ในคอร์สนี้อ.หลิน จะสรุปเนื้อหาฟิสิกส์ ม.ปลายครบทั้ง 3 ปี แบบสั้น กระชับ ตรงจุดที่ออกสอบบ่อย น้องๆ ที่ไม่แม่นพื้นฐานก็เรียนได้นะคะ เรียกได้ว่าเข้าใจเนื้อหา ม.ปลายครบถ้วน ในเวลาจำกัด ที่สำคัญอาจารย์ยังมีแนวข้อสอบเก่ามาให้น้องๆ ได้ฝึกฝีมือก่อนสอบจริง พร้อมเฉลยละเอียดทุกข้อ ทุกขั้นตอน น้องๆ จะได้ฝึกเทคนิคการตีโจทย์ ดูจุดที่โจทย์ชอบหลอก ช่วยให้เราทำข้อสอบได้รวดเร็วและแม่นยำขึ้นด้วยค่ะ ที่สำคัญถ้าน้องๆ เรียนแล้วไม่เข้าใจส่วนไหน สามารถสอบถามอาจารย์ใต้คลิปที่กำลังเรียนอยู่ได้เลยนะคะ

น้องๆ ที่อยากพิชิตคะแนน PAT2, O-NET และ 9 วิชาสามัญได้ในคอร์สเดียว  สามารถ Click ดูรายละเอียดหัวข้อที่เปิดสอน และสมัครเรียนที่รูปด้านล่างได้เลยค่ะ 

สอบถามเพิ่มเติม และปรึกษาพี่ๆ Dek-D School ได้เลยที่ Line @schooldekd และติดตามข่าวสารการเตรียมตัวสอบได้ที่ช่องทางต่างๆ ต่อไปนี้

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular

Recent Comments