สวัสดีค่ะน้องๆ ม.4 ทุกคน การสอบปลายภาคใกล้เข้ามาแล้ว เป็นยังไงบ้างคะ เตรียมตัวพร้อมแล้วหรือยัง วันนี้พี่บิวมีฟิตเพิ่มเกรดฟิสิกส์ ม.ปลาย เรื่อง การเคลื่อนที่แบบต่างๆ มาฝากน้องๆ ซึ่งพี่บิวจะมีสรุปสูตร และมีโจทย์สำหรับการเคลื่อนที่แต่ละแบบให้น้องๆ ด้วย ว่าแล้วมาดูกันเลยค่ะ ว่ามีการเคลื่อนที่แบบไหนบ้าง
การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ หรือการเคลื่อนที่วิถีโค้ง เป็นการเคลื่อนที่ของแนวราบ และแนวระดับไปพร้อมๆ กัน โดยที่แกน x จะมีความเร็วคงที่ เช่น การขว้างลูกบอลออกไปข้างหน้า (แกน x) แต่เนื่องจากมีแรงโน้มถ่วงของโลก ดึงให้ลูกบอลตกลงมา (แกน y) จึงทำให้วิถีของลูกบอลพุ่งออกไปตรงๆ และโค้งลงมาด้วยพร้อมๆ กัน
ภาพการขว้างลูกบอล จากคอร์สเก่งฟิสิกส์ ม.4 เทอม 1
การคำนวณการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ คือการคำนวณ แกน x , แกน y แยกกัน จากสูตร
ตัวอย่างโจทย์
การเคลื่อนที่แบบวงกลม
การเคลื่อนที่แบบวงกลมแบบอัตราเร็วคงตัว หรือ แบบวงกลมสม่ำเสมอ การที่วัตถุจะเคลื่อนที่เป็นวงกลมได้นั้น คือ วัตถุมีแรงสู่ศูนย์กลาง ทำให้วัตุมีการเปลี่ยนทิศของความเร็ว ตัวอย่างที่พบได้ในชีวิตประจำวัน เช่น การเลี้ยวโค้งของรถ รถไฟเหาะ เป็นต้น
ภาพการหมุนของลูกตุ้ม จากคอร์สเก่งฟิสิกส์ ม.4 เทอม 1
โดยการคำนวณจะใช้สูตรดังนี้
ตัวอย่างโจทย์
การเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์มอนิก
การเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์มอนิก คือ การเคลื่อนที่แบบกลับไปกลับมาซ้ำที่จุดเดิม โดยผ่านจุดสมดุล เช่น การแกว่งลูกต้ม การสั่นของสปริง
ภาพการแกว่งของลูกตุ้ม จากคอร์สเก่งฟิสิกส์ ม.4 เทอม 1
สูตรที่ใช้ในการคำนวณซิมเปิลฮาร์มอนิก
ตัวอย่างโจทย์
เป็นยังไงบ้างคะ สำหรับฟิตเพิ่มเกรด การเคลื่อนที่แบบต่างๆ พี่บิวหวังว่าบทความนี้จะช่วยน้องๆ ให้ผ่านปลายภาคนี้ไปอย่างสวยงามนะคะ ถ้ามีข้อสงสัยสอบถามพี่บิวมาได้เลยที่ FB page Dek-D School หรือ Line @SchoolDekD
ติดตามข่าวสารการเตรียมตัวสอบจาก Dek-D School เพิ่มเติมได้ที่ช่องทางต่างๆ ต่อไปนี้