เหลือเวลาอีก 1 เดือนก็จะถึงวันสอบ PAT3 แล้ว น้องๆ #dek65 เตรียมตัวกันไปถึงไหนแล้ว วันนี้พี่โค้ช Dek-D School มีโจทย์มาให้น้องๆ เช็กความพร้อมก่อนสอบจริงกับ ข้อสอบ PAT3 ปี 64 ครบทุกพาร์ททั้ง ฟิสิกส์, เคมี, คณิตศาสตร์ และศักยภาพ พร้อมแนะนำแนวทาง และเทคนิคการทำข้อสอบ
โครงสร้างข้อสอบ PAT3 จาก Blueprint 65
เนื้อหา
- กลศาสตร์ แรง มวลและการเคลื่อนที่
- ไฟฟ้า แม่เหล็กไฟฟ้า คลื่น แสงและเสียง
- พลังงาน ความร้อนและของไหล
- เคมี สารและสมบัติของสาร
- คณิตศาสตร์และสถิติประยุกต์เชิงวิศวกรรม
- พื้นฐานวิศวกรรมศาสตร์
- การเขียนแบบเชิงวิศวกรรม
สมรรถนะ
- การคิดวิเคราะห์เชิงช่างและมิติสัมพันธ์
- ความถนัดเชิงช่าง
- ความคิดเชิงตรรกะเชิงช่าง
- สามัญสำนึกเรื่องความปลอดภัยกับสิ่งแวดล้อม
- การแก้ปัญหา
- ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
จากโครงสร้างข้อสอบ จะเห็นว่าเนื้อหาที่ออกสอบแทบไม่ต่างจากปีก่อนๆ เลย แต่มีส่วนของพื้นฐานวิศวกรรมศาสตร์ และการเขียนแบบเชิงวิศวกรรมเพิ่มเข้ามา ซึ่งก็ไม่ใช่เนื้อหาใหม่ ข้อสอบปีก่อนๆหน้านี้ ก็เคยออกเรื่องนี้เหมือนกัน ฉะนั้นน้องๆ สามารถใช้แนวข้อสอบจากปี 64 และปีก่อนหน้านั้นเป็นแนวทางได้เลย
ตัวอย่าง ข้อสอบ PAT3 จากแนวข้อสอบปี 64
ข้อนี้วัตถุมีมวลเท่ากัน ความเร็วเท่ากัน แต่มีทิศทางต่างกัน ผลรวมโมเมนตัมหลังชนจะต้องมีค่าเท่ากับ 0 ไม่ว่าจะแกนใดก็ตาม
ข้อนี้เป็นเรื่อง การเคลื่อนที่แบบหมุน โจทย์ให้ค่าโมเมนต์ความเฉื่อยมา และให้หาค่าของทอร์ก และอย่าลืมแปลงหน่วยเป็นหน่วยในระบบ SI โดยโจทย์ให้หน่วยรอบของการหมุนเป็น rpm ให้แปลงเป็น rad/s
เรื่องการเคลื่อนที่แบบหมุนนี้ เป็นเรื่องที่หลักสูตรใหม่ตัดออกไปแล้ว แต่ข้อสอบ PAT3 ยังเอามาออกสอบได้อยู่ เพราะอาจจะเป็นเนื้อหาที่จำเป็นต่อการเรียนวิศวะในอนาคต ซึ่งข้อสอบปี 65 ก็อาจจะเอามาออกได้อีกเช่นกัน ถ้าน้องๆ ยังเหลือเวลาเตรียมตัวอยู่ ศึกษาเนื้อหาเรื่องนี้เพิ่มไปด้วยก็ดีเลย
ข้อนี้เป็นเรื่อง การเคลื่อนที่ในของเหลว ซึ่งเป็นเนื้อหาในบทของไหล ที่มักจะออกสอบไม่ยาก แต่ต้องระวังเรื่องการแทนสูตร ตัวแปรเดียวกัน อาจจะไม่ได้หมายถึงสิ่งเดียวกัน และต้องอย่าลืมเปลี่ยนหน่วยให้อยู่ในระบบ SI
ข้อนี้เป็นเรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ ต้องระวังเรื่องหน่วยว่าโจทย์ให้เราหาหน่วยไหน และต้องระวังเรื่องแก๊สที่ STP 1 โมลมีค่าเท่ากับ 22.4 L
ข้อนี้จะเห็นว่าโจทย์ให้หน่วยมาไม่เหมือนกันเลย เราต้องแปลงหน่วยให้เป็นหน่วยเดียวกันก่อน กระเบื้องต้องเว้นระยะห่าง 5 mm ดังนั้น ต้องรวมระยะห่างนี้ไปกับกระเบื้องด้วย และถ้าหารแล้วมีเศษให้ปัดเศษขึ้นไปเลย เพราะมันจะมีส่วนที่เหลือของกระเบื้องอยู่
ข้อนี้เป็นโจทย์คณิตศาสตร์ โจทย์ให้หาอัตราส่วนของ h(8) กับ h(g(f(3))) และฟังก์ชันที่ซ้อนกันหลายๆ อันแบบนี้เราต้องทำจากข้างในสุดมาข้างนอกสุด
ข้อนี้เป็นโจทย์หาความสัมพันธ์ของภาพซึ่งอยู่ในพาร์ทศักยภาพทางวิศวะ เป็นอีกพาร์ทที่น่าเก็บคะแนนเลย แต่ต้องระวังอย่าสับสนกับรูปเท่านั้นเลย
รูปสี่เหลี่ยมจะหมุนตามเข็มนาฬิกาไปทีละครึ่งๆ และรูปเล็กช่องทึบๆ ก็จะขยับตามเข็มนาฬิกาไปทีละ 2 ช่อง ส่วนรูปเล็กช่องลายทาง จะขยับไปทิศทวนเข็มไปทีละ 1 ช่อง การที่รูปสี่เหลี่ยมรูปใหญ่หมุนไปเรื่อยๆ อาจจะทำให้น้องๆ มึนได้ ว่ารูปเล็กมันขยับไปตรงไหนกันแน่
ผ่านไปแล้ว 7 ข้อ เป็นยังไงบ้างคะ ถ้าน้องๆ ยังทำโจทย์พวกนี้ไม่ได้ ต้องฟิตเพิ่มด่วนๆ แล้วนะ ถ้าน้องๆ อยากรู้ว่าแนวข้อสอบปี 64 เป็นยังไงอ่านเพิ่มเติมได้เลยที่ คลิก
ติวออนไลน์พิชิต PAT3 วิศวะ กับ Dek-D School
ติวออนไลน์พิชิต PAT3 วิศวะ โค้งสุดท้ายกับอาจารย์จากจุฬา ภายในประกอบไปด้วยสรุปเนื้อหาแบบกระซับ เจาะลึกถึงที่มาที่ไป เชื่อมโยงเนื้อหาให้น้องๆ เข้าใจภาพรวม พร้อมทั้งตะลุยโจทย์เก่าๆ 360 ข้อ สนใจคอร์สคลิกดูรายละเอียดที่กล่องด้านล่างได้เลย
ทั้ง 2 คอร์สสามารถทวนซ้ำได้ไม่จำกัด 6 เดือนเต็ม พร้อมหนังสือประกอบการเรียนส่งตรงถึงบ้าน ฟรี! มีข้อสงสัยสามารถสอบถามอาจารย์ที่ใต้วิดีโอได้เลย เมื่ออาจารย์ตอบคำถามแล้ว จะมีแจ้งเตือนส่งกลับหาน้องๆ ทันที
สอบถามเพิ่มเติม และปรึกษาพี่ๆ ได้เลยที่ Line @schooldekd และติดตามข่าวสารการเตรียมตัวสอบได้ที่ช่องทางต่างๆ ต่อไปนี้เลย