HomeTCASทวงคืนคะเเนนชีวะ การหายใจ สรุปเน้นๆ เคลียร์ทุกข้อสงสัย พร้อมใช้สอบจริง !!!

ทวงคืนคะเเนนชีวะ การหายใจ สรุปเน้นๆ เคลียร์ทุกข้อสงสัย พร้อมใช้สอบจริง !!!

ปีนี้น้องๆ #Dek64 เลื่อนเปิดเทอม อยู่บ้านกันยาวๆ มีเวลาเตรียมตัวนานขึ้น พี่มุกคิดว่าต้องมีน้องที่เริ่มอ่านหนังสือเตรียมสอบสำหรับ #TCAS64 แล้วแน่ๆ วันนี้พี่มุกเลยเอาสรุปชีวะเรื่อง ระบบหายใจ จากอ.อุ้ย Dek-D School มาฝากน้องๆ กัน อย่ารอช้าไปดูกันเลยว่าเนื้อหาวันนี้จัดหนักจัดเต็มเเค่ไหน 

ถ้าพูดถึงอวัยวะที่ใช้ในการหายใจเเน่นอนว่าต้องคิดถึงจมูกเป็นสิ่งเเรกเเต่ยังมีอวัยวะอื่นๆ ที่สำคัญอีกเช่นกันโดยอ.อุ้ยสรุปมาให้น้องๆ เป็นรูปภาพดังนี้ค่า 

โครงสร้างระบบทางเดินหายใจของมนุษย์

ซึ่งหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ ที่ใช้ในการหายใจมีดังนี้ค่ะ 
1.จมูก (Nose) : ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศที่หายใจเข้าไปยังช่องจมูกและกรองฝุ่น ละอองเปรียบเหมือนประตูเมืองนั้นเอง
2. หลอดคอ (Pharynx) : หลอดคอติดต่อทั้งช่องปากและช่องจมูก จึงแบ่งเป็นหลอดคอส่วนจมูก กับ หลอดคอส่วนปาก โดยมีเพดานอ่อนเป็นตัวแยกสองส่วนนี้ออกจากกัน โครงของหลอดคอประกอบด้วยกระดูกอ่อน 9 ชิ้นด้วยกัน ชิ้นที่ใหญ่สุดคือกระดูกไทรอยด์ หรือ “ลูกกระเดือก” ในผู้ชายเห็นได้ชัดกว่าผู้หญิง
3. หลอดเสียง (Larynx) : หลอดเสียงจะเจริญขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุ 
4. หลอดลม (Trachea) : เป็นส่วนที่ต่อมาจากหลอดเสียง ยาวลงไปในทรวงอก หลอดลมมีกระดูกอ่อนจึงทำให้เปิดอยู่ตลอดเวลา ไม่มีโอกาสที่จะแฟบเข้าหากันได้โดยแรงดันจากภายนอก ทำให้อากาศเข้าได้ตลอดเวลา หลอดลม ส่วนที่ตรงกับกระดูกสันหลังช่วงอกแตกแขนงออกเป็นหลอดลมแขนงใหญ่ (Bronchi) ข้างซ้ายและขวา เมื่อเข้าสู่ปอดก็แตกแขนงเป็นหลอดลมเล็กในปอดหรือที่เรียกว่า หลอดลมฝอย (Bronchiole) และไปสุดที่ถุงลม (Aveolus)ซึ่งเป็นการที่อากาศอยู่ กล้กับเลือดในปอดมากที่สุด จึงเป็นบริเวณแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน กับคาร์บอนไดออกไซด์
5. ปอด (Lung) : ปอดมีสองข้างซ้าย – ขวา ฐานของปอดแต่ละข้างจะใหญ่และวางแนบสนิทกับกระบังลมระหว่างปอด 2 ข้าง จะพบว่ามีหัวใจอยู่ หน้าที่ของปอดคือ การนำก๊าซ CO2 ออกจากเลือด และนำออกซิเจนเข้าสู่เลือด ปอดจึงมีรูปร่างใหญ่ มีลักษณะยืดหยุ่นคล้ายฟองน้ำ
6. เยื่อหุ้มปอด (Pleura) : เป็นเยื่อที่บาง หุ้มผิวภายนอกของปอด เ เยื่อหุ้มปอดมี 2 ชั้น ระหว่าง 2 ชั้นนี้มี ของเหลวอยู่ เพื่อลดแรงเสียดสี ระหว่างเยื่อหุ้มมีโพรงว่าง 

ต่อไปเป็นกลไกการทำงานของระบบหายใจโดยอ.อุ้ยได้สรุปเป็นตารางให้ดูเข้าใจง่ายตามรูปนี้เลยจ้า 

กลไกการหายใจเข้า-ออก

โดยที่อ.อุ้ยได้ฝากทริคเล็กๆ น้อยๆ มาตามนี้เลยค่า ^^ 

ข้อควรระวัง เรื่อง การหายใจ

ต่อไปเป็นกลไกการเเลกเปลี่ยนก๊าซมาดูกันว่ามีการทำงานยังไง 

กลไกการแลกเปลี่ยนก๊าซ

ต้องไม่ลืมนะคะว่าสิ่งที่กำหนดอัตราการหายใจเข้าออกคือ ปริมาณก๊าซ CO2 ในเลือดน้า 
ตอนนี้น้องๆ คงเห็นภาพการทำงานของระบบหายใจเเล้วเเต่เพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นอ.อุ้ยก็ได้ฝากตัวอย่างโจทย์มาด้วยค่ะไปลองดูกันเลย 
 
ตัวอย่างข้อสอบ การหายใจ

บอกเลยว่าง่ายมากกก ถ้าใครอ่านบทความนี้ตั้งเเต่ต้นต้องตอบได้เเน่นอนค่ะ ลองตอบดูเเล้วค่อยดูเฉลยนะ 

เฉลยโจทย์ การหายใจ

เห็นไหมคะว่าไม่ยากเลยเเค่น้องๆ เข้าใจเชื่อมโยงเนื้อหาเป็นเรื่องราวได้เเค่นี้ก็ทำข้อสอบได้เเล้ว เทคนิคดีๆ เเบบนี้ยังไม่หมดนะคะนี้เป็นเเค่ส่วนนึงเท่านั้น !!! น้องๆ คนไหนที่อยากได้เทคนิคเเบบจัดเต็ม สอนโดย ดร.ศุภณัฐ ไพโรหกุล (อ.อุ้ย) ผู้แต่งหนังสือ Biology และ Essential Biology น้องๆ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครเรียนได้กล่องด้านล่างนี้เลย

สำหรับน้องๆ คนไหนที่มีคำถามเพิ่มเติมหรืออยากรู้เทคนิคการทำข้อสอบเรื่องไหนสามารถมาพูดคุยกันได้ที่ Facebook Dek-D School หรือ Line @schooldekd  ได้เลยจ้าเเละอย่าลืมติดตามฟิตเพิ่มเกรดในตอนต่อไปว่าพี่มุกจะมีเทคนิคจากอาจารย์ Dek-D School ท่านไหนมาฝากกัน บอกเลยว่าถ้าอยากคะเเนนพุ่ง TOP ทุกวิชาต้องห้ามพลาดนะคะ ^^ 

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular

Recent Comments