Home บทความแนะนำ เปิดแนวโจทย์ สอวน เคมี 66 จากคอร์ส สอวน.เคมี Dek-D School

เปิดแนวโจทย์ สอวน เคมี 66 จากคอร์ส สอวน.เคมี Dek-D School

0
2646
เปิดแนวโจทย์ สอวน เคมี 66 จากคอร์ส สอวน.เคมี Dek-D School

ตัวอย่างโจทย์แนวข้อสอบ สอวน เคมี 66 โจทย์จากคอร์สพิชิต สอวน. วิชาเคมี ของ Dek-D School ให้น้องๆ ได้ลองทำ ว่าสามารถทำได้ไหม พร้อมเฉลยแบบคร่าวๆ ไว้สำหรับตรวจคำตอบ เนื้อหาครอบคลุมตามที่ออกสอบ สอวน สำหรับน้องๆ ที่ยังทำไม่ได้ ต้องรีบเรียนเนื้อหาเพิ่มเติม แล้วก็ฝึกทำโจทย์ด่วนๆ เลย

โจทย์จากคอร์สพิชิต สอวน. วิชาเคมี

ข้อแรกเป็นเรื่องการจัดเรียงอิเล็กตรอน และแนวโน้มต่างๆ ในตารางธาตุ

แนวข้อสอบ สอวน เคมี 66 จากคอร์ส สอวน.เคมี Dek-D School เรื่อง การจัดเรียงอิเล็กตรอน

ลองหาว่าธาตุแต่ละชนิดคือธาตุอะไร โดยปกติแล้วโจทย์จะให้ธาตุจริงมา แต่กำหนดเป็นตัวแปร A D E G จากการจัดเรียงอิเล็กตรอน จะได้ว่า A คือ Kr, D คือ Fe, E คือ Ni และ G คือ S ดังนั้นคำตอบของข้อนี้คือ ค.

ข้อต่อมา เป็นเรื่องครึ่งชีวิตของไอโซโทปกัมมันตรังสี อาศัยความรู้เรื่องการจัดเรียงอิเล็กตรอน และตารางธาตุด้วย

แนวข้อสอบ สอวน เคมี 66 จากคอร์ส สอวน.เคมี Dek-D School เรื่อง กัมมันตรังสี

จากข้อมูลที่ว่าธาตุ D อยู่ในคาบ 6 หมู่ 18 จะได้ธาตุ D คือ Rn จัดเรียงอิเล็กตรอนหาได้ว่า ₈₆Rn และจากข้อมูลที่ว่าธาตุ D มีจำนวนนิวตรอนเท่ากับ 136 ดังนั้น ₈₆²²²D และทำให้ได้ ₈₈226A คำตอบของข้อนี้คือ ค.

ข้อนี้อยู่ในเรื่องพันธะเคมี ให้ระบุรูปร่างโมเลกุลทั้ง 13 โมเลกุล แบบจุกๆ ไปเลย

แนวข้อสอบ สอวน เคมี 66 จากคอร์ส สอวน.เคมี Dek-D School เรื่อง รูปร่างเชิงเรขาคณิตของโมเลกุล

ก่อนจะหารูปร่างได้ ต้องวาดโครงสร้างของโมเลกุลให้ถูกต้องก่อน อย่าลืมระบุอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวของอะตอมกลางด้วย ถ้าไม่ระบุรูปร่างผิดแน่ๆ คำตอบของข้อนี้คือ CHO⁺ เป็น Linear, CH₂O เป็น Trigonal Planar, O₃ เป็น Bend, SO₄²⁻เป็น Tetrahedral, H₃O⁺ เป็น Pyramidal, H₂S เป็น Bend, PF₅ เป็น Trigonal bipyramidal, SF₄ เป็น See-saw, XeOF₂ เป็น T, I₃⁻ เป็น Linear, SiF₆²⁻ เป็น Octahedral, XeOF₄ เป็น Square Pyramidal, XeF₄ เป็น Square Planar

ข้อที่ 4 ข้อนี้ยังอยู่ในเรื่องพันธะเคมี เกี่ยวกับกฎออกเตต และการสร้างพันธะของอิเล็กตรอน

แนวข้อสอบ สอวน เคมี 66 จากคอร์ส สอวน.เคมี Dek-D School เรื่อง กฎออกเตต

N มีพันธะ 3 พันธะ มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 1 คู่ และ C มี 4 พันธะ และทั้งหมดนี้มีอิเล็กตรอนในการสร้างพันธะ 14 พันธะ และจะได้อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 2 คู่ อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 7 คู่ คำตอบของข้อนี้คือ ตัวเลือกที่ 2

ข้อที่ 5 เป็นเรื่องโมลและสูตรเคมี และปริมาณสารสัมพันธ์

แนวข้อสอบ สอวน เคมี 66 จากคอร์ส สอวน.เคมี Dek-D School เรื่อง โมลและสูตรเคมี

หาจำนวนโมลของ Fe₂O₃ และ SO₂ ได้เป็น Fe₂O₃ = 8/160 = 0.05 โมล ได้จำนวนโมลของ Fe คือ 1 โมล และ SO₂ = 3.36/22.4 = 0.15 โมล ได้จำนวนโมลของ S คือ 0.15 โมล ดังนั้นจะได้สูตรเป็น Fe₁S₁.₅ หรือ Fe₂S₃

ข้อต่อมาเป็นเรื่องความเข้มข้นของสารละลาย

แนวข้อสอบ สอวน เคมี 66 จากคอร์ส สอวน.เคมี Dek-D School เรื่อง สารละลาย

หาจำนวนโมลได้เป็น 0.452/226 = 0.002 ดังนั้นจำนวนโมลของ CO32- และ HCO3 เท่ากับ 0.002 โมล ใช้ HCl รวมทั้งสิ้น 0.006 โมล

HCl 1000 mL : 0.125 โมล เราต้องการ 0.006 โมล ได้เป็น (1000(0.006))/0.125 = 48.0

ข้อนี้เป็นโจทย์คำนวณปริมาณสาร เป็นปริมาณสารสัมพันธ์แบบเต็มๆ เลย

แนวข้อสอบ สอวน เคมี 66 จากคอร์ส สอวน.เคมี Dek-D School เรื่อง การคำนวณปริมาณสาร

โจทย์ถามว่าสลายตัวไปร้อยละเท่าไร แสดงว่าสลายตัวไม่หมด ถ้าสลายไม่หมด หมายความว่า บางส่วนจะกลายเป็น CaO และบางส่วนจะมี CaCO3เหลือ น้ำหนักที่หายไปคือน้ำหนักของ CO2 ที่เป็นแก๊ส และ 3.24 คือน้ำหนักของ CaO รวมกับ CaCO3  คำตอบของข้อนี้คือ 80%

ข้อสุดท้าย ข้อนี้เป็นเรื่องการแพร่ของแก๊ส

แนวข้อสอบ สอวน เคมี 66 จากคอร์ส สอวน.เคมี Dek-D School เรื่อง การแพร่ของแก๊ส

สารประกอบที่อุณหภูมิ 300 เคลวิน ความดัน 0.82 atm และความหนาแน่นเท่ากับ 4.60 จะต้องมีน้ำหนักโมเลกุลเท่ากับ 138 หาได้จากสมการ PM = ρRT ซึ่งเท่ากับน้ำหนักโมเลกุลของ P₂F₄

จาก \(R∝ \frac{1}{\sqrt{M}}\) หมายความว่าถ้ามวลยิ่งน้อยก็จะทำให้แพร่เร็วมากขึ้นดังนั้น สารที่มีน้ำหนักโมเลกุลน้อยที่สุดจึงแพร่ได้เร็วที่สุด ซึ่งก็คือ PF₃

จบไปแล้วทั้ง 8 ข้อ เป็นยังไงบ้างคะ โจทย์น้อยไปไหม ถ้ายังไม่จุใจ ในคอร์สพิชิต สอวน วิชาเคมี ยังมีโจทย์ให้น้องๆ ได้ทำอีกเพียบ มาดูคอร์สเรียนกันเลย

ติวออนไลน์ พิชิตค่าย 1 สอวน เคมี 66

ติวออนไลน์ สอวน เคมี กับ อ.เต้ อาจารย์พิเศษโครงการโอลิมปิกในโรงเรียนชั้นนำ เช่น เตรียมน้อมฯ, สวนกุหลาบและหน่วยงานด้านการศึกษาต่าง ๆ มากกว่า 10 แห่ง และมีประสบการณ์สอนกว่า 20 ปี โดยการสอนให้ผู้เรียนเข้าใจถึงทฤษฎี เหตุผลและที่มาที่ไปของเรื่องต่างๆ ในเคมี ไม่ท่องจำ มีวิธีแก้โจทย์มากกว่า 1 วิธีต่อโจทย์ 1ข้อ ชี้จุดที่นักเรียนชอบเข้าใจผิด ผู้เรียนจะสามารถเชื่อมโยงความรู้ และสามารถประยุกต์ความรู้กับโจทย์ที่ซับซ้อนแบบ สอวน. ได้

โดยคอร์สนี้จะมีอายุคอร์ส 1 ปี สามารถทวนซ้ำกี่รอบก็ได้ สงสัยก็สามารถถาม อ.เต้ ที่ใต้วิดีโอเรียนได้ทันที เมื่อ อ.เต้ ตอบกลับแล้ว ก็จะมีแจ้งเตือนส่งกลับไปหาน้องๆ ไม่พลาดทุกคำตอบ และยังมีหนังสือประกอบการเรียนจาก อ.เต้ เป็นรูปเล่มอย่างดีส่งให้ถึงบ้านอีกด้วย น้องๆ สามารถดูรายละเอียดคอร์สเรียนเพิ่มเติมที่กล่องด้านล่างได้เลย

ทดลองเรียนฟรี พร้อมวิชาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์

รีวิวจากรุ่นพี่เด็กค่าย ติว สอวน. กับ อ.เต้ แล้วสอบติดจริง

น้องเป็ดผู้แทนเคมี ศูนย์ MWIT เหรียญทอง TChO ครั้งที่16 ติดโควต้าแพทย์ ศิริราช

“อ.เต้ใส่ใจ แล้วก็เก็บทุกรายละเอียด เก็บทุกพ้อยส์จริงๆ พวกหลักการต่างๆ ที่มาของสูตร อาจารย์ไม่ได้สอนให้เราจำเลย แต่ว่าอ.สอนให้เราเข้าใจแล้วนำไปประยุกต์ใช้ได้”

น้องส้ม เคมีโอลิมปิกระดับชาติถึง สสวท. ค่าย 1 และ สสวท.ค่าย 2

“พอได้เรียนแล้วก็รู้สึกสนุกกับการเรียนเคมีกับ อ.เต้มากๆ เพราะอาจารย์เน้นสอนให้เกิดความเข้าใจ และโจทย์ของอาจารย์ทำให้หนูได้ฝึกคิดอย่างเป็นระบบ เวลาทำโจทย์ อาจารย์จะเว้นให้หนูได้คิด ทำความเข้าใจกับโจทย์ แล้วค่อยๆ guide ไป แต่จะยังไม่บอกคำตอบ ซึ่งทำให้หนูได้คิดอย่างละเอียดถี่ถ้วนจริงๆ”

น้องใบหม่อน เหรียญเงินตัวแทนประเทศ

“พี่เต้สอนแบบเน้นให้เข้าใจค่ะ แล้วก็สอนลึกพอสมควรเลยรู้ว่าทำไมถึงเป็นอย่างนี้ อะไรที่พิสูจน์ได้ก็จะพิสูจน์ให้ดูหมดเลย แล้วก็เรียนแบบค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป ทุกครั้งที่หนูหรือเพื่อนๆ ที่เรียนด้วยกันมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเคมีอินทรีย์ พี่เต้ก็ตอบให้หมดเลยค่ะ ทำให้สามารถประยุกต์กับข้อสอบแบบต่างๆ ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะเรื่องเคมีอินทรีย์”

สอบถามเพิ่มเติม และปรึกษาพี่ๆ Dek-D School ได้เลยที่ Line @schooldekd และติดตามข่าวสารการเตรียมตัวสอบได้ที่ช่องทางต่างๆ ต่อไปนี้