สวัสดีค่ะน้องๆ ทุกคน ฟิตเพิ่มเกรดฟิสิกส์คราวก่อนพี่บิวได้ทิ้งท้ายกับน้องๆ ไว้ว่า จะมาบอกเล่าเรื่องการจำค่ามุมตรีโกณให้แก่น้องๆ พี่บิวยังไม่ลืมนะคะ มุมที่พี่บิวจะพาน้องๆ ไปจำนี้เป็นมุมที่ใช้บ่อยมากๆ ในฟิสิกส์ และเป็นมุมพื้นฐานที่น้องๆ ควรจำได้ ถ้าจำไม่ได้พี่บิวว่าเวลาทำโจทย์ต้องมีสะดุดแน่นอน ว่าแล้วไปดูกันเลย ว่ามีมุมใดบ้าง และหลักการจำยังไง
ค่ามุมตรีโกณที่พบบ่อย
มุมที่พบบ่อยๆ เลยก็คือ มุม 0 ^\circ, 30 ^\circ , 37 ^\circ , 45 ^\circ , 53 ^\circ, 60 ^\circ , 90 ^\circ

ถ้าน้องๆ สังเกตดูจะเห็นว่ามุม 60^\circ จะตรงข้ามกับมุม 30^\circ มุม 37^\circ ตรงข้ามกับมุม 53^\circ มุม 45^\circ จะเท่ากันทั้ง sin และ cos
หลักการจำมุมแบบใช้มือซ้าย
วิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีที่ใช้กันบ่อยๆ เลย เพราะว่าสะดวกและใช้ได้ทุกที่แม้อยู่ในห้องสอบ หลักการก็ง่ายๆ คือ เขียนเลข 0 ^\circ, 30 ^\circ , 37 ^\circ , 45 ^\circ , 53 ^\circ, 60 ^\circ , 90 ^\circ ไว้บนนิ้วมือซ้าย โดยไล่จากนิ้วโป้งไปหานิ้วก้อย แล้วให้ sin อยู่ด้านซ้าย (s ซ้าย) cos อยู่ด้านขวา (c ขวา)

เช่น ถ้าน้องๆ อยากได้ค่า cos 30 ^\circ ก็ให้เอานิ้วชี้ลงและ cos อยู่ด้านขวา แล้วนับว่านิ้วที่เหลือด้านขวามีกี่นิ้ว ในที่นี้จะเหลือ 3 นิ้ว แล้วนำเลข 3 ไปใส่ใน \sqrt{?} จะได้ว่าค่า cos 30 ^\circ จะได้ \frac{ \sqrt{3} }{2}
สำหรับวิธีนี้จะใช้ได้กับ sin และ cos เท่านั้น แต่ถ้าน้องๆ ต้องการฟังก์ชันอื่นก็สามารถใช้คุณสมบัติของตรีโกณหาค่าได้เลย เช่น tan = \frac{sin}{cos}
หลักการจำมุมแบบใช้สามเหลี่ยมมุมฉาก
วิธีนี้เป็นวิธีการจำพร้อมกับรู้นิยามและที่มาของค่าตรีโกณอีกด้วย วิธีการคือ จะใช้หลักการของพีทาโกรัสนั่นคือ
sin = \frac{ข้าม}{ฉาก} cos = \frac{ชิด}{ฉาก} tan = \frac{ข้าม}{ชิด}

เช่น ถ้าน้องๆ อยากได้ค่า cos 30 ^\circ ก็ดูจากรูปแรกได้เลย cos คือ \frac{ชิด}{ฉาก} จะได้เป็น cos = \frac{ \sqrt{3} }{2}
จบไปอีกหนึ่งเรื่องสำหรับวันนี้ น้องๆ เลือกใช้วิธีแบบที่ถนัดได้เลย พี่บิวกล้าฟันธงเลยว่าน้องๆ ต้องได้เจอมุมเหล่านี้ในโจทย์ฟิสิกส์แน่ๆ โดยเฉพาะเรื่องการเคลื่อนที่ พี่บิวหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อน้องๆ ถ้าน้องๆ ถูกใจอย่าลืมแชร์ให้เพื่อนๆ ได้อ่านด้วยกันนะคะ ถ้าน้องๆ มีข้อสงสัยถามพี่บิวเข้ามาได้เลยที่ line @schooldekd หรือ facebook : Dek-D School
และเช่นเคยพี่บิวแนะนำคอร์ส เก่งฟิสิกส์ ม.4 เทอม 1 สอนโดย อ.หลิน ดร.สลิลพร กิตติวัฒนากูล อ.พิเศษภาควิชาวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์วัสดุ University of Virginia มหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐอเมริกาและอ.ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
น้องๆ จะได้ทำโจทย์ที่ต้องใช้ค่ามุมแบบหนำใจ พร้อมกับได้ฟังเฉลยจากอาจารย์สุดเทพ โอกาสแบบนี้มีไม่บ่อย ห้ามพลาดนะคะ