ผ่านไปเเล้วกับงาน #Dek-DFair ซึ่งพี่ๆ ทีมงานเด็กดีทุกคนหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้น้องๆ เตรียมตัวสอบเข้ามหาลัยในฝันได้ ^^ ส่วนน้องๆ คนไหนที่อยากได้สรุปสูตรวิชา เคมี, ฟิสิกส์เเละคณิตศาสตร์ที่เเจกในงานเด็กดีเเฟร์เเต่มารับไม่ทันนั้นบอกเลยว่าเร็วๆ นี้พี่มุกจะมีมาเเจกอีกเเน่นอนจ้า เเต่จะเเจกยังไงเเละเมื่อไหร่นั้นพี่มุกจะมาอัพเดตในเพจ Dek-D School เร็วๆ นี้นะคะ ค่อยติดตามกันให้ดีๆ น้า 🙂
สำหรับฟิตเพิ่มเกรดเคมี ม.ปลายวันนี้พี่มุกมีเรื่อง กฎการเเพร่ของเกรเเฮม มากฝากน้องๆ กันเป็นเรื่องที่ไม่ยากเเละข้อสอบชอบออกบ่อยมาก พี่มุกเลยมีสรุปสูตรเเละเทคนิคการทำโจทย์มาให้น้องๆ ได้ฝึกฝนเตรียมความพร้อมกัน
ก่อนอื่นพี่มุกจะทบทวนเรื่อง การเเพร่ของเเก๊ส ให้น้องๆ กันก่อน
อัตราเร็วของการเเพร่ของเเก๊ส จะเเปรผกผันกับ มวลโมเลกุล คือ
– มวลโมเลกุลมาก –> เคลื่อนที่ได้ช้า
– มวลโมเลกุลน้อย –> เคลื่อนที่ได้เร็ว
เเล้วกฏของเกรเเฮมคืออะไร ???
กฏของเกรเเฮม ใช้อธิบายอัตราการเเพร่ของเเก๊สที่อุณหภูมิเเละความดันเดียวกัน โดยจะเเปรผกผันกับรากที่สองของมวลโมเลกุลหรือความหนาเเน่นของเเก๊สซึ่งมีสูตรดังนี้
ดังนั้นเราจะสามารถใช้สูตรนี้ได้ก็ต่อเมื่อ อุณหภูมิเเละความดันคงที่เท่านั้น !!!!! ซึ่งโจทย์บางข้อจะไม่บอกว่าที่อุณหภูมิหรือความดันเดียวกัน เเต่จะ KeyWord เป็นคำอื่นเเทนเช่น
– เเพร่ออกจากบริเวณเดียวกัน
– เเพร่ผ่านในภาชนะเดียวกัน
สังเกตุว่าถ้าเมื่อไหร่ที่โจทย์บอกว่าเกิดการเเพร่ภายใน ภาชนะเดียวกันหรือบริเวณเดียวกัน นั้นเเสดงว่าเราสามารถใช้กฎของเกรเเฮมได้
ตอนนี้น้องๆ น่าจะเข้าใจที่มาเเละวิธีการใช้สูตรกันเเล้วพี่มุกมีโจทย์ง่ายๆ มาให้น้องๆ ลองทำกันดู อย่าเพิ่งเเอบดูเฉลยกันนะ ^^
เทคนิคในการทำโจทย์ของพี่มุกคือถ้าน้องๆ ไม่รู้จะเริ่มตรงไหนหลังจากอ่านโจทย์เเล้วให้ตอบคำถาม 3 ข้อนี้ให้ได้
1. โจทย์ให้อะไรมาบ้าง
2. โจทย์ถามอะไร
3. ใช้สูตรหรือใช้ความรู้เรื่องไหนบ้าง
การคิดทีละขั้นเเบบนี้จะทำให้น้องๆ ไม่พลาดเเละเข้าใจโจทย์มากยิ่งขึ้น ลองมาดูเฉลยที่พี่มุกคิดโดยใช้วิธีนี้กัน
เห็นไหมว่าเมื่อเเบ่งสิ่งที่โจทย์ให้เป็นข้อๆ น้องๆ ก็จะได้ตัวเเปรออกมาซึ่งที่เหลือก็เเค่เเทนค่าในสูตรก็จะได้คำตอบเเล้ว ง่ายเเค่นี้เอง 🙂
เทคนิคการทำโจทย์ที่พี่มุกนำมาฝากในวันนี้น้องๆ สามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกวิชาไม่ว่าจะเป็น ฟิสิกส์, คณิตศาสตร์ หรือชีวะเพราะการฝึกตั้งคำถามเเละคิดอย่างเป็นขั้นตอนนั้นจะช่วยให้น้องๆ เรียนรู้ได้เร็วขึ้นเเละไม่ต้องกลัวว่าจะลืมด้วยเพราะมักมีน้องๆ ถามเข้ามาในไลน์เเอดเสมอว่าไม่รู้จะเริ่มทำโจทย์ยังไงหรือทำโจทย์เเล้วเเต่ทำข้อสอบจริงไม่ได้เลย
พี่มุกอยากบอกกว่าการทำโจทย์เยอะนั้นอาจไม่ช่วยให้น้องๆ เก่งขึ้นถ้าน้องๆ ฝึกทำโจทย์เเบบผิดวิธี!!!!
การฝึกทำโจทย์ผิดวิธีคืออะไร ?? พี่มุกอยากให้น้องๆ ลองสังเกตุตัวเองดูว่าตอนฝึกทำโจทย์มีลักษณะเหล่านี้ไหม
– พอทำไม่ได้ก็รีบเปิดดูเฉลย
– เปิดดูเฉลยเเบบผ่านๆ
– เจอโจทย์คล้ายๆ ที่น้องดูเฉลยไปเเล้วเเต่ยังทำไม่ได้อยู่
ถ้าน้องๆ คนไหนมี 2 ใน 3 ข้อนี้เเสดงว่าการฝึกทำโจทย์ของน้องๆ นอกจากจะไม่ช่วยให้น้องๆ เก่งขึ้นเเล้วอาจจะกำลังทำให้น้องๆ เสียเวลาอีกด้วย เเละสำหรับน้องๆ ที่อยากรู้ว่าการฝึกทำโจทย์ที่จะช่วยให้น้องๆ เก่งขึ้นหรือพัฒนาขึ้นได้ควรทำยังไงกันล่ะ? ฟิตเพิ่มเกรดครั้งหน้าพี่มุกจะมาไขความลับนี้ให้น้องๆ ฟังกัน อดใจรอนิดนึงนะคะ ^^
เเละเหมือนเดิมเลยค่าถ้าน้องๆ คนไหนที่มีคำถามสามารถมาพูดคุยกันได้ที่ Facebook Dek-D School หรือ Line @Schooldekd
ส่วนน้องๆ ม.4 เเละ ม.5 ที่ต้องการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเปิดเทอมหรือเตรียมตัวล่วงหน้าสำหรับการสอบ TCAS สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครเรียนได้ที่ คอร์สเก่งเคมี หรือคอร์ส พิชิต TCAS เคมี สอนโดยดร.โรจน์ฤทธิ์ โรจนธเนศ (อ.เต้) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โอกาสที่จะได้เรียนกับตัวจริงด้านเคมีแบบนี้มีไม่บ่อยห้ามพลาดนะคะเป็นกำลังใจให้ #Dek62 สอบติดมหาลัยที่อยากได้ไปพร้อมกัน