น้องๆ #Dek68 ที่อยากเข้า นิเทศ จุฬาฯ ตอนนี้ก็เหลือเวลาไม่มากแล้วกับการเตรียมสอบ โดยเฉพาะการสอบ TGAT ที่จะต้องทำการสอบก่อนวิชา A-Level สำหรับน้องๆ ที่อยากเข้านิเทศ จุฬาฯ แต่ไม่รู้ว่าที่เตรียมตัวมาตลอดจะถูกทางไหม เพียงพอต่อการสอบไหม มาดูแพลนการเตรียมสอบนิเทศ จุฬา และทริคการเตรียมสอบ A-Level สังคม จากพี่บัว ได้เลย
ก่อนอื่นให้น้องบัวแนะนำตัวได้เลยค่ะ
สวัสดีค่ะ ขื่อกชพร เวชสุรักษ์ ชื่อเล่นชื่อบัว เรียนจบม.ปลายมาจากสามเสนวิทยาลัย สายศิลป์ภาษา-เกาหลี ตอนนี้สอบติดนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ค่ะ
นิเทศ จุฬาฯ ใช้คะแนนอะไรบ้าง
- ความถนัดทั่วไป (TGAT) 30%
- A-Level สังคมศาสตร์ 20%
- A-Level ภาษาไทย 20%
- A-Level คณิต 1/คณิต 2/ ภาษาที่ 3 30%
เส้นทางสู่ นิเทศ จุฬาฯ
การเตรียมตัวแนะนำว่าควรเริ่มเตรียมตัวตั้งแต่ ม.5 เทอม 2 เลยนะคะ โดยช่วงประมาณเดือนกรกฎาคมของม.6 ควรเริ่มทำแพลนการอ่านหนังสือ และเริ่มเก็บเนื้อหาค่ะ ยิ่งเริ่มเร็วยิ่งดีค่า ด้วยความที่ตอนนี้นิเทศ จุฬาฯ ใช้คะแนน TGAT ด้วย ซึ่งจะสอบในเดือนธันวาคม เราเลยต้องรีบเก็บเนื้อหาเร็วนิดนึง สำหรับตัวเราเราแนะนำว่าควรเริ่มจากลิสต์วิชามาก่อน ว่าคณะที่เราจะยื่นจะใช้วิชาอะไรบ้าง และสัดส่วนน้ำหนักของแต่ละวิชาเป็นอย่างไร อย่างนี้จะทำให้เรารู้ได้เลยค่ะว่าเราควรโฟกัสวิชาไหนอะไรยังไง แต่เราแนะนำว่าอย่าเทวิชาไหนเลยนะคะ เพราะว่าคะแนนทุกคะแนนของแต่ละวิชามีค่าหมด หลังจากนั้นก็เริ่มทำแพลนการอ่านหนังสือเลย ว่าควรจะอ่านบทไหนช่วงไหนให้มันทันสอบ หรือแพลนว่าจะเก็บเนื้อหาแต่ละวิชาให้เสร็จช่วงเดือนไหน แล้วค่อยเริ่มตะลุยโจทย์ค่ะ
A-Level สังคม ใช้สัดส่วนคะแนน 20% เตรียมสอบยังไง
ด้วยความที่วิชาสังคมมีเนื้อหาเยอะมากๆ แบ่งได้เป็น 5 หมวดด้วยกัน เราเลยควรเริ่มอ่านตั้งแต่เนิ่นๆ จะได้มีเวลาทวนและทำโจทย์ เพราะยิ่งทำโจทย์เยอะแค่ไหนเราก็ยิ่งคุ้นชินกับข้อสอบเยอะเท่านั้น และตอนเราตอนเตรียมตัวสอบเราก็ได้มีการจดสรุปเนื้อหาสำคัญจากที่ได้เรียนมาเพื่อเอาไว้ทวนอย่างสม่ำเสมอ และยิ่งช่วงสอบเราทำโจทย์เยอะมากๆ เพราะข้อสอบสังคมเป็นข้อสอบที่คาดเดาอะไรไม่ได้เลย มันสามารถออกได้กว้างมากๆ
ทดลองเรียนคอร์ส A-Level สังคมกับอ.กนก
เราได้มีโอกาสเห็นคอร์สสังคม ของอาจารย์กนกเลยได้ลองทดลองเรียน และเราชอบการสอนของอ.กนกมากๆ เพราะเรียนแล้วไม่เครียด แถมอาจารย์ยังมีทริคการจำและการสอนที่ทำให้เราจำได้จนถึงทุกวันนี้ ทั้งจากการเรียนผ่านการเล่าเรื่องและการวาดรูปให้จำได้มากขึ้น
หลังเรียนแล้วเป็นยังไงบ้าง
หลังจากได้เรียนคอร์สของอาจารย์แล้วก็รู้สึกชอบวิชาสังคมมากขึ้นค่ะ ด้วยความที่เทปแต่ละเทปไม่สั้นไม่ยาวจนเกินไปจึงทำให้เวลาเรียนเรียนแล้วไม่เหนื่อย และชอบที่เวลาอาจารย์สอนก็มีวาดรูปไปด้วย จึงทำให้จำเนื้อหาได้แม่นยำมากขึ้นค่ะ นอกจากนี้เวลาเรียนจบทุกๆ บทเรียนอาจารย์มีให้ทำข้อสอบท้ายบททุกครั้งเลย เลยทำให้เรารู้ว่าเราแม่นไม่แม่นจุดไหนและท้ายคอร์สอาจารย์มีให้ตะลุยข้อสอบเยอะมากทั้งข้อสอบเก่าหรือข้อสอบปีล่าสุด
นำเทคนิคจากการเรียนไปใช้ในการสอบได้ไหม?
เราได้นำเทคนิคที่ได้จากอาจารย์ไปช่วยในการตัดช้อยส์ในห้องสอบเลยทำให้ประหยัดเวลาได้มากขึ้นและมีเวลากลับไปทวนข้ออื่นๆ และอาจารย์ทำให้เราจำเนื้อหาได้เป็นภาพหรือเป็นไทม์ไลน์ เลยทำให้เรานึกเนื้อหาและจำภาพได้เร็วขึ้น
ข้อสอบ A-Level สังคมปี 67 เป็นยังไง?
ข้อสอบปี 67 ออกค่อนข้างยากและกว้างกว่าปีอื่นๆ โดยเฉพาะพาร์ทศาสนาออกข้อสอบที่เกินเนื้อหาที่มันควรจะออกไปเยอะมาก และบางข้อถึงกับต้องเดาเพราะไม่เคยเจอมาก่อน หรือพาร์ทประวัติศาสตร์ที่ต้องเน้นความแม่นยำทั้งเหตุการณ์และปีพ.ศ. ซึ่งเป็นข้อที่ถ้าจำได้ก็จะได้คะแนนเลย เราโชคดีที่จำทริคการบวกลบหาศักราชจากอาจารย์กนกได้ เลยทำให้เราทำข้อสอบได้
ทุกวิชาสำคัญในการสอบสังคมก็เช่นกัน
วิชาสังคมถ้าทำคะแนนได้เยอะก็จะช่วยดึงคะแนน overall ในการยื่นเข้ามหาลัยได้เลยเนื่องจากเป็นวิชาที่ยาก เราแนะนำว่าควรเริ่มตั้งแต่เนิ่นๆ เก็บทีละบทและอย่าลืมกลับมาทวนซ้ำๆ เพราะว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดของวิชาสังคมคือการต้องหมั่นทวนอย่างสม่ำเสมอและอย่าลืมทำโจทย์บ่อยๆ เพราะจะช่วยให้เรารู้ว่าจุดไหนเป็นจุดอ่อนของเรา หรือบทไหนที่เรายังไม่แม่นซึ่งถ้าเราหาตรงนั้นเจอมันก็จะช่วยไปอุดรอยรั่ว และในทางเดียวกันถ้าเราเจอพาร์ทไหนที่เราแม่นเราก็ควรจะรักษามันไว้ แล้วก็ถ้าตอนที่ลองทำข้อสอบแล้วเราได้น้อยก็ไม่เป็นไรเลย ค่อยๆ ฝึกทำไปเรื่อยๆ ทุกชุดของข้อสอบมันจะทำให้เราได้เรียนรู้อะไรบางอย่างทุกครั้ง
เตรียมสอบด้วยการเรียนออนไลน์ยังไงให้รู้เรื่อง
การเรียนออนไลน์ที่ได้ประสิทธิภาพคือการทำแพลนว่าควรเรียนจบบทไหนตอนไหน มันจะได้มีเป้าหมายชัดเจนไม่ต้องมานั่งอัดคอร์สตอนช่วงใกล้สอบเพราะมันจะเครียดมากๆ และควรบริหารเวลาการเรียนรายสัปดาห์ดีๆ ว่าสัปดาห์นี้ควรเก็บอะไรให้เสร็จและอย่าลืมแบ่งวิชาอื่นด้วย จะได้ balance กันไม่ให้มันหนักวิชาไหนมากเกินไป สำหรับตัวเราเราเก็บเนื้อหาจบตั้งแต่เดือนมกราคม เลยทำให้เรามีเวลาได้กลับมาทบทวนสิ่งที่เราได้เรียนไปและสิ่งที่เราไปจดสรุปมา นอกจากนี้ในการเรียนออนไลน์ก็ไม่ควรเล่นโทรศัพท์ระหว่างเรียนรวมทั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการจำจะได้โฟกัสได้มากขึ้น อย่าลืมเผื่อเวลา 1 เดือนสุดท้ายก่อนสอบในการนั่งตะลุยโจทย์และทำข้อสอบเก่าให้ได้มากที่สุด ขอย้ำว่าการทำข้อสอบเก่าบ่อยๆ มันทำให้เราไม่ตื่นข้อสอบและเป็นการเพิ่มโอกาสให้เราทำข้อสอบได้มากขึ้น
ให้กำลังใจน้องๆ #Dek68 ที่กำลังเตรียมสอบหน่อยค่ะ
สู้ๆ นะคะเราเป็นกำลังใจให้น้องๆ ทุกคนที่อยากเข้า นิเทศ จุฬาฯ ค่ะ ขอให้น้องๆ ทุกคนเชื่อมั่นในตัวเองว่าตัวเองเก่งและมีความสามารถ ทำให้เต็มที่และทำให้ดีที่สุดนะคะ บอกตัวเองบ่อยๆ ว่า “ I can, and I will ” ถ้าตอนไหนเหนื่อยหรือหมดไฟก็พักสักแปปนึงก็ได้น้า ค่อยๆ เติมไฟให้ตัวเองใหม่ ท่องไว้ว่าเราเหนื่อยแค่แปปเดียว เดี๋ยวผลที่ได้มันก็จะคุ้มค่ากับการพยายามของเราเอง ชีวิตในนิเทศ จุฬาฯ สนุกมากๆ เลย อยากให้น้อง ๆ ได้มาสัมผัสสิ่งที่เราได้สัมผัสตอนนี้มาก แล้วเจอกันน้า สู้ๆ ค่า
นี่ก็เป็นแนวทางการเตรียมสอบจากพี่บัว รุ่นพี่นิเทศ จุฬาฯ สำหรับน้องๆ ที่อยากเข้านิเทศ จุฬาฯ หรือกำลังเตรียมสอบสังคมอยู่ลองนำแพลนจากพี่บัวไปใช้เตรียมสอบดูนะคะ และหากน้องๆ อยากเก็บคะแนนสังคมให้ได้คะแนนตามเป้า เพื่อเตรียมพร้อมสอบเข้ามหาวิทยาลัย สามารถเตรียมพร้อมก่อนเข้าสู่สนามสอบจริงผ่านการติวออนไลน์ด้วยคอร์สพิชิต TCAS สังคม กับ อ.กนก Dek-D School โดยคอร์สนี้จะสรุปเนื้อหาครบทุกเรื่องที่ออกสอบ จัดกลุ่มเนื้อหาใหม่ให้เข้าใจง่าย ไม่สับสน พร้อมตะลุยโจทย์ข้อสอบจริงทั้ง มีเฉลยละเอียดพร้อมเทคนิคในการทำข้อสอบเพียบ โดยน้องๆ สามารถวางแผนการเรียนตัวเองได้ว่า ต้องการเรียนเมื่อไหร่ และสามารถเรียนซ้ำกี่รอบก็ได้ไม่จำกัดชั่วโมง 6 เดือนเต็ม พร้อมรับหนังสือประกอบการเรียนส่งตรงถึงบ้านฟรี และที่สำคัญที่สุดแม้ว่าจะเป็นการเรียนออนไลน์ แต่น้องๆ ทุกคนสามารถสอบถามข้อสงสัยกับ อ.กนกได้โดยตรง น้องๆ ที่สนใจสามารถสมัครเรียนได้โดยการคลิกที่นี่เลือกรายวิชาที่รูปด้านล่างได้เลยค่ะ
หรือน้องๆ สามารถติวฟรี 10 หัวข้อ เก็บคะแนนง่ายใน A-Level สังคมศึกษา โดยคลิกที่กล่องด้านล่างได้เลย
ทั้งนี้น้องๆ ยังสามารถติดตามสาระความรู้และข่าวสารสำหรับการสอบได้ที่ Facebook : Dek-D School และวางแผนติวกับ พี่ๆ Dek-D School ได้ฟรี!!! ที่ Line @schooldekd