ถึงเเม้โรงเรียนปิดเพราะฝุ่น PM2.5 เเต่ โรงเรียน Dek-D School ของเรายังคงมีเทคนิคการทำข้อสอบมาเเชร์กันทุกวัน อยู่ที่ไหนน้องๆก็สามารถเรียนออนไลน์กับเราได้ สะดวกทุกที่ ทุกเวลาเพราะเราเชื่อว่าทุกวันสำคัญสำหรับการสอบติด น้องๆก็อย่าเพิ่งท้อ วันนี้เราจะมาเเชร์เทคนิคการทำข้อสอบ PAT2 เรื่อง สมดุลเคมี ที่ออกสอบบ่อยเเละออกง่ายยิ่งถ้านำเทคนิคนี้ไปใช้รับรองว่าคะเเนน PAT2 ของน้องๆ จะพุ่งขึ้นยิ่งกว่าค่าฝุ่นในตอนนี้เเน่นอน
ก่อนจะเริ่มทำข้อสอบเรามาทบทวนเรื่อง สมดุลเคมี กันก่อนว่าคืออะไรเเละมีสูตรไหนบ้าง
สมดุลเคมี คือ ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของสารต่างๆ ณ ภาวะสมดุล
A + B —> C + D
สามารถเขียนอัตราการเกิดปฎิกิริยาได้ 2 เเบบ คือ
- อัตราการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า (Ratef, Kf)
- อัตราการเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ (Rater, Kr)
Ratef = Rater
Kf = [A] [B] = Kr [C] [D]
K = Kf / Kr = [C] [D] / [A] [B]
ความสัมพันธ์ระหว่างค่า K กับความเข้มข้นของสารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์และการดำเนินไปของปฏิกิริยา
1. ค่า K > 1 (ค่า K มาก) : ปฏิกิริยาเกิดไปข้างหน้าได้มาก, ผลิตภัณฑ์เกิดมาก, สารตั้งต้นเหลือน้อย
2. ค่า K < 1 (ค่า K น้อย) : ปฏิกิริยาเกิดไปข้างหน้าได้น้อย, เกิดปฏิกิริยาย้อนกลับได้ดี, ผลิตภัณฑ์เกิดน้อย, สารตั้งต้นเหลือมาก
3. ค่า K = 1 (ค่า K ปานกลาง) : สารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์ จะมีปริมาณเท่า ๆ กัน
4. ค่า K จะคงที่เสมอ ไม่ว่าสมดุลจะถูกรบกวน ยกเว้น อุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลง
5. ค่า K > 1 หรือ K < 1 ได้ แต่จะไม่มีค่าติดลบ
ทบทวนสูตรเเล้วมาลองทำข้อสอบกัน 🙂
PAT2 มี.ค 58
ข้อนี้ไม่ยากเลยมาวิเคราะห์โจทย์กัน
โจทย์ถามหาค่าคงที่สมดุลของปฎิกิริยาซึ่งหาได้จาก K= [ผลิตภัณฑ์] / [สารตั้งต้น]
เมื่อเราดูตารางที่โจทย์ให้ระหว่างเวลากับ ความเข้มข้น จะพบว่าที่เวลา 85 นาทีเป็นต้นไปความเข้มข้นคงที่อยุ่ที่ 10 M เเสดงว่า ปฎิกิริยาเข้าสู่สมดุล
ขั้นตอนการคำนวณเค่าคงที่สมดุลเคมี
1. เขียนสมการพร้อมดุล + ดุล
2. เขียนความเข้มข้นของสารตั้งต้น
3. เขียนความเข้มข้นของสารที่เปลี่ยนไป
4. เขียนความเข้มข้นของสารที่ภาวะสมดุล
จะเห็นว่าความเข้มข้นของสารตั้งต้นคือ 50 M เมื่อเวลาผ่านไป 100 นาที ความเข้มข้นของสารที่ภาวะสมดุลเท่ากับ 10 M เเสดงว่าความเข้มข้นของสารที่เปลี่ยนไปเท่ากับ 40 M ส่วนความเข้มข้นเริ่มต้นของ B] กับ [C] โจทย์ให้มาว่า [B]0 = [C]0 = 0 M (ปฏิกิริยาไปข้างหน้าเป็น + ) ดังนั้นจะได้ว่า ความเข้มที่เปลี่ยนไปของ [B] กับ [C] หาได้จากสมการ คือ 2A : 1B : 2C จะได้ว่า A เป็นสองเท่าของ B ดังนั้น A = 40 จะใช้ B ไป 20 M เเละ C= 40 M เเทนค่าความเข้มข้นลงในสมการ
K = [B][C]2 / [A]2
= [20][40]2 / [10]2
= 320 M คำตอบคือข้อ 2
เห็นไหมว่า สมดุลเคมี ไม่ยากเเค่น้องๆ ทบทวนเเละเเทนค่าลงในสูตร ยิ่งวันสอบ PAT2 ใกล้เข้ามาพี่อยากให้น้องๆ ใช้เวลาให้คุ้มค่าที่สุด ทบทวนบทเรียน ฝึกทำข้อสอบ เเล้วมาเพิ่มคะเเนน PAT2 สอบติดไปด้วยกัน น้องๆ คนไหนที่มีคำถามเพิ่มเติมหรืออยากรู้เทคนิคการทำข้อสอบเรื่องไหนสามารถมาพูดคุยกันได้ที่ Facebook Dek-D School หรือ Line @schooldekd
เเละสำหรับน้องๆ คนไหนที่อยากเตรียมตัวหรืออยากหาคว้ารู้เพิ่มเติม สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครเรียนได้ที่ สมดุลเคมี สอนโดยดร.โรจน์ฤทธิ์ โรจนธเนศ (อ.เต้)ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โอกาสที่จะได้เรียนกับตัวจริงด้านเคมีแบบนี้มีไม่บ่อยห้ามพลาดนะคะ 🙂