ถ้าพี่มุกถามว่าสิ่งที่สำคัญสำหรับการเรียนรู้เเละจดจำคืออะไร ? พี่มุกเชื่อว่าน้องๆ ทุกคนต้องตอบได้เเน่นอนว่าคือสมอง เเต่น้องๆ รู้ไหมว่าเเล้วสมองมีกี่ส่วน? เเละ สมองเเต่ละส่วนทำงานยังไง? ฟิตเพิ่มเกรด ชีวะ ม.ปลายวันนี้พี่มุกเลยจะพาน้องๆ มาไขความลับของสมองกัน
อันดับเเรกพี่มุกอยากให้น้องๆ เห็นภาพรวมของสมองก่อนว่า สมองเรานั้นมีกี่ส่วนเเละเเต่ละส่วนเรียกว่าอะไรเเล้วค่อยลงลึกไปว่าเเต่ละส่วนนั้นทำหน้าที่อะไรเเละเเน่นอนว่าพี่มุกก็มีรูปภาพง่ายๆ ที่สรุปมาให้น้องๆ ได้โหลดเก็บไปใช้กันเหมือนเดิม ^^
ขั้นต่อไปเราจะมาดูหน้าที่เเละการทำงานของสมองกัน โดยสมองจะเเบ่งเป็น 3 ส่วนหลักดังนี้
1. สมองส่วนหน้า (forebrain) ประกอบด้วยส่วนสำคัญดังนี้
- เซรีบรัม (cerebrum) เป็นส่วนของสมองที่อยู่หน้าสุด และมีขนาดใหญ่ที่สุด ทำหน้าที่ 2 อย่างคือ
– การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ( ความรู้ ) ความจำ ความรู้สึกนึกคิด เชาว์ปัญญา
– ศูนย์ควบคุมการทำงานต่างๆ และรับรู้ความรู้สึกต่างๆของร่างกาย เช่น ศูนย์ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ
การพูด การมองเห็น เป็นต้น - ออลแฟกทอรีบัลบ์ (olfactory bulb) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการดมกลิ่น
- ไฮโพทาลามัส (hypothalamus) เซลล์ประสาทของสมองบริเวณนี้ส่วนมากทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน, ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย การนอนหลับ การเต้นของหัวใจ ความดันเลือดความหิวเเละอารมณ์ต่างๆ เช่น ดีใจ, เสียใจ เป็นต้น
- ทาลามัส (thalamus) ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมกระแสประสาทที่ผ่านเข้ามา แล้วแยกกระแสประสาทส่งไปยังสมองที่เกี่ยวข้องกับกระแสประสาทนั้นๆ
2. สมองส่วนกลาง (midbrain)
สมองส่วนกลางจะมีออปติกโลบ ( optic lobe ) ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของนัยน์ตา ทำให้ลูกนัยน์ตากลอกไปมาได้ และควบคุมการปิดเปิดของม่านตาในเวลาที่มีแสงสว่างเข้ามามากหรือน้อย
3. สมองส่วนหลัง (hindbrain) ประกอบด้วย
- เซรีเบลลัม (cerebellum) มีหน้าที่สำคัญ คือ
– ควบคุมและประสานงานของการเคลื่อนไหวของร่างกาย
– ควบคุมการทรงตัวของร่างกาย - พอนส์ (pons) ทำหน้าที่ควบคุมส่วนต่างๆ ดังนี้
– ควบคุมการเคี้ยว การหลั่งน้ำลาย การเคลื่อนไหวบริเวณใบหน้า
– ควบคุมการหายใจ
– เป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างเซรีบรัมกับเซรีเบลลัมและระหว่างเซรีเบลลัมกับไขสันหลัง - เมดัลลาออบลองกาตา (medulla oblongata) ทำหน้าที่
– เป็นศูนย์ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนวัติต่างๆ เช่น การเต้นของหัวใจ การหายใจ การหมุนเวียนเลือดความดันเลือด การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อลำไส้ เป็นต้น
– เป็นศูนย์ปฏิกิริยาสะท้อนกลับบางอย่าง เช่น การไอ การจาม การอาเจียน การกลืน การสะอึก - ก้านสมอง ใช้เรียกรวมสมอง 3 ส่วนดังนี้ : สมองส่วนกลาง, พอนส์ และเมดัลลาออบลองกาตา
หลังจากรู้หน้าที่การทำงานของสมองเเต่ละส่วนไปเเล้วพี่มุกจะมาไขข้อสงสัยที่ว่าคนฉลาดต้องมีรอยหยักในสมองเยอะจริงหรือไม่ ???
ถ้าเทียบระหว่างสมองคนกับสมองหนูจะพบว่าสมองหนูมีลักษณะเรียบเเตกต่างจากสมองคนเพราะสมองคนมีขนาดใหญ่กว่าหนูถึง 2 เท่าเเต่สมองถูกจำกัดให้ต้องอยู่ภายใต้กระโหลก สมองจึงสร้างรอยยับย่นหรือรอยหยักขึ้นมา เพื่อให้สามารถบรรจุอยู่ในกระโหลกศีรษะได้
ดังนั้น การมีรอยหยักในสมองเยอะหมายถึงสมองมีพื้นที่มาก ซึ่งการที่สมองมีพื้นที่มากเลยอาจทำให้เราสามารถเรียนรู้เเละจดจำสิ่งต่างๆ ได้เพิ่มขึ้น ดังนั้นการมีรอยหยักในสมองเยอะไม่ได้บ่งบอกถึงความฉลาดเพราะกระบวนการความคิดหรือความรู้สึกต่างๆ ขึ้นอยู่กับการทำงานของกระเเสประสาท เเต่ที่มีการบอกว่าคนรอยหยักในสมองเยอะมักเป็นคนฉลาดน่าจะมาจากพอสมองมีพื้นที่เยอะทำให้คนเราสามารถเรียนรู้เเละพัฒนาได้เพิ่มขึ้นอย่างไม่จำกัดขึ้นอยู่กับความสามารถในการะเรียนรู้ การอ่านของเเต่ละคนซึ่งเทคนิคในการเพิ่มพื้นที่ในสมองนั้นพี่มุกจะมาพูดถึงในบทความหน้ากัน 🙂
เห็นไหมว่าไม่ยากเลยเเค่น้องๆ จำเป็นภาพนอกจากจะจำง่ายเเล้วยังทำให้การเรียนไม่น่าเบื่ออีกด้วยสำหรับน้องๆ คนไหนที่มีคำถามเพิ่มเติมหรืออยากรู้เทคนิคการทำข้อสอบเรื่องไหนสามารถมาพูดคุยกันได้ที่ Facebook Dek-D School หรือ Line @schooldekd
สำหรับน้องๆ คนไหนที่อยากเก่งชีวะแบบไม่ต้องท่องจำเเละสนุกกับการเรียนชีวะให้เป็นเรื่องราวสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครเรียนได้ที่ เก่งชีววิทยา สอนโดยดร.ศุภณัฐ ไพโรหกุล (อ.อุ้ย) ผู้แต่งหนังสือ Biology และ Essential Biology โอกาสดีๆ ที่น้องๆ สามารถเรียนออนไลน์เเละถามคำถามกับอาจารย์ได้ทันที บอกเลยว่าอาจารย์สอนสนุกเเละเข้าใจง่ายมากอยากให้น้องๆ ได้มาลองเรียนกันนะคะเเละอย่าลืมติดตามฟิตเพิ่มเกรดในตอนต่อไปว่าพี่มุกจะมีเทคนิคการเรียนเรื่องไหนมาฝากกันรับรองว่าน้องๆ ที่อ่านฟิตเพิ่มเกรดทุกคนคะเเนนจะต้องพุ่งขึ้นอย่างเเน่นอนค่ะ
อยากฟิตเรื่องระบบประสาทเพิ่มเติม สมัครเลย!
เลือกฟิตเนื้อหาชีวะเพิ่มเกรดเทอมที่ต้องการได้เลย!