คะแนนภาษาอังกฤษสำคัญกว่าที่คิด เป็นวิชาที่ใช้คะแนนแทบทุกคณะเลย ยิ่งได้คะแนนเยอะก็ยิ่งมีโอกาสติดคณะในฝันได้มากขึ้น อย่างเช่นพี่เอื้อ #Dek64 รุ่นพี่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ที่ตั้งใจพิชิตคะแนนวิชาสามัญภาษาอังกฤษให้ได้มากที่สุด จนสามารถเก็บคะแนนวิชาภาษาอังกฤษได้ 90 จาก 100 คะแนนติดคณะในฝันได้สำเร็จ พี่เอื้อมี เทคนิคเก็บคะแนนวิชาสามัญภาษาอังกฤษ อย่างไร ข้อสอบปี 64 เป็นอย่างไร และน้องๆ #Dek65 ต้องเตรียมตัวยังไงในการสอบบ้าง ไปติดตามกันเลยค่ะ
ก่อนอื่นให้น้องแนะนําตัวก่อนค่ะ
สวัสดีค่าาา เอื้อนะคะ นางสาวณัฐรดา โฆษิตานนท์ แต่บางคนก็เรียกว่า ณารา ค่ะ (ส่วนใหญ่เป็นน้องที่ตามมาจาก TCAS Reality เป็น ชื่อใน Instagram: @nara_kositanont 5555555) จบการศึกษามาจาก โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม สายศิลป์ – ภาษา อังกฤษ – ภาษาเยอรมันค่ะ เอื้อเรียนที่สาธิตจุฬาฯ มาตั้งแต่ป.1 เลยค่ะ ยิงยาว 12 ปี ปัจจุบันสอบติดคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ค่ะ โดยเข้าตอนรอบ 2 โควต้าโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ เข้าจุฬาฯ ค่ะ
จากเด็กสายวิทย์เบนเข็มสู่เด็กศิลป์ภาษาเยอรมันเป้าหมายคือคณะอักษรศาสตร์
ต้องบอกตามตรงว่าจริงๆ เอื้อเป็นเด็กสายวิทย์ แต่พอสุดท้ายตอนจะเลือกสายเอื้อรู้สึกว่าเอื้อชอบภาษามากกว่า เอื้อเลยตัดสินใจเข้าสายศิลป์ภาษาค่ะ โดยเอื้อเลือกภาษาเยอรมัน เพราะตอนม.3 เอื้อเคยลงเรียนเลือกเสรีวิชาภาษาเยอรมันกับที่โรงเรียนแล้วรู้สึกชอบมาก คือเอื้อไม่ชอบภาษาตะวันออกด้วยเพราะต้องมานั่งเรียนตัวอักษรใหม่ ภาษาเยอรมันใช้ตัวอักษร Latin เหมือนกับภาษา อังกฤษค่ะซึ่งเอื้อสามารถใช้ความรู้ภาษาอังกฤษมาประยุกต์เข้ากับภาษาเยอรมันได้ด้วย เพราะอยู่ในตระกูลภาษาเดียวกัน เอื้อเลยเลือกเรียนภาษาเยอรมันค่ะ (บวกกับเอื้อรู้สึกว่าคนเยอรมันหน้าตาดี ฟีลลิ่งประมาณแบบที่คนอยากเรียนภาษาเกาหลีเพราะกรี๊ดไอดอลเกาหลีอะ 55555555)
พอเลือกเรียนศิลป์ภาษาเป้าหมายของเอื้อคืออยากเข้าอักษรฯ มาตั้งแต่เข้าสายศิลป์ – เยอรมันใหม่ๆ ตั้งแต่ม.4 เลยค่ะ เหตุผลที่เอื้ออยากเข้าคณะนี้เพราะเอื้อต้องการต่อยอด skill ภาษาของเอื้อทั้งภาษาอังกฤษและภาษาเยอรมัน และเหตุผลหลักของเอื้อเลยคือเอื้อคิดว่ามนุษย์กับภาษาเป็นสิ่งที่เกื้อกูลกัน การที่มนุษย์จะมีอารยธรรมต่างๆ อิทธิพลมาจากภาษาทั้งนั้น ถ้าไม่มีภาษา วิวัฒนาการของมนุษย์ก็จะจบไปใน generation นั้นๆ ไม่สามารถสืบทอดต่อไปได้ เราก็ไม่มีทางที่จะได้เห็น civilization หรือ creation ของมนุษยชาติในปัจจุบันแน่ๆ
เตรียมสอบ 1 ปีสอบติดคณะอักษรศาสตร์รอบ 2 ด้วยโควต้าสาธิตจุฬาฯ
เอื้อเพิ่งมาเตรียมตัวตอนม.6 หลังจากกลับมาจากปีแลกเปลี่ยนที่อเมริกาค่ะ ก็จะเริ่มช้ากว่าเพื่อนที่อยู่ไทยประมาณ 2-3 เดือน เอื้อเริ่มอ่านเยอรมันก่อนอย่างแรกเลยค่ะ นั่งอ่านเองตอนอยู่ State Quarantine 5555555 เพราะเอื้อหายจากภาษาเยอรมันไปปีนึงเลย เอื้อเลยเริ่มอ่านเยอรมันก่อน ต่อมาคือเอื้อค่อยเรียนเก็บเนื้อหาสังคมค่ะ พอตอนเปิดเทอมก็ลงวิชาเลือกที่โรงเรียนติว 9 วิชาสามัญภาษาไทยค่ะ วิชาสุดท้ายคือภาษาอังกฤษที่เอื้อเอาไว้ท้ายสุดเพราะเป็นวิชาที่เอื้อถนัดอยู่แล้ว เอื้อเริ่มอ่านภาษาอังกฤษตอนเดือนมกราคมค่ะ แล้วก่อนสอบ 1 เดือนคือลงมือทําข้อสอบเก่าทุกวิชาค่ะ
สำหรับคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ รอบ 2 โควต้าสาธิตจุฬาฯ เข้าจุฬาฯ ใช้ข้อสอบและจํานวน สัดส่วน % เหมือนกับของรอบ 3 เลยค่ะ นั่นก็คือ PAT7 25%, วิชาสามัญไทย 25%, วิชาสามัญสังคม 25%, วิชาสามัญภาษาอังกฤษ 25% แล้วก็คิดเป็นคะแนนเต็ม 30,000 เหมือนกัน แต่ว่ามันมีเกณฑ์คะแนนขั้นตำ่เพิ่มขึ้นมาค่ะ คือต้องได้ทุกวิชามากกว่าหรือเท่ากับ 60% ไม่งั้นก็ไม่ผ่านการคัดเลือกค่ะ
แชร์ เทคนิคเก็บคะแนนวิชาสามัญภาษาอังกฤษ 90 เต็ม 100 ด้วยเทคนิคพี่ติงลี่จาก Dek-D School
จริงๆ คือเอื้อวางแผนไว้ค่ะว่าเอื้อไม่อยากให้พ่อแม่จ่ายเงินเพื่อให้เอื้อเรียนพิเศษเยอะจนเกินไป เอื้อเลยตัดสินใจที่จะไม่เรียนพิเศษภาษาอังกฤษกับภาษาไทย แต่พอเอื้อได้มีโอกาสเข้าร่วมกับรายการ Dek-D TCAS Reality ทาง Dek-D ก็ offer คอร์สใน Dek-D School มาให้ เลือกเรียนฟรีค่ะ โดยเอื้อเลือกเรียนคอร์ส TCAS ภาษาอังกฤษของพี่ติงลี่ค่ะ (Grammar, Vocabulary, Reading, ตะลุยโจทย์) เพราะเป็นวิชา เดียวที่เอื้อไม่ได้เรียนพิเศษ ตอนที่เอื้อได้หนังสือก็คือตกใจมากค่ะ หนังสือหนามาก 555555555
เอื้อชอบการสอนของพี่ติงลี่ค่ะ โดยเฉพาะพาร์ท Vocab คือพี่เค้า มีตรรกะเหมือนเอื้อ คือเจอศัพท์บ่อยๆ แล้วมันจะจําได้เอง ไม่ต้องท่อง ซึ่งมันตรงกับเอื้อเลยค่ะ เพราะเอื้อเคยท่องไป ก็จําได้แค่ short-term memory แล้วก็ลืม แบบฝึกหัดพาร์ท Vocab ของพี่ติงลี่ทําให้เอื้อได้ เจอศัพท์เยอะและบ่อยค่ะ แล้วเอื้อก็จําศัพท์ได้เองโดยที่ไม่ต้องท่องเลย เพราะเอื้อเจอมันบ่อยๆ จากการเรียนกับพี่เค้า อีกพาร์ทนึงที่ชอบคือพาร์ทตะลุยโจทย์ค่ะ เป็นข้อสอบเก่าหลายๆ ชุด ทั้ง O-NET, GAT, วิชาสามัญภาษาอังกฤษ เอื้อชอบเทคนิคที่พี่ติงลี่สอนในพาร์ทเรียงประโยคของ วิชาสามัญมากกกกกกก คือมันช่วยเอื้อในการทําข้อสอบพาร์ทนั้น โดยการดูคํานําหน้าประโยค หรือสรรพนามในประโยค โดยไม่ต้องใช้เวลามางมโข่งอ่านตั้งแต่ประโยคแรก ช่วยย่นเวลาในการทําข้อสอบ วิชาสามัญภาษาอังกฤษมากค่ะ จนทําให้เอื้อทําข้อสอบทันและมีเวลากลับมาตรวจทานอีกด้วย
สำหรับผลสอบที่ออกมา GAT Eng เอื้อได้ 135/150 ส่วน วิชาสามัญภาษาอังกฤษเอื้อได้ 90/100 ค่ะ ถ้าถามว่าเป็นตามเป้ามั้ย ถ้าให้พูดตรงๆ ก็คือตามเป้าค่ะ แต่ไม่สุด 5555555 ตัว GAT Eng เอื้อไม่ได้ใส่ใจมันมากเท่าไหร่ เพราะเอื้อไม่ได้ใช้ยื่น แต่สําหรับ วิชาสามัญ ตอนแรกเอื้อก็หวังแค่ 80 up ก็พอ แต่พอเอื้อทําข้อสอบเสร็จออกมาแล้ว เอื้อรู้สึกว่าข้อสอบมันง่ายลงมาก เอื้อรู้สึกว่าเอื้อทําได้ เอื้อเลยหวังไว้ว่าอยากได้ประมาณ 92.5 – 93.75 พอผลออกมาได้ 90 เราก็แอบผิดหวังนิดนึง แต่ก็พอรับได้ค่ะ (คือจริงๆ เอื้อมีเหตุผลนะว่าทําไมเอื้อถึงแคร์ วิชาสามัญภาษาอังกฤษมากขนาดนั้น เพราะว่าเอื้อสอบ PAT เยอรมัน ซึ่งเป็น PAT ที่คะแนนฝืดทุกปี คือใน PAT ภาษาทั้งหมด PAT เยอรมันคะแนนน้อยสุดตลอด เอื้อเลยต้องหาวิชาอะไรก็ได้ที่จะช่วยดึงคะแนนเอื้อขึ้นมาพอที่จะสู้กับคนที่ ใช้ PAT ภาษาอื่นในการเข้าคณะได้ เพราะอักษรฯ รับเป็นคณะปีกกา ต้องสู้กันกับ PAT ทุกภาษา)
รีวิวข้อสอบ วิชาสามัญภาษาอังกฤษ ปี 64 และเทคนิคเก็บคะแนนสำหรับ #DEK65
เอื้อรู้สึกว่าข้อสอบ วิชาสามัญภาษาอังกฤษง่ายลงนะคะ ถ้าเกิดเทียบกับปีก่อนๆ อย่างปี 58, 59, 60 พวกบทความแนวธุรกิจหรือ พวก research, experiment ไม่มีแล้ว ง่ายลงมากเลยค่ะ แต่จะมีกลอน เข้ามาเพิ่มแทน หลาย stanza เลย ต้องอ่านให้ดีๆ ค่ะ เพราะถาม stanza ละข้อ ถ้าเกิดต้องการข้อสอบเก่าที่มีแนวความยากง่ายตามของปี ปัจจุบัน (ปี64) ก็สามารถทําของปี 63 ได้ค่ะ ระดับเดียวกันเลย
เอื้อไม่ชอบพาร์ท Vocab ของ GAT Eng ที่สุดเลยเอาจริง 55555 คือเอื้อรู้ศัพท์น้อยมาก แต่พาร์ท Vocab ในคอร์สของพี่ติงลี่ช่วยได้ มีศัพท์ที่พี่เค้าสอนออกด้วยค่ะ ส่วนที่ยากที่สุดเอื้อขอยกให้พาร์ทกลอน ของ วิชาสามัญภาษาอังกฤษค่ะ เอื้ออ่านไป 3-4 รอบ ฟีลลิ่งเหมือนเรา ต้องมาอ่านกลอนสุนทรภู่ในข้อสอบอะค่ะ ก็ไม่รู้จะแนะนําให้ #DEK65 เตรียมตัวพาร์ทกลอนยังไงจริงๆ 5555555 เอื้อขอแนะนําว่าให้เก็บ คะแนนพาร์ทอื่นแทน เช่น Conver หรือ ad เป็นต้น
แนะเทคนิคสำหรับน้องๆ #DEK65 เตรียมตัวก่อน เพิ่มโอกาสเก็บคะแนน
จริงๆ คือเอื้อเป็นคนไร้ระเบียบ ไร้แผนการมากค่ะ 55555555 ไม่เคยวางแผนการเรียนออนไลน์เลย แต่เอื้อใช้ความรู้สึกแทนค่ะว่าตอนนี้ฉันต้องเรียนนะ เอื้อก็เรียนไปเลยค่ะ 6-7 ชั่วโมง เรียนเกือบทุกวันต่อสัปดาห์เลยค่ะ เริ่มเดือนมกราคมจบตอนต้นมีนาคมค่ะ เอื้อแนะนําถึงรุ่นน้องเลยว่า ควรจะเริ่มเร็วเข้าไว้ เอื้อเพิ่งมาเริ่มคอร์สนี้ตอนเดือนมกราคม กว่าจะจบให้ทันเวลาเพื่อที่จะทําข้อสอบเก่าก็ คือหืดขึ้นคอมากค่ะ น้องๆ อย่าทําแบบพี่นะ ควรจะเริ่มคอร์สตั้งแต่ประมาณตุลาคมค่ะจะกําลังดีไม่ต้องเร่งเรียน แล้วยังเรียนจบคอร์สทันมีเวลาเหลือไปทําข้อสอบเก่าด้วยค่ะ
ฝากถึงน้องๆ #DEK65 ที่อยากเก็บคะแนนให้ได้เยอะๆ เพื่อพิชิต คณะในฝัน
วิชาภาษาอะ เป็นวิชาที่เริ่มเร็วได้เปรียบมาก เพราะพอเราเริ่มเร็ว เราก็จะสั่งสมความรู้ของภาษานั้นๆ ไว้ได้มากขึ้นเรื่อยๆ แล้วก็พยายาม Surround ตัวเราด้วยภาษานั้นๆ เช่น ดูหนัง ซีรีส์ ฟังเพลงในภาษานั้นๆ เราก็จะซึมซับภาษามากขึ้น แล้วก็เปิดดูศัพท์บ่อยๆ ไม่ต้องท่องก็ได้ ให้ มันผ่านตาเราไปบ่อยๆ แล้วมันจะเข้าหัวเราเอง พี่เอื้อเป็นกําลังใจให้กับ #DEK65 และเด็กรุ่นต่อๆไปทุกคนนะ พี่ เข้าใจความรู้สึกว่ามันเครียดขนาดไหน ถ้าอ่านไปแล้วไม่ไหว ไม่เข้าหัว ก็พักผ่อน ไปนอน ไปงีบ ไปดูหนัง ไปฟังเพลงก็ได้ พอหายเหนื่อยแล้วก็ กลับมาอ่านต่อ สู้ๆ นะ พี่เป็นกําลังใจให้ทุกคน พี่เชื่อว่าทุกคนสามารถ ผ่านมันไปได้ ติดคณะในฝันตามที่หวังไว้ สามารถมาปรึกษาพี่ได้เสมอ ที่ IG: @nara_kositanont หรือ StudyGram: @narathinks.sheshouldstudy นะค้าาาาาาา สู้ๆนะ 🙂
จบไปแล้วกับเรื่องราวของน้องเอื้อ พี่เชื่อว่าหากน้องๆ ได้อ่านมาจนถึงตรงนี้ น้องๆ น่าจะได้แรงบันดาลใจ เทคนิค และพลังบวกจากพี่เอื้อไปมากๆ เลยทีเดียว และสำหรับน้องๆ ที่กำลังเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบวิชาภาษาอังกฤษ น้องๆ สามารถวางแผนติวแบบพี่เอื้อด้วยคอร์สพิชิต TCAS ภาษาอังกฤษ สอนโดย อ.ติงลี่ (รชต กิตติโกสินท์) อาจารย์ตัวจริงเรื่องภาษาอังกฤษ ประสบการณ์ติวน้องๆ สอบติดมหาวิทยาลัยชั้นนำมากกว่า 15 ปี “แม่นอังกฤษทุกพาร์ท ครบทุกจุด จบได้ในคอร์สเดียว” เนื้อหาพร้อมเรียนทุกหัวข้อ ตลอด 24 ชม. ทวนซ้ำไม่จำกัดชั่วโมง 6 เดือนเต็ม พร้อมหนังสือเรียนส่งถึงบ้านฟรี
- เพิ่มคลังคำศัพท์ 3,000 คำผ่านแบบฝึกหัด
- อธิบายละเอียด ตั้งแต่เรื่องพื้นฐานไปจนถึงเรื่องที่โรงเรียนไม่ได้สอนแต่ออกสอบ
- เทคนิคลับ Anatomy of passage ใช้ทำข้อสอบ Reading ได้ทุกรูปแบบ
- ตะลุยโจทย์เน้นๆ ด้วยข้อสอบกว่า 50 ชุด พร้อมอัปเดตข้อสอบปีล่าสุด!
- เรียนแล้วสงสัย ถามพี่ติงลี่ได้ที่ใต้คลิปเรียนเลย
น้องๆ ที่สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คลิกกล่องข้างล่างเลยค่ะ
ทั้งนี้น้องๆ ยังสามารถติดตามสาระความรู้และข่าวสารสำหรับการสอบได้ที่ Facebook : Dek-D School : คอร์สออนไลน์คุณภาพ ที่เรียนได้ทุกคน ส่วนน้องๆ ที่สนใจติวออนไลน์สามารถปรึกษาวางแผนเตรียมสอบกับ พี่ๆ Dek-D School ได้ฟรี!!! ที่ Line @schooldekd