ใกล้เข้ามาทุกทีเเล้วสำหรับการสอบ PAT2 ตอนนี้ไม่พร้อมก็ต้องพร้อมกันเเล้ว โค้งสุดท้ายวิชามารก่อนสอบควรอ่านตรงไหน เรื่องไหนออกเยอะ เรื่องไหนออกง่าย ห้ามพลาด ห้ามเท รู้กันรึยัง? ถ้ายังไม่รู้รีบกดเข้าไปอ่านบทความนี้เลย โค้งสุดท้ายหนีตายโกยคะเเนน PAT2 เจาะลึกบทห้ามเท โค้งสุดท้ายเเล้วทำให้เต็มที่น้องๆ จะได้ไม่เสียใจที่หลังมาพยายามไปด้วยกันนะ ส่วนวันนี้เราจะมาทวงคืนคะเเนนเคมี เรื่อง เเก๊ส กัน บอกเลยข้อสอบออกไม่ยากได้คำตอบภายใน 1 นาที พร้อมเเล้วไปลุยโจทย์กัน
ไปค่ะพี่สุชาติ อย่ารอช้ามาเริ่มวิเคราะห์โจทย์กันเลย เทคนิคตาราง 3 ช่อง น้องๆ สามารถนำมาใช้ได้กับทุกวิชาเลย
มาทบทวนกฎการเเพร่ของเกรเเฮมกันก่อน
การแพร่ผ่าน (Effusion) หมายถึง กระบวนการที่แก๊สเคลื่อนที่จากบริเวณหนึ่งผ่านรูที่เล็กมากๆออกสู่บริเวณอื่น
โดยโมเลกุลไม่ชนกันเอง ซึ่งกฎการแพร่ของแกรแฮม (Graham’s Law) กล่าวว่า เมื่อเปรียบเทียบอัตราการแพร่ผ่านของแก๊สสองชนิด ภายใต้ความดันและอุณหภูมิเดียวกัน อัตราการแพร่ของแก๊สจะเเปรผกผันกับรากที่สองของความหนาแน่นของแก๊สนั้น เขียนสมการได้ดังนี้
R ∝ 1/√D ∝ 1/√M
ในกรณีนี้ โจทย์บอกที่อุณหภูมิเดียวกันเเสดงว่า M มีผลต่อค่า R โดยที่
- M มาก R น้อย
- M น้อย R มาก ดังนั้นจากโจทย์ข้อนี้ถ้าน้องๆ เขียนสูตรโมเลกุลของสารเเต่ละตัวถูกก็จะคำนวณหา M ได้โดยที่ข้อไหน M น้อยสุดเเสดงว่าค่า R หรืออัตราเร็วมากสุด
- ไดคลอโรมีเทน = CH2Cl = 49.5
- ฟอร์มาลดีไฮด์ = HCHO = 30
- ไฮโดรเจนซัลไฟล์ = H2S = 34
- ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ = SO2 = 64
- เเก๊สทุกชนิดมีอัตราเร็วเฉลี่ยเท่ากันที่อุณหภูมิเดียวกัน = ผิดเพราะ M ไม่เท่ากันทำให้ R ต่างกัน
เห็นไหมว่าง่ายๆ เเค่นี้เลยเเต่ที่สำคัญคือน้องๆ ต้องเขียนสูตรโมเลกุลของสารเเต่ละตัวได้ถึงจะหาค่า M สำหรับน้องๆคนไหนที่มีคำถามสงสัยสามารถมาพูดคุยกันได้ที่ Facebook Dek-D School หรือ Line @schooldekd
สำหรับน้องๆ ที่ต้องการฝึกทำโจทย์สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครเรียนได้ที่ พิชิต TCAS เคมี: ตะลุยโจทย์เคมี สอนโดย ดร.โรจน์ฤทธิ์ โรจนธเนศ (อ.เต้) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โอกาสที่จะได้เรียนกับตัวจริงด้านเคมีแบบนี้มีไม่บ่อยห้ามพลาดนะคะเป็นกำลังใจให้ #Dek62 สอบติดมหาลัยที่อยากได้ไปพร้อมกัน 🙂