Homeบทความแนะนำเปิดเนื้อหา สอวน.67 คณิต เคมี ฟิสิกส์ ออกสอบอะไรบ้าง

เปิดเนื้อหา สอวน.67 คณิต เคมี ฟิสิกส์ ออกสอบอะไรบ้าง

สวัสดีน้องๆ ที่กำลังเตรียมตัวสอบ สอวน.67 ทุกคนนะคะ เตรียมตัวสอบไปถึงไหนแล้ว ตอนนี้ทางเว็บไซต์ สอวน. ก็ได้ปล่อยเนื้อหาที่จะออกสอบมาแล้วนะ น้องๆ คนไหนที่อ่านแล้ว แต่ยังไม่รู้ว่าต้องเตรียมตัวยังไง มาดูรายละเอียดจากบทความนี้ไปพร้อมๆ กันเลย

สอวน.คณิตศาสตร์

ข้อสอบ สอวน. คณิต เนื้อหาส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อหา ม.ต้น มีลากยาวมา ม.4 เทอม 1 นิดหน่อย เนื้อหาไม่ได้โหดมาก แต่ก็ยากกว่าหลักสูตร โจทย์จะเน้นให้เข้าใจทฤษฎี การพิสูจน์ สังเกตุ ตรรกะ เนื้อหาที่ออกสอบจะประมาณนี้ มาดูแบบละเอียดแยกหัวข้อกันกว่า

เนื้อหาที่ออกสอบ สอวน. 67 วิชาคณิตศาสตร์
  • จำนวนและพีชคณิต เนื้อหาที่ออกคือ จำนวนตรรกยะ, จำนวนจริง, อัตราส่วน, เซต, พหุนาม, การแยกตัวประกอบของพหุนาม, ฟังก์ชันกำลังสอง, สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว, สมการเชิงเส้นสองตัวแปร, อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว, สมการกำลังสองตัวแปรเดียว, ระบบสมการ

    โดยเนื้อหาพวกนี้จะเน้นเข้าใจทฤษฎี ที่มาที่ไปของแต่ละเรื่อง การแก้สมการต่างๆ
  • การวัดและเรขาคณิต เนื้อหาที่ออกคือ พื้นที่ผิว, ปริมาตร, การสร้างทางเรขาคณิต, มิติสัมพัทธ์ของรูปเรขาคณิต, เส้นขนาน, การแปลงทางเรขาคณิต, ความเท่ากันทุกประการ, ทฤษฎีบทพีทาโกรัส, ความคล้าย, อัตราส่วนตรีโกณมิติ, วงกลม

    ข้อสอบเรื่องการวัด เรขาคณิตนี้ โจทย์จะมีรูปเยอะ และรูปก็ดูยากด้วย ระวังโดนโจทย์หลอก ต้องอาศัยทักษะเรื่องของรูปทรง มิติสัมพันธ์ร่วมด้วย
  • สถิติและความน่าจะเป็น เนื้อหาที่ออกสอบคือ การนำเสนอและวิเคราะห์ข้อมูล ความน่าจะเป็น

    เนื้อหาอันนี้ส่วนใหญ่จะออกเกี่ยวกับการนับและความน่าจะเป็น โจทย์จะเป็นแนวประยุกต์เยอะๆ หน่อย สามารถประยุกต์ได้กับทุกเรื่องก่อนหน้านี้ด้วย และตีโจทย์ยาก ต้องสังเกตุดีๆ ถ้าเคยเจอโจทย์มาหลายๆ แบบ จะได้เปรียบมาก เรื่องนี้บางทีใช้ sense ยังง่ายกว่าใช้ทฤษฎีอีกค่ะ
  • ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เนื้อหาที่ออกคือ การให้เหตุผล การแก้ปัญหา ตรรกศาสตร์

    หัวข้อนี้โจทย์จะออกแนวเชาวน์ และตรรกศาสตร์ ซึ่งโจทย์จะเน้นเข้าใจทฤษฎี ที่มาที่ไปของเนื้อหา

สอวน.เคมี

วิชาเคมี เนื้อหาที่ออกสอบจะออกตั้งแต่เนื้อหา ม.4-ม.5 เทอม 1 เนื้อหาเคมีจะแบ่งออกเป็นพาร์ทบรรยายกับพาร์ทคำนวณ ความยากง่ายพอๆ กัน ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคนนะ เนื้อหาออกสอบที่ทางเว็บไซต์ประกาศมา บอกค่อนข้างจะละเอียดเลย เรามาดูรายละเอียดของแต่ละหัวข้อกันเลย

เนื้อหาที่ออกสอบ สอวน. 67 วิชาเคมี
  • ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
    – ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี (ประเภทของสารเคมี, ข้อควรปฏิบัติในการทำปฏิบัติการเคมี, การกำจัดสารเคมี)
    – อุบัติเหตุจากสารเคมี
    – การวัดปริมาณสาร (อุปกรณ์วัดปริมาตร, อุปกรณ์วัดมวล, เลขนัยสำคัญ)
    – หน่วยวัด (หน่วยในระบบเอสไอ, แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย)
    – วิธีการทางวิทยาศาสตร์
  • อะตอมและสมบัติของธาตุ เป็นเคมีพาร์ทบรรยาย ที่จะออกสอบน้อยกว่าพันธะเคมี เนื้อหาจะง่ายกว่าหน่อย เน้นพวกการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม คุณสมบัติของสารต่างๆ
    – แบบจำลองอะตอม (แบบจำลองอะตอมของดอลตัน, ทอมสัน, รัทเทอร์ฟอร์ด, โบร์, แบบกลุ่มหมอก)
    – อนุภาคในอะตอมและไอโซโทป (อนุภาคในอะตอม, เลขอะตอม, เลขมวล, และไอโซโทป)
    – การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม (จำนวนอิเล็กตรอนในแต่ละระดับพลังงาน, ระดับพลังงานหลักและระดับพลังงานย่อย, ออร์บิทัล, หลักการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม)
    – ตารางธาตุและสมบัติของธาตุหมู่หลัก (วิวัฒนาการของการสร้างตารางธาตุ, กลุ่มของธาตุในตารางธาตุ, ขนาดอะตอม, ขนาดไอออน, พลังงานไอออไนเซชัน, สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน, อิเล็กโทรเนกาติวิตี)
    – ธาตุแทรนซิชัน (สมบัติของธาตุแทรนซิชัน)
    – ธาตุกัมมันตรังสี (การเกิดกัมมันตภาพรังสี, การสลายตัวของไอโซโทปกัมมันตรังสี, อันตรายจากไอโซโทปกัมมันตรังสี, ครึ่งชีวิตของไอโซโทปกัมมันตรังสี, ปฏิกิริยานิวเคลียร์, เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารกัมมันตรังสี)
    – การนำธาตุไปใช้ประโยชน์และผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต (ประโยชน์ของธาตุ, ผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม)
  • พันธะเคมี เป็นเคมีพาร์ทบรรยาย ที่ออกค่อนข้างเยอะ เพราะเป็นบทใหญ่ด้วย ถ้าคนที่ไม่ชอบเนื้อหาบรรยาย จะไม่ค่อยชอบบทนี้
    – สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสและกฎออกเตต
    – พันธะไอออนิก (การเกิดพันธะไอออนิก, สูตรเคมีและชื่อของสารประกอบไอออนิก, พลังงานกับการเกิดสารประกอบไอออนิก, สมบัติของสารประกอบไอออนิก, สมการไอออนิกและสมการไอออนิกสุทธิ)
    – พันธะโคเวเลนต์ (การเกิดพันธะโคเวเลนต์, สูตรโมเลกุลและชื่อของสารโคเวเลนต์, ความยาวพันธะและพลังงานพันธะของสารโคเวเลนต์, รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์, สภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์, แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลและสมบัติของสารโคเวเลนต์, สารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่าย)
    – พันธะโลหะ (การเกิดพันธะโลหะ, สมบัติของโลหะ)
    – การใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก, สารประกอบโคเวเลนต์ และโลหะ
  • โมลและสูตรเคมี
    – มวลอะตอม
    – โมล (มวลต่อโมล, ความสัมพันธ์ระหว่างโมล, มวล, และปริมาตรของแก๊ส)
    – สูตรเคมี (กฎสัดส่วนคงที่, ร้อยละโดยมวลของธาตุ, การหาสูตรโมเลกุลและสูตรอย่างง่าย)
  • สารละลาย เรื่องนี้จะออกเนื้อหาของมันตรงๆ เลย ไม่ค่อยไปรวมกับบทอื่น
    – ความเข้มข้นของสารละลาย
    – การเตรียมสารละลาย
    – สมบัติบางประการของสารละลาย
  • ปริมาณสัมพันธ์ เนื้อหาเคมีพาร์ทคำนวณ ส่วนใหญ่จะเป็นคำนวณปริมาณสารสัมพันธ์ ทั้งการคำนวณปริมาณสารทื่เกี่ยวกับมวล ความเข้มข้น แก๊ส คนที่ไม่ชอบเนื้อหาคำนวณอาจจจะไม่ค่อยชอบปริมาณสารสัมพันธ์ของแก๊ส เพราะค่อนข้างซับซ้อน
    – ปฏิกิริยาเคมี
    – สมการเคมี
    – การคำนวณปริมาณสารในปฏิกิริยาเคมี (การคำนวณปริมาณสารที่เกี่ยวข้องกับมวล, การคำนวณปริมาณสารที่เกี่ยวข้องกับความเข้มข้น, การคำนวณปริมาณสารที่เกี่ยวข้องกับปริมาตรของแก๊ส, การคำนวณปริมาณสารในปฏิกิริยาหลายขั้นตอน)
    – สารกำหนดปริมาณ
    – ผลได้ร้อยละ
  • แก๊สและสมบัติของแก๊ส
    – ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรและความดัน, ปริมาตรและอุณหภูมิ, ปริมาตร ความดัน และอุณหภูมิ, ปริมาตรและจำนวนโมลของแก๊ส
    – กฎแก๊สอุดมคติและความดันย่อย
    – ทฤษฎีจลน์และการแพร่ของแก๊ส
    – การประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับแก๊สและสมบัติของแก๊ส

สอวน.ฟิสิกส์

เนื้อหาของวิชาฟิสิกส์จะออกค่อนข้างโหดเลย ออกยาวๆ ไปยันเนื้อหา ม.6 เลย และเกินหลักสูตร สสวทด้วย แต่เรื่อง คลื่น เสียง ฟิสิกส์อะตอม ฟิสิกส์นิวเคลียร์ ไม่ออกสอบนะ ข้ามได้เลย มาดูเนื้อหาที่ออกสอบของแต่ละเรื่องกันดีกว่า วิชานี้ทางเว็บก็บอกละเอียดยิบไม่แพ้เคมีเลยค่ะ

เนื้อหาที่ออกสอบ สอวน. 67 วิชาฟิสิกส์
  • การแปลงหน่วย เช่น 30 m/s = 108 km/hour
  • แรงและกฎการเคลื่อนที่
    – กฎการเคลื่อนที่ 3 ข้อของนิวตัน
    – แรงเสียดทาน สัมประสิทธิ์ของความเสียดทานสถิตและสัมประสิทธิ์ของความเสียดทานจลน์
  • การเคลื่อนที่แบบต่างๆ
    – การเคลื่อนที่แบบโพรเจคไทล์ (ใกล้ผิวโลกแบนราบ)
    – การเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วคงที่ตามแนววงกลมรัศมี r
  • งาน พลังงาน โมเมนตัม
    – ผลจากกฎการเคลื่อนที่ : ได้หลักอนุรักษ์ โมเมนตัมเชิงเส้น
    – ผลจากกฎการเคลื่อนที่ : ได้หลักอนุรักษ์พลังงานกลของระบบ
  • การเคลื่อนที่แบบหมุนและสภาพสมดุล
    – การเคลื่อนที่แบบหมุนของก้อนวัตถุรอบแกนผ่านจุดศูนย์กลางมวล ด้วยอัตราเร่งเชิงมุม Ω
    – สมดุลสถิต : อัตราเร่งเชิงมุม Ω = 0
  • ของไหล
    – ของไหล (หมายถึงของเหลวก็ได้ , แก๊สก็ได้) : ความดันที่ความลึก h จากผิวของเหลวในสนามโน้มถ่วง g
    – สมการของ Bernoulli
  • ความร้อนและแก๊ส
    – การไหลของความร้อน ฟลักซ์ของการไหล
    – การขยายตัวเชิงความร้อน
    – กฎของแก๊สอุดมคติ
    – หลักการ Equipartition of Energy \(\frac{1}{2}kT\) ต่อหนึ่ง degree of freedom
    – ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส
    – กฎข้อที่ศูนย์ และกฎข้อที่หนึ่งของเทอร์โมไดนามิคส์
  • ไฟฟ้า
    – ไฟฟ้าสถิต, แรงระหว่างประจุไฟฟ้า, กฎของคูลอมบ์, งานที่ทำโดยแรงไฟฟ้า, แนวคิดเรื่องศักย์ไฟฟ้า, แนวคิดเรื่องสนามไฟฟ้า, และพลังงานในสนามไฟฟ้า, แนวคิดเรื่องตัวเก็บประจุ
    – ไฟฟ้ากระแสตรง
    – การไหลของกระแสไฟฟ้าในเส้นลวดโลหะ กฎของโอห์ม แนวคิดเรื่องความต้านทาน และตัวต้านทาน
    – การสูญเสียพลังงานไฟฟ้าไปเป็นพลังงานความร้อนในตัวต้านทาน ด้วยอัตรา \(i^2R\)
    – การรวมค่า R , การรวมค่า C และบทบาทของ R กับ C ในวงจรกระแสตรง
    – สนามแม่เหล็กเนื่องจากกระแสไฟฟ้า ที่จุดศูนย์กลางของวงลวดรัศมี r ที่มีกระแสไฟฟ้า i ไหลวน
    – กฎการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าของ Faraday & Lenz
    – กระแส “Displacement current” ของ Maxwell ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า พลังงานต่อหน่วยปริมาตรในคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
  • แสงเชิงเรขาคณิต
    – กฎของการสะท้อน กระจกนูน และกระจกเว้า การเกิดภาพโดยกระจกเหล่านี้ โดยการเขียนทางเดินของแสง
    – กฎของการหักเห กฎของสเนลล์ กฎของบริวสเตอร์ เลนส์นูน และเลนส์เว้า การเกิดภาพโดยเลนส์เหล่านี้ โดยการเขียนทางเดินของแสง
    – การเกิดภาพในระบบกระจกกับเลนส์

ติวออนไลน์ พิชิตค่าย 1 สอวน.67 คณิต เคมี ฟิสิกส์

เตรียมสอบ สอวน.67 สอนโดยอาจารย์อดีตตัวแทนประเทศและมีประสบการณ์ติวเด็กโอลิมปิกวิชาการมากกว่า 20 ปี ปิดจุดอ่อน เสริมจุดแข็ง ได้ตรงที่สุด

แค่ท่องจำเนื้อหาได้ไม่เพียงพอ เพราะข้อสอบสอวน. ซับซ้อนและพลิกแพลงมากกว่าโจทย์ทั่วไป คอร์สพิชิตสอวน. นี้เป็นหลักสูตรเร่งรัดที่ทบทวนเนื้อหา บทที่ออกสอบโดยเน้นให้ผู้เรียนเข้าใจทฤษฎีอย่างลึกซึ้ง และสอนให้ผู้เรียนวิเคราะห์ปัญหาและแก้โจทย์ที่ซับซ้อนตามแนวของข้อสอบสอวน.ได้ โดยเน้นหัวข้อและรูปแบบที่ออกสอบบ่อย เพื่อให้น้องๆ พร้อมที่สุดในโค้งสุดท้ายก่อนการสอบ

ในคอร์สเรียน จะประกอบไปด้วยสรุปเนื้อหาที่ใช้สอบเข้าค่าย 1 และตะลุยโจทย์ข้อสอบเก่าๆ ย้อนหลังหลายปี มีหนังสือเรียนเป็นรูปเล่มอย่างดี ส่งให้ถึงบ้านฟรี คอร์สเรียนมีอายุคอร์ส 1 ปี สามารถทวนซ้ำได้ไม่จำกัด เรียนกี่รอบก็ได้ จนกว่าจะหมดอายุคอร์สเรียน มีข้อสงสัยสามารถสอบถามอาจารย์ผู้สอนที่ใต้คลิปเรียนได้ทันที และจะมีการแจ้งเตือนส่งถึงน้องๆ เมื่อมีการตอบกลับ ถ้าน้องๆ สนใจคอร์สเรียน สามารถคลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่กล่องด้านล่างได้เลย

ทดลองเรียนฟรีก่อนได้เลย

รุ่นพี่เด็กค่ายรีวิว ติว สอวน. กับ Dek-D School แล้วสอบติดจริง

สอบถามเพิ่มเติม และปรึกษาพี่ๆ Dek-D School ได้เลยที่ Line @schooldekd และติดตามข่าวสารการเตรียมตัวสอบได้ที่ช่องทางต่างๆ ต่อไปนี้

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular

Recent Comments