สวัสดีน้องๆ ที่กำลังเตรียมตัวสอบ สอวน.67 ทุกคนนะคะ เตรียมตัวสอบไปถึงไหนแล้ว ตอนนี้ทางเว็บไซต์ สอวน. ก็ได้ปล่อยเนื้อหาที่จะออกสอบมาแล้วนะ น้องๆ คนไหนที่อ่านแล้ว แต่ยังไม่รู้ว่าต้องเตรียมตัวยังไง มาดูรายละเอียดจากบทความนี้ไปพร้อมๆ กันเลย
สอวน.คณิตศาสตร์
ข้อสอบ สอวน. คณิต เนื้อหาส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อหา ม.ต้น มีลากยาวมา ม.4 เทอม 1 นิดหน่อย เนื้อหาไม่ได้โหดมาก แต่ก็ยากกว่าหลักสูตร โจทย์จะเน้นให้เข้าใจทฤษฎี การพิสูจน์ สังเกตุ ตรรกะ เนื้อหาที่ออกสอบจะประมาณนี้ มาดูแบบละเอียดแยกหัวข้อกันกว่า
- จำนวนและพีชคณิต เนื้อหาที่ออกคือ จำนวนตรรกยะ, จำนวนจริง, อัตราส่วน, เซต, พหุนาม, การแยกตัวประกอบของพหุนาม, ฟังก์ชันกำลังสอง, สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว, สมการเชิงเส้นสองตัวแปร, อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว, สมการกำลังสองตัวแปรเดียว, ระบบสมการ
โดยเนื้อหาพวกนี้จะเน้นเข้าใจทฤษฎี ที่มาที่ไปของแต่ละเรื่อง การแก้สมการต่างๆ
- การวัดและเรขาคณิต เนื้อหาที่ออกคือ พื้นที่ผิว, ปริมาตร, การสร้างทางเรขาคณิต, มิติสัมพัทธ์ของรูปเรขาคณิต, เส้นขนาน, การแปลงทางเรขาคณิต, ความเท่ากันทุกประการ, ทฤษฎีบทพีทาโกรัส, ความคล้าย, อัตราส่วนตรีโกณมิติ, วงกลม
ข้อสอบเรื่องการวัด เรขาคณิตนี้ โจทย์จะมีรูปเยอะ และรูปก็ดูยากด้วย ระวังโดนโจทย์หลอก ต้องอาศัยทักษะเรื่องของรูปทรง มิติสัมพันธ์ร่วมด้วย
- สถิติและความน่าจะเป็น เนื้อหาที่ออกสอบคือ การนำเสนอและวิเคราะห์ข้อมูล ความน่าจะเป็น
เนื้อหาอันนี้ส่วนใหญ่จะออกเกี่ยวกับการนับและความน่าจะเป็น โจทย์จะเป็นแนวประยุกต์เยอะๆ หน่อย สามารถประยุกต์ได้กับทุกเรื่องก่อนหน้านี้ด้วย และตีโจทย์ยาก ต้องสังเกตุดีๆ ถ้าเคยเจอโจทย์มาหลายๆ แบบ จะได้เปรียบมาก เรื่องนี้บางทีใช้ sense ยังง่ายกว่าใช้ทฤษฎีอีกค่ะ
- ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เนื้อหาที่ออกคือ การให้เหตุผล การแก้ปัญหา ตรรกศาสตร์
หัวข้อนี้โจทย์จะออกแนวเชาวน์ และตรรกศาสตร์ ซึ่งโจทย์จะเน้นเข้าใจทฤษฎี ที่มาที่ไปของเนื้อหา
สอวน.เคมี
วิชาเคมี เนื้อหาที่ออกสอบจะออกตั้งแต่เนื้อหา ม.4-ม.5 เทอม 1 เนื้อหาเคมีจะแบ่งออกเป็นพาร์ทบรรยายกับพาร์ทคำนวณ ความยากง่ายพอๆ กัน ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคนนะ เนื้อหาออกสอบที่ทางเว็บไซต์ประกาศมา บอกค่อนข้างจะละเอียดเลย เรามาดูรายละเอียดของแต่ละหัวข้อกันเลย
- ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
– ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี (ประเภทของสารเคมี, ข้อควรปฏิบัติในการทำปฏิบัติการเคมี, การกำจัดสารเคมี)
– อุบัติเหตุจากสารเคมี
– การวัดปริมาณสาร (อุปกรณ์วัดปริมาตร, อุปกรณ์วัดมวล, เลขนัยสำคัญ)
– หน่วยวัด (หน่วยในระบบเอสไอ, แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย)
– วิธีการทางวิทยาศาสตร์ - อะตอมและสมบัติของธาตุ เป็นเคมีพาร์ทบรรยาย ที่จะออกสอบน้อยกว่าพันธะเคมี เนื้อหาจะง่ายกว่าหน่อย เน้นพวกการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม คุณสมบัติของสารต่างๆ
– แบบจำลองอะตอม (แบบจำลองอะตอมของดอลตัน, ทอมสัน, รัทเทอร์ฟอร์ด, โบร์, แบบกลุ่มหมอก)
– อนุภาคในอะตอมและไอโซโทป (อนุภาคในอะตอม, เลขอะตอม, เลขมวล, และไอโซโทป)
– การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม (จำนวนอิเล็กตรอนในแต่ละระดับพลังงาน, ระดับพลังงานหลักและระดับพลังงานย่อย, ออร์บิทัล, หลักการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม)
– ตารางธาตุและสมบัติของธาตุหมู่หลัก (วิวัฒนาการของการสร้างตารางธาตุ, กลุ่มของธาตุในตารางธาตุ, ขนาดอะตอม, ขนาดไอออน, พลังงานไอออไนเซชัน, สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน, อิเล็กโทรเนกาติวิตี)
– ธาตุแทรนซิชัน (สมบัติของธาตุแทรนซิชัน)
– ธาตุกัมมันตรังสี (การเกิดกัมมันตภาพรังสี, การสลายตัวของไอโซโทปกัมมันตรังสี, อันตรายจากไอโซโทปกัมมันตรังสี, ครึ่งชีวิตของไอโซโทปกัมมันตรังสี, ปฏิกิริยานิวเคลียร์, เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารกัมมันตรังสี)
– การนำธาตุไปใช้ประโยชน์และผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต (ประโยชน์ของธาตุ, ผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม) - พันธะเคมี เป็นเคมีพาร์ทบรรยาย ที่ออกค่อนข้างเยอะ เพราะเป็นบทใหญ่ด้วย ถ้าคนที่ไม่ชอบเนื้อหาบรรยาย จะไม่ค่อยชอบบทนี้
– สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสและกฎออกเตต
– พันธะไอออนิก (การเกิดพันธะไอออนิก, สูตรเคมีและชื่อของสารประกอบไอออนิก, พลังงานกับการเกิดสารประกอบไอออนิก, สมบัติของสารประกอบไอออนิก, สมการไอออนิกและสมการไอออนิกสุทธิ)
– พันธะโคเวเลนต์ (การเกิดพันธะโคเวเลนต์, สูตรโมเลกุลและชื่อของสารโคเวเลนต์, ความยาวพันธะและพลังงานพันธะของสารโคเวเลนต์, รูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์, สภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์, แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลและสมบัติของสารโคเวเลนต์, สารโคเวเลนต์โครงร่างตาข่าย)
– พันธะโลหะ (การเกิดพันธะโลหะ, สมบัติของโลหะ)
– การใช้ประโยชน์ของสารประกอบไอออนิก, สารประกอบโคเวเลนต์ และโลหะ - โมลและสูตรเคมี
– มวลอะตอม
– โมล (มวลต่อโมล, ความสัมพันธ์ระหว่างโมล, มวล, และปริมาตรของแก๊ส)
– สูตรเคมี (กฎสัดส่วนคงที่, ร้อยละโดยมวลของธาตุ, การหาสูตรโมเลกุลและสูตรอย่างง่าย) - สารละลาย เรื่องนี้จะออกเนื้อหาของมันตรงๆ เลย ไม่ค่อยไปรวมกับบทอื่น
– ความเข้มข้นของสารละลาย
– การเตรียมสารละลาย
– สมบัติบางประการของสารละลาย - ปริมาณสัมพันธ์ เนื้อหาเคมีพาร์ทคำนวณ ส่วนใหญ่จะเป็นคำนวณปริมาณสารสัมพันธ์ ทั้งการคำนวณปริมาณสารทื่เกี่ยวกับมวล ความเข้มข้น แก๊ส คนที่ไม่ชอบเนื้อหาคำนวณอาจจจะไม่ค่อยชอบปริมาณสารสัมพันธ์ของแก๊ส เพราะค่อนข้างซับซ้อน
– ปฏิกิริยาเคมี
– สมการเคมี
– การคำนวณปริมาณสารในปฏิกิริยาเคมี (การคำนวณปริมาณสารที่เกี่ยวข้องกับมวล, การคำนวณปริมาณสารที่เกี่ยวข้องกับความเข้มข้น, การคำนวณปริมาณสารที่เกี่ยวข้องกับปริมาตรของแก๊ส, การคำนวณปริมาณสารในปฏิกิริยาหลายขั้นตอน)
– สารกำหนดปริมาณ
– ผลได้ร้อยละ - แก๊สและสมบัติของแก๊ส
– ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรและความดัน, ปริมาตรและอุณหภูมิ, ปริมาตร ความดัน และอุณหภูมิ, ปริมาตรและจำนวนโมลของแก๊ส
– กฎแก๊สอุดมคติและความดันย่อย
– ทฤษฎีจลน์และการแพร่ของแก๊ส
– การประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับแก๊สและสมบัติของแก๊ส
สอวน.ฟิสิกส์
เนื้อหาของวิชาฟิสิกส์จะออกค่อนข้างโหดเลย ออกยาวๆ ไปยันเนื้อหา ม.6 เลย และเกินหลักสูตร สสวทด้วย แต่เรื่อง คลื่น เสียง ฟิสิกส์อะตอม ฟิสิกส์นิวเคลียร์ ไม่ออกสอบนะ ข้ามได้เลย มาดูเนื้อหาที่ออกสอบของแต่ละเรื่องกันดีกว่า วิชานี้ทางเว็บก็บอกละเอียดยิบไม่แพ้เคมีเลยค่ะ
- การแปลงหน่วย เช่น 30 m/s = 108 km/hour
- แรงและกฎการเคลื่อนที่
– กฎการเคลื่อนที่ 3 ข้อของนิวตัน
– แรงเสียดทาน สัมประสิทธิ์ของความเสียดทานสถิตและสัมประสิทธิ์ของความเสียดทานจลน์ - การเคลื่อนที่แบบต่างๆ
– การเคลื่อนที่แบบโพรเจคไทล์ (ใกล้ผิวโลกแบนราบ)
– การเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วคงที่ตามแนววงกลมรัศมี r - งาน พลังงาน โมเมนตัม
– ผลจากกฎการเคลื่อนที่ : ได้หลักอนุรักษ์ โมเมนตัมเชิงเส้น
– ผลจากกฎการเคลื่อนที่ : ได้หลักอนุรักษ์พลังงานกลของระบบ - การเคลื่อนที่แบบหมุนและสภาพสมดุล
– การเคลื่อนที่แบบหมุนของก้อนวัตถุรอบแกนผ่านจุดศูนย์กลางมวล ด้วยอัตราเร่งเชิงมุม Ω
– สมดุลสถิต : อัตราเร่งเชิงมุม Ω = 0 - ของไหล
– ของไหล (หมายถึงของเหลวก็ได้ , แก๊สก็ได้) : ความดันที่ความลึก h จากผิวของเหลวในสนามโน้มถ่วง g
– สมการของ Bernoulli - ความร้อนและแก๊ส
– การไหลของความร้อน ฟลักซ์ของการไหล
– การขยายตัวเชิงความร้อน
– กฎของแก๊สอุดมคติ
– หลักการ Equipartition of Energy \(\frac{1}{2}kT\) ต่อหนึ่ง degree of freedom
– ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส
– กฎข้อที่ศูนย์ และกฎข้อที่หนึ่งของเทอร์โมไดนามิคส์ - ไฟฟ้า
– ไฟฟ้าสถิต, แรงระหว่างประจุไฟฟ้า, กฎของคูลอมบ์, งานที่ทำโดยแรงไฟฟ้า, แนวคิดเรื่องศักย์ไฟฟ้า, แนวคิดเรื่องสนามไฟฟ้า, และพลังงานในสนามไฟฟ้า, แนวคิดเรื่องตัวเก็บประจุ
– ไฟฟ้ากระแสตรง
– การไหลของกระแสไฟฟ้าในเส้นลวดโลหะ กฎของโอห์ม แนวคิดเรื่องความต้านทาน และตัวต้านทาน
– การสูญเสียพลังงานไฟฟ้าไปเป็นพลังงานความร้อนในตัวต้านทาน ด้วยอัตรา \(i^2R\)
– การรวมค่า R , การรวมค่า C และบทบาทของ R กับ C ในวงจรกระแสตรง
– สนามแม่เหล็กเนื่องจากกระแสไฟฟ้า ที่จุดศูนย์กลางของวงลวดรัศมี r ที่มีกระแสไฟฟ้า i ไหลวน
– กฎการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าของ Faraday & Lenz
– กระแส “Displacement current” ของ Maxwell ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า พลังงานต่อหน่วยปริมาตรในคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
- แสงเชิงเรขาคณิต
– กฎของการสะท้อน กระจกนูน และกระจกเว้า การเกิดภาพโดยกระจกเหล่านี้ โดยการเขียนทางเดินของแสง
– กฎของการหักเห กฎของสเนลล์ กฎของบริวสเตอร์ เลนส์นูน และเลนส์เว้า การเกิดภาพโดยเลนส์เหล่านี้ โดยการเขียนทางเดินของแสง
– การเกิดภาพในระบบกระจกกับเลนส์
ติวออนไลน์ พิชิตค่าย 1 สอวน.67 คณิต เคมี ฟิสิกส์
เตรียมสอบ สอวน.67 สอนโดยอาจารย์อดีตตัวแทนประเทศและมีประสบการณ์ติวเด็กโอลิมปิกวิชาการมากกว่า 20 ปี ปิดจุดอ่อน เสริมจุดแข็ง ได้ตรงที่สุด
แค่ท่องจำเนื้อหาได้ไม่เพียงพอ เพราะข้อสอบสอวน. ซับซ้อนและพลิกแพลงมากกว่าโจทย์ทั่วไป คอร์สพิชิตสอวน. นี้เป็นหลักสูตรเร่งรัดที่ทบทวนเนื้อหา บทที่ออกสอบโดยเน้นให้ผู้เรียนเข้าใจทฤษฎีอย่างลึกซึ้ง และสอนให้ผู้เรียนวิเคราะห์ปัญหาและแก้โจทย์ที่ซับซ้อนตามแนวของข้อสอบสอวน.ได้ โดยเน้นหัวข้อและรูปแบบที่ออกสอบบ่อย เพื่อให้น้องๆ พร้อมที่สุดในโค้งสุดท้ายก่อนการสอบ
ในคอร์สเรียน จะประกอบไปด้วยสรุปเนื้อหาที่ใช้สอบเข้าค่าย 1 และตะลุยโจทย์ข้อสอบเก่าๆ ย้อนหลังหลายปี มีหนังสือเรียนเป็นรูปเล่มอย่างดี ส่งให้ถึงบ้านฟรี คอร์สเรียนมีอายุคอร์ส 1 ปี สามารถทวนซ้ำได้ไม่จำกัด เรียนกี่รอบก็ได้ จนกว่าจะหมดอายุคอร์สเรียน มีข้อสงสัยสามารถสอบถามอาจารย์ผู้สอนที่ใต้คลิปเรียนได้ทันที และจะมีการแจ้งเตือนส่งถึงน้องๆ เมื่อมีการตอบกลับ ถ้าน้องๆ สนใจคอร์สเรียน สามารถคลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่กล่องด้านล่างได้เลย
ทดลองเรียนฟรีก่อนได้เลย
รุ่นพี่เด็กค่ายรีวิว ติว สอวน. กับ Dek-D School แล้วสอบติดจริง
สอบถามเพิ่มเติม และปรึกษาพี่ๆ Dek-D School ได้เลยที่ Line @schooldekd และติดตามข่าวสารการเตรียมตัวสอบได้ที่ช่องทางต่างๆ ต่อไปนี้