Home บทความแนะนำ เปิดแนวโจทย์ สอวน เคมี 67 จากคอร์ส สอวน.เคมี Dek-D School

เปิดแนวโจทย์ สอวน เคมี 67 จากคอร์ส สอวน.เคมี Dek-D School

0
5069
เปิดแนวโจทย์ สอวน เคมี 66 จากคอร์ส สอวน.เคมี Dek-D School

ตัวอย่างโจทย์แนวข้อสอบ สอวน เคมี 67 โจทย์จากคอร์สพิชิต สอวน. วิชาเคมี ของ Dek-D School ให้น้องๆ ได้ลองทำ ว่าสามารถทำได้ไหม พร้อมเฉลยแบบคร่าวๆ ไว้สำหรับตรวจคำตอบ เนื้อหาครอบคลุมตามที่ออกสอบ สอวน สำหรับน้องๆ ที่ยังทำไม่ได้ ต้องรีบเรียนเนื้อหาเพิ่มเติม แล้วก็ฝึกทำโจทย์ด่วนๆ เลย

โจทย์จากคอร์สพิชิต สอวน. วิชาเคมี

ข้อแรกเป็นเรื่องการจัดเรียงอิเล็กตรอน และแนวโน้มต่างๆ ในตารางธาตุ

แนวข้อสอบ สอวน เคมี 66 จากคอร์ส สอวน.เคมี Dek-D School เรื่อง การจัดเรียงอิเล็กตรอน

ลองหาว่าธาตุแต่ละชนิดคือธาตุอะไร โดยปกติแล้วโจทย์จะให้ธาตุจริงมา แต่กำหนดเป็นตัวแปร A D E G จากการจัดเรียงอิเล็กตรอน จะได้ว่า A คือ Kr, D คือ Fe, E คือ Ni และ G คือ S ดังนั้นคำตอบของข้อนี้คือ ค.

ข้อต่อมา เป็นเรื่องครึ่งชีวิตของไอโซโทปกัมมันตรังสี อาศัยความรู้เรื่องการจัดเรียงอิเล็กตรอน และตารางธาตุด้วย

แนวข้อสอบ สอวน เคมี 66 จากคอร์ส สอวน.เคมี Dek-D School เรื่อง กัมมันตรังสี

จากข้อมูลที่ว่าธาตุ D อยู่ในคาบ 6 หมู่ 18 จะได้ธาตุ D คือ Rn จัดเรียงอิเล็กตรอนหาได้ว่า ₈₆Rn และจากข้อมูลที่ว่าธาตุ D มีจำนวนนิวตรอนเท่ากับ 136 ดังนั้น ₈₆²²²D และทำให้ได้ ₈₈226A คำตอบของข้อนี้คือ ค.

ข้อนี้อยู่ในเรื่องพันธะเคมี ให้ระบุรูปร่างโมเลกุลทั้ง 13 โมเลกุล แบบจุกๆ ไปเลย

แนวข้อสอบ สอวน เคมี 66 จากคอร์ส สอวน.เคมี Dek-D School เรื่อง รูปร่างเชิงเรขาคณิตของโมเลกุล

ก่อนจะหารูปร่างได้ ต้องวาดโครงสร้างของโมเลกุลให้ถูกต้องก่อน อย่าลืมระบุอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวของอะตอมกลางด้วย ถ้าไม่ระบุรูปร่างผิดแน่ๆ คำตอบของข้อนี้คือ CHO⁺ เป็น Linear, CH₂O เป็น Trigonal Planar, O₃ เป็น Bend, SO₄²⁻เป็น Tetrahedral, H₃O⁺ เป็น Pyramidal, H₂S เป็น Bend, PF₅ เป็น Trigonal bipyramidal, SF₄ เป็น See-saw, XeOF₂ เป็น T, I₃⁻ เป็น Linear, SiF₆²⁻ เป็น Octahedral, XeOF₄ เป็น Square Pyramidal, XeF₄ เป็น Square Planar

ข้อที่ 4 ข้อนี้ยังอยู่ในเรื่องพันธะเคมี เกี่ยวกับกฎออกเตต และการสร้างพันธะของอิเล็กตรอน

แนวข้อสอบ สอวน เคมี 66 จากคอร์ส สอวน.เคมี Dek-D School เรื่อง กฎออกเตต

N มีพันธะ 3 พันธะ มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 1 คู่ และ C มี 4 พันธะ และทั้งหมดนี้มีอิเล็กตรอนในการสร้างพันธะ 14 พันธะ และจะได้อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 2 คู่ อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 7 คู่ คำตอบของข้อนี้คือ ตัวเลือกที่ 2

ข้อที่ 5 เป็นเรื่องโมลและสูตรเคมี และปริมาณสารสัมพันธ์

แนวข้อสอบ สอวน เคมี 66 จากคอร์ส สอวน.เคมี Dek-D School เรื่อง โมลและสูตรเคมี

หาจำนวนโมลของ Fe₂O₃ และ SO₂ ได้เป็น Fe₂O₃ = 8/160 = 0.05 โมล ได้จำนวนโมลของ Fe คือ 1 โมล และ SO₂ = 3.36/22.4 = 0.15 โมล ได้จำนวนโมลของ S คือ 0.15 โมล ดังนั้นจะได้สูตรเป็น Fe₁S₁.₅ หรือ Fe₂S₃

ข้อต่อมาเป็นเรื่องความเข้มข้นของสารละลาย

แนวข้อสอบ สอวน เคมี 66 จากคอร์ส สอวน.เคมี Dek-D School เรื่อง สารละลาย

หาจำนวนโมลได้เป็น 0.452/226 = 0.002 ดังนั้นจำนวนโมลของ CO32- และ HCO3 เท่ากับ 0.002 โมล ใช้ HCl รวมทั้งสิ้น 0.006 โมล

HCl 1000 mL : 0.125 โมล เราต้องการ 0.006 โมล ได้เป็น (1000(0.006))/0.125 = 48.0

ข้อนี้เป็นโจทย์คำนวณปริมาณสาร เป็นปริมาณสารสัมพันธ์แบบเต็มๆ เลย

แนวข้อสอบ สอวน เคมี 66 จากคอร์ส สอวน.เคมี Dek-D School เรื่อง การคำนวณปริมาณสาร

โจทย์ถามว่าสลายตัวไปร้อยละเท่าไร แสดงว่าสลายตัวไม่หมด ถ้าสลายไม่หมด หมายความว่า บางส่วนจะกลายเป็น CaO และบางส่วนจะมี CaCO3เหลือ น้ำหนักที่หายไปคือน้ำหนักของ CO2 ที่เป็นแก๊ส และ 3.24 คือน้ำหนักของ CaO รวมกับ CaCO3  คำตอบของข้อนี้คือ 80%

ข้อสุดท้าย ข้อนี้เป็นเรื่องการแพร่ของแก๊ส

แนวข้อสอบ สอวน เคมี 66 จากคอร์ส สอวน.เคมี Dek-D School เรื่อง การแพร่ของแก๊ส

สารประกอบที่อุณหภูมิ 300 เคลวิน ความดัน 0.82 atm และความหนาแน่นเท่ากับ 4.60 จะต้องมีน้ำหนักโมเลกุลเท่ากับ 138 หาได้จากสมการ PM = ρRT ซึ่งเท่ากับน้ำหนักโมเลกุลของ P₂F₄

จาก \(R∝ \frac{1}{\sqrt{M}}\) หมายความว่าถ้ามวลยิ่งน้อยก็จะทำให้แพร่เร็วมากขึ้นดังนั้น สารที่มีน้ำหนักโมเลกุลน้อยที่สุดจึงแพร่ได้เร็วที่สุด ซึ่งก็คือ PF₃

จบไปแล้วทั้ง 8 ข้อ เป็นยังไงบ้างคะ โจทย์น้อยไปไหม ถ้ายังไม่จุใจ ในคอร์สพิชิต สอวน วิชาเคมี ยังมีโจทย์ให้น้องๆ ได้ทำอีกเพียบ มาดูคอร์สเรียนกันเลย

ติวออนไลน์ พิชิตค่าย 1 สอวน เคมี 67

ติวออนไลน์ สอวน เคมี กับ อ.เต้ อาจารย์พิเศษโครงการโอลิมปิกในโรงเรียนชั้นนำ เช่น เตรียมน้อมฯ, สวนกุหลาบและหน่วยงานด้านการศึกษาต่าง ๆ มากกว่า 10 แห่ง และมีประสบการณ์สอนกว่า 20 ปี โดยการสอนให้ผู้เรียนเข้าใจถึงทฤษฎี เหตุผลและที่มาที่ไปของเรื่องต่างๆ ในเคมี ไม่ท่องจำ มีวิธีแก้โจทย์มากกว่า 1 วิธีต่อโจทย์ 1ข้อ ชี้จุดที่นักเรียนชอบเข้าใจผิด ผู้เรียนจะสามารถเชื่อมโยงความรู้ และสามารถประยุกต์ความรู้กับโจทย์ที่ซับซ้อนแบบ สอวน. ได้

โดยคอร์สนี้จะมีอายุคอร์ส 1 ปี สามารถทวนซ้ำกี่รอบก็ได้ สงสัยก็สามารถถาม อ.เต้ ที่ใต้วิดีโอเรียนได้ทันที เมื่อ อ.เต้ ตอบกลับแล้ว ก็จะมีแจ้งเตือนส่งกลับไปหาน้องๆ ไม่พลาดทุกคำตอบ และยังมีหนังสือประกอบการเรียนจาก อ.เต้ เป็นรูปเล่มอย่างดีส่งให้ถึงบ้านอีกด้วย น้องๆ สามารถดูรายละเอียดคอร์สเรียนเพิ่มเติมที่กล่องด้านล่างได้เลย

ทดลองเรียนฟรี พร้อมวิชาฟิสิกส์และคณิตศาสตร์

รีวิวจากรุ่นพี่เด็กค่าย ติว สอวน. กับ อ.เต้ แล้วสอบติดจริง

น้องใบหม่อน เหรียญเงินตัวแทนประเทศ

“พี่เต้สอนแบบเน้นให้เข้าใจค่ะ แล้วก็สอนลึกพอสมควรเลยรู้ว่าทำไมถึงเป็นอย่างนี้ อะไรที่พิสูจน์ได้ก็จะพิสูจน์ให้ดูหมดเลย แล้วก็เรียนแบบค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป ทุกครั้งที่หนูหรือเพื่อนๆ ที่เรียนด้วยกันมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเคมีอินทรีย์ พี่เต้ก็ตอบให้หมดเลยค่ะ ทำให้สามารถประยุกต์กับข้อสอบแบบต่างๆ ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะเรื่องเคมีอินทรีย์”

น้องเป็ดผู้แทนเคมี ศูนย์ MWIT เหรียญทอง TChO ครั้งที่16 ติดโควต้าแพทย์ ศิริราช

“อ.เต้ใส่ใจ แล้วก็เก็บทุกรายละเอียด เก็บทุกพ้อยส์จริงๆ พวกหลักการต่างๆ ที่มาของสูตร อาจารย์ไม่ได้สอนให้เราจำเลย แต่ว่าอ.สอนให้เราเข้าใจแล้วนำไปประยุกต์ใช้ได้”

น้องส้ม เคมีโอลิมปิกระดับชาติถึง สสวท. ค่าย 1 และ สสวท.ค่าย 2

“พอได้เรียนแล้วก็รู้สึกสนุกกับการเรียนเคมีกับ อ.เต้มากๆ เพราะอาจารย์เน้นสอนให้เกิดความเข้าใจ และโจทย์ของอาจารย์ทำให้หนูได้ฝึกคิดอย่างเป็นระบบ เวลาทำโจทย์ อาจารย์จะเว้นให้หนูได้คิด ทำความเข้าใจกับโจทย์ แล้วค่อยๆ guide ไป แต่จะยังไม่บอกคำตอบ ซึ่งทำให้หนูได้คิดอย่างละเอียดถี่ถ้วนจริงๆ”

สอบถามเพิ่มเติม และปรึกษาพี่ๆ Dek-D School ได้เลยที่ Line @schooldekd และติดตามข่าวสารการเตรียมตัวสอบได้ที่ช่องทางต่างๆ ต่อไปนี้