Homeม.ปลายฟิตเพิ่มเกรด-ชีวะเล่าเป็นรูป เข้าใจง่าย จำได้ชัวร์ ! เอนไซม์และการหายใจระดับเซลล์ ปลายภาค ม.4

เล่าเป็นรูป เข้าใจง่าย จำได้ชัวร์ ! เอนไซม์และการหายใจระดับเซลล์ ปลายภาค ม.4

โค้งสุดท้ายของการเตรียมตัวอ่านหนังสือสอบปลายภาคเเล้ว!!! พี่มุกเชื่อว่าน้องๆ คงเคยรู้สึกว่าอ่านไม่ทันเเล้ว!!!!ทำไมมันเยอะเเบบนี้!!! โดยเฉพาะกับวิชาชีวะที่เนื้อหาเยอะมากกกกพี่มุกเคยเเทบอยากเอาหนังสือไปต้มกิน 5555 เเต่!!!! วันนี้พี่มุกมีตัวช่วยที่จะเปลี่ยนจากการท่องจำเเบบเดิมๆ เป็นการเล่าเป็นรูปภาพให้น้องๆ เกิดความคิดเชื่อมโยงในเเต่ละรูปซึ่งเทคนิคนี้เป็นเคล็ดลับในการเรียนที่อ.อุ้ย Dek-D School ฝากมาค่าเเละเรื่องที่พี่มุกจะเล่าเป็นภาพในวันนี้คือ เอนไซม์และการหายใจระดับเซลล์ค่ะไปดูกันเลยจ้า ^^
ก่อนจะไปที่การหายใจระดับเซลล์พี่มุกอยากจะทบทวนเรื่องเอนไซม์ให้น้องๆ กันก่อนไปเริ่มกันเลยจ้า

ชนิดของเอมไซม์

จากรูปนี้จะเห็นว่าอาหารเเต่ละชนิดที่เรากินเข้าไปนั้นใช้เอนไซม์ในการย่อยเเตกต่างกันเเละสารอาหารที่ได้หลังจากเอนไซม์ย่อยเเล้วก็เเตกต่างกัน เเล้วน้องๆ ส่งสัยไหมว่าเเล้วเอนไซม์นั้นทำงานยังไง ? หาคำตอบได้จากรูปถัดไปเลย

หลักการทำงานของเอนไซม์

การทำงานของเอนไซม์นั้นเกิดขึ้นระหว่าง Substrarte กับ Active site โดยเทคนิคการจำของพี่มุกคือ Substrarte เปรียบได้กับกุญเเจ เเละ Active site คือเเม่กุญเเจที่จะทำงานได้ก็ต่อเมื่อเข้าคู่กันได้จึงจะได้ Reaction Products ออกมาค่ะ จบไปเเล้วกับการทบทวนเอนไซม์ต่อไปจะเข้าสู่การหายใจระดับเซลล์ที่เนื้อหาเยอะมากกกเเต่พี่มุกย่อมาให้เข้าใจได้ใน 4 รูปเท่านั้นค่ะ มาดูกันเลย ^^

ขั้นตอนการหายใจระดับเซลล์

การหายใจระดับเซลล์เกิดขึ้นที่ ไมโทคอนเดรีย โดยเเบ่งเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้ค่ะ
1.Glycolysis
2.Krebs cycle
3.Electron Transport

ไกลโคลิซิส Glycolysis

1) ไกลโคลิซิส (Glycolysis)
เป็นกระบวนการแรกในการหายใจระดับเซลล์ เกิดขึ้นที่บริเวณไซโทซอล (ส่วนที่เป็นของกึ่งเหลวในไซโทพลาซึม) โดยมีออกซิเจนหรือไม่มีออกซิเจนก็ได้ ซึ่งสารตั้งต้นเเละสิ่งที่ได้พี่มุกก็ได้สรุปมาให้เเล้วในรูปเลยค่า

2. วัฏจักรเครบส์ ( Krebs Cycle)
ขั้นตอนนี้ก่อนจะเข้าสู่ วัฏจักรเครบส์ ( Krebs Cycle) จะเกิดกระบวนการ ไพรูเวทออกซิเดชัน (Pyruvate oxidation) ซึ่งกรดไพรูวิกจากกระบวนการไกลโคลิซิสจำนวน 2 โมเลกุล จะเข้าสู่เยื่อหุ้มชั้นในของไมโทคอนเดรีย และทำปฏิกิริยากับโคเอนไซม์เอ (Coenzyme A, Co.A) ได้เป็นแอซิทิลโคเอนไซม์เอ (Acetyl Coenzyme A) 2 โมเลกุล NADH 2 โมเลกุล และคาร์บอนไดออกไซด์ 2 โมเลกุลเเล้วจึงเข้าสู่วัฏจักรเครบส์ตามรูปเลยนี้เลยค่า

วัฎจักรเครบส์ (Krebs Cycle)

กระบวนการถ่ายทอดอิเล็กตรอนมีการส่งต่ออิเล็กตรอนแก่ตัวรับที่แทรกอยู่ในเยื่อหุ้มชั้นในของไมโทคอนเดรียและปล่อยพลังงานออกมาใช้ในการเคลื่อนย้ายโปรตอน (H+) ออกไปอยู่ด้านนอกของเยื่อหุ้มชั้นในของไมโทคอนเดรีย

กระบวนการถ่ายทอดอิเล็กตรอน (Electron Transport Chain)

เห็นไหมคะว่าการเชื่อมโยงเเละเข้าใจเป็นภาพนั้นง่ายมากเเละยังทำให้น้องๆ ใช้เวลาในการอ่านหนังสือน้อยลงอีกด้วย

สำหรับน้องๆ คนไหนที่มีข้อสงสัยหรือมีคำถามเพิ่มเติมสามารถเข้ามาพูดคุยเเลกเปลี่ยนกันได้ที่ Facebook Dek-D School หรือ Line @SchoolDekD เเละ Twitter DekDSchool

ส่วนน้องๆ คนไหนที่คิดว่าอ่านไม่ทันเเล้วอยากได้เทคนิคการเตรียมตัวสอบที่เข้าใจง่ายเเละใช้เวลาไม่นาน อย่ารอช้ามาสมัครเรียนคอร์สเก่ง ชีวะม.ปลาย สอนโดย อ.อุ้ย Dek-D School มาเปลี่ยนเทคนิคการเรียนชีวะเเบบท่องจำให้เป็นเรื่องใกล้ตัวเเละเข้าใจไม่ลืมกันนะคะ ^^

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular

Recent Comments