Homeม.ปลายฟิตเพิ่มเกรด-เคมีฟิตเพิ่มเกรด เคมี ม.ปลาย - สมบัติคอลลิเกทีฟ

ฟิตเพิ่มเกรด เคมี ม.ปลาย – สมบัติคอลลิเกทีฟ

สวัสดีค่ะน้องๆ กลับมาเจอกับพี่มุกอีกเเล้วช่วงนี้ประเด็นฮอตฮิตคงหนีไม่พ้นหาเครื่องคิดเลขไม่เจอใช่ไหมคะเเต่เทคนิคที่พี่มุกจะนำมาฝากน้องๆ ในวันนี้ไม่ยากคะไม่ต้องไปหาเครื่องคิดเลขที่ไหนเเค่เข้าใจก็ทำโจทย์ได้เเล้ว ฟิตเพิ่มเกรดวันนี้พี่มุกยังคงมีสูตรเคมี เรื่อง สมบัติคอลลิเกทีฟของสารละลาย มากฝากน้องๆกันเหมือนเดิมเพิ่มเติมคือมีโจทย์มาให้น้องๆ ได้ลองทำกันด้วยถ้าน้องๆ พร้อมเเล้วไปดูโจทย์เเละทบทวนความรู้ไปพร้อมกันเลย ^^

ก่อนจะไปดูสูตรเรามาทบทวนเรื่อง สมบัตคอลลิเกทีฟของสารละลายกันก่อน

สมบัตคอลลิเกทีฟเป็นบทย่อยในเรื่องปริมาณสารสัมพันธ์ใช้หาค่า

  • การเพิ่มขึ้นของจุดเดือด
  • การลดลงของจุดเยือกแข็ง

สูตรหลักๆ ของเรื่องนี้มีเเค่ 4 สูตรเท่านั้นลองไปดูกันเลยว่ามีสูตรอะไรบ้าง

สมบัติคอลิเกทีฟ

เเต่มีเเค่สูตรน้องๆ อาจยังไม่เข้าใจพี่มุกเลยมีโจทย์มาให้ลองฝึกคิดกันดูมาลองทำไปพร้อมกัน

ตัวอย่าง สารละลายที่เกิดจาก C6H12O6  1.90  กรัม  ละลายในน้ำบริสุทธิ์  100  กรัม  สารละลายจะมีจุดเดือดกี่ oC (Kb ของน้ำ = 0.51 oC m-1)

โจทย์ข้อนี้น้องๆ สามารถคำนวณโดยวิธีีเทียบบัญญัติไตรยางค์ได้พี่มุกเลยจะลองใช้วิธีนี้ให้ดูก่อนเปรียบเทียบกับการใช้สูตร

วิธีทำ

โจทย์บอกจำนวนโมลของ  C6H12O6  = 1.90 g   ซึ่งน้องๆ สามารถหา Mw ของ C6H12O = 180

จะได้ n   =  W/M      =  1.8/180      =  0.019   โมล

น้ำบริสุทธิ์  100  กรัม  มี  C6H12O6  ละลายอยู่           0.010       โมล

น้ำบริสุทธิ์  1,000  กรัม  มี  C6H12O6  ละลายอยู่      (1000 x 0.019)/100 = 0.19    โมล

ความเข้มข้นของสารละลาย        =      0.19     โมล/กิโลกรัม

ถ้าสารละลายเข้มข้น 1.0  โมล/กิโลกรัม  จุดเดือดเพิ่มขึ้น  0.51  oC   (ค่า Kb ที่โจทย์ให้มา)

สารละลายเข้มข้น 0.19  โมล/กิโลกรัม  จุดเดือดเพิ่มขึ้น = (0.19 x 0.51)/1 = 0.097   oC

จุดเดือดของสารละลาย =   100 + 0.097    =  100.097  oC

ที่นี้พี่มุกจะมาลองใช้สูตรกัน

                                ΔTb   =  Kbm

ΔTb   =   ผลต่างของจุดเดือด

Kb     =   ค่าคงที่ของการเพิ่มขึ้นของจุดเดือดของตัวทำละลาย

m     =   ความเข้มข้นของสารละลาย (mol/Kg)

=  1,000 x W1 / W2 x M

m1 (มวลตัวถูกละลาย)  =   1.9 g

m2 (มวลตัวทำละลาย) = 100 g

ΔTb   =   Km

ΔTb   =   0.51 x 1,000 x 1.9 /100 x 180

=    0.097  oC

จุดเดือดของสารละลาย = 100 + 0.097  =  100.097  oC

เห็นไหมว่าไม่ยากเลยเเละไม่ว่าจะทำวิธีไหนน้องๆก็ได้คำตอบเหมือนกันเเล้วเเต่ว่าใครถนัดเเบบไหน พี่มุกอยากให้น้องๆ ใช้เวลาช่วงปิดเทอมนี้ทบทวนเนื้อหาก่อนเปิดเรียนไปพร้อมๆ กับหากิจกรรมที่สนใจเเละลองเริ่มลงมือทำดูอยากให้น้องๆ ใช้เวลาช่วงปิดเทอมอย่างคุ้มค่าที่สุดนะคะ

ส่วนน้องๆ คนไหนที่อยากเตรียมความพร้อมก่อนเปิดเทอมสามารถทดลองเรียนเเละดูรายละเอียดการสมัครเรียนได้ที่ เก่งเคมีม.ปลาย หรือ พิชิต TCAS เคมี: ปริมาณสารสัมพันธ์ ปฎิกิริยาเคมี สมดุลเคมี สอนโดยดร.โรจน์ฤทธิ์ โรจนธเนศ (อ.เต้) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โอกาสที่จะได้เรียนกับตัวจริงด้านเคมีแบบนี้มีไม่บ่อยห้ามพลาดนะคะเเละครั้งหน้าพี่มุกจะนำเทคนิคการเรียนเรื่องไหนมาเเชร์กันอย่าลืมติดตามหรือเข้ามาพูดคุยกันได้ที่ Facebook Dek-D School หรือ Line @schooldekd นะคะ ?

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular

Recent Comments