มีน้องๆ คนไหนที่เล็งๆ ไว้ว่าอยากเข้าทันตะฯ บ้าง? วันนี้พี่มีทริคการ เตรียมสอบทันตะฯ จากพี่ขิม รุ่นพี่ #Dek65 ทันตะฯ ม.ธรรมศาสตร์ มาฝาก พี่ขิมใช้เวลาในการเตรียมสอบอย่างจริงจังเพียง 1 ปี ก็สามารถพิชิตคณะในฝันอย่างทันตะฯ ได้ พี่ขิมมีทริคยังไงในการเตรียมสอบทันตะฯ โดยเฉพาะวิชาสายวิทย์อย่างชีวะที่เนื้อหาค่อนข้างเยอะและยังใช้สัดส่วนคะแนนการสอบที่สูงด้วย ไปติดตามได้เลยค่ะ
ก่อนอื่นให้น้องแนะนำตัวก่อนค่ะ
สวัสดีค่ะ ชื่อ สุพิชญ์ชญา สุจิรพงศ์ ชื่อเล่นชื่อ ขิม ค่ะ จบจากโรงเรียนสิรินธร จ.สุรินทร์ ปัจจุบันสอบติดคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ค่ะ
แบ่งปัน Timeline การ เตรียมสอบทันตะฯ
คณะที่เราจะเข้าในที่นี้ คือ คณะทันตแพทยศาสตร์ ต้องใช้คะแนน 9 วิชาสามัญ 70% โดยมีเงื่อนไข คือ ต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 30% ของคะแนนเต็มในแต่ละวิชา และความถนัดแพทย์ 30% ซึ่งเราก็ เตรียมสอบทันตะฯ อย่างจริงจังช่วงปิดเทอมขึ้นม.6 ค่ะ ใช้เวลาในการเก็บเนื้อหาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษก่อนเพราะมีเปอร์เซ็นต์คะแนนที่สูงโดยใช้เวลาประมาณ 6 เดือน เวลาที่เหลือจึงแบ่งมาทำโจทย์แยกบท ข้อสอบเก่าของปีอื่นๆ พร้อมจับเวลา และเริ่มเก็บเนื้อหาความถนัดแพทย์ไปด้วย ส่วนวิชาภาษาไทยและสังคม เราเตรียมตัวช้ามาก เป็นแบบอย่างที่ไม่ควรทำตามคือเพิ่งอ่านก่อนสอบ 1 เดือนค่ะจึงเน้นไปที่การทำข้อสอบเก่าบ่อยๆ แทนค่ะ ช่วงก่อนสอบ 3 เดือน เราลงคอร์สตะลุยโจทย์ไปหลายวิชามากๆ เน้นไปที่การทำโจทย์อย่างเดียวเลยค่ะ ทำให้เยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อฝึกทักษะให้เกิดความชินมือและเห็นมุมมองใหม่ๆ
ทริคสำหรับ #Dek66 ที่ เตรียมสอบทันตะฯ ต้องเริ่มต้นยังไงบ้าง
สำหรับเราเองคิดว่าในการเก็บเนื้อหาแต่ละวิชาให้ครบเป็นเรื่องที่ยากค่ะ โดยเฉพาะในส่วนของการสอบวิชาสามัญที่มีถึง 7 วิชา อย่างที่เราแพลนเอาไว้ว่าจะเก็บเนื้อหาให้จบทุกวิชาตั้งแต่เดือนตุลาคม แต่ในความเป็นจริงคือจบในเดือนธันวาคม ทำให้มีเวลาทำโจทย์ได้น้อยลง แล้วก็บางทีเวลาที่เรียนจบแล้วเราอาจลืมเนื้อหาที่เรียนไปถ้าไม่ได้ทวนบ่อยๆ จึงควรเก็บเนื้อหาให้แม่นยำที่สุดเท่าที่จะทำได้ จากนั้นเริ่มทำข้อสอบอาจจะเริ่มทำจากข้อสอบแยกบทเพื่อดูตัวเองว่ายังมีบทไหนที่ยังไม่แม่นพอ แล้วจึงมาทำข้อสอบของปีเก่าๆ จากนั้นก็เริ่มจับเวลาไปพร้อมด้วย เวลามีสนามสอบให้ทดลองสอบเช่นพวก Dek-D’s Pre-Admission ก็ลองสมัครไปทดสอบตัวเองดู มันจะให้บรรยากาศคล้ายๆ กับในห้องสอบจริงๆ เลย ส่วนถ้ารู้สึกว่าเวลาทำโจทย์แล้วผิดบ่อยจังหรือสะเพร่าจัง เราจะหาโพสอิทหรือสมุดมาจดข้อผิดพลาดค่ะ ประมาณนี้ค่ะ
แม้จะชอบเรียนชีวะและเป็นเด็กค่ายสอวน.ชีวะ แต่ปัญหาของการเรียนชีวะก็คือการลืมเนื้อหา
เราเริ่มสนใจเรียนวิชาชีววิทยาอย่างจริงๆ จังๆ ตอนม.4 ค่ะ ด้วยความชอบส่วนตัว ชีวะเป็นวิชาที่สนุกมาก มีหลากหลายบทที่น่าสนใจ แล้วเนื่องจากว่าเราอยากเข้าค่ายสอวน.ชีววิทยามากๆ ในตอนนั้น จึงเริ่มจากการดูเนื้อหาใหญ่ๆ ว่ามีทั้งหมดกี่บทที่ต้องใช้ในการสอบ ต้องเรียนเนื้อหาอะไรบ้างในแต่ละบท จากนั้นจึงเริ่มซื้อหนังสือมาอ่านค่ะ ที่อยากแนะนำจะเป็นหนังเล่มปลาหมึกที่รู้จักกันดีของอ.อุ้ย หนังสือจะมีเนื้อหาวิชาชีววิทยาครบทุกบทพร้อมทั้งมีภาพประกอบ จากนั้นจะเริ่มทำข้อสอบแยกบท ถ้ายังไม่แม่นในบทไหนก็จะกลับไปทวนบทนั้น แล้วก็เริ่มทำข้อสอบเก่า เราทำทั้งของข้อสอบเก่าวิชาสามัญและของสอวน.เลย เพราะการทำข้อสอบเก่าหลายๆ ปี จะทำให้เรามองภาพได้ชัดขึ้นมากว่าควรเก็บบทไหนเป็นพิเศษ แต่ตอนม.4 เราสอบไม่ติดค่ายสอวน.นะคะ มาติดค่ายตอนอยู่ม.5 แทนเลยได้เรียนเนื้อหาชีววิทยาในค่ายก่อนขึ้นม.6 พอดีค่ะ ทำให้เราได้สรุปเนื้อหาที่เรียนไปด้วย แต่หลังจากจบค่าย เราก็ไม่ได้กลับมาทวนอีกเลย เป็นปัญหาหลักๆ ของการเรียนชีวะที่เราเจอเลย คือจะลืมเนื้อหาบางส่วนไป หรือบางทีก็มองภาพไม่ออก ไม่เข้าใจเนื้อหาเวลาขึ้นบทใหม่ๆ
ถึงเวลาต้องเตรียมตัวสอบ TCAS กลับมาทวนชีวะยังไง
มาเตรียมตัวชีวะอย่างจริงจังตอนม.6 เทอม 2 ค่ะ เริ่มจากเอาสรุปที่เคยจดเอาไว้มาอ่านอีกครั้ง หรือเขียนสรุปใหม่ในบทที่ลืมเนื้อหาไปแล้ว ส่วนช่วงประมาณเดือนธันวาคม เราลงเรียนคอร์สพิชิต TCAS ชีวะ – ตะลุยโจทย์ A-Level เพราะเป็นข้อสอบแนว mock up เกือบ 600 ข้อของสสวท.ด้วย เราลงเรียนเอามาทำเพื่อเช็คความพร้อมของตัวเองอีกทีหลังจากที่ไม่ได้ทวนในหนังสือสสวท.เลย หลังจากเรียนจบเราก็เริ่มทำข้อสอบปีเก่าๆ ของปีล่าสุดวนซ้ำ 1-2 รอบได้ค่ะ ประมาณนี้
เทคนิคพิชิตคะแนนชีวะ 60 UP ต้องทบทวน จดสรุป และวาดภาพประกอบ
เนื่องจากวิชาชีวะเป็นวิชาที่มีเนื้อหาเยอะมากจึงต้องอาศัยการอ่านอยู่บ่อยๆ ค่ะ ในการอ่านวิชาชีวะเราจะเปิดหนังสือหลายๆ เล่มอ่านในหัวเรื่องเดียวกันเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนพร้อมทั้งจดสรุปลงในสมุดไปด้วยภาษาของเราเอง พร้อมทั้งวาดรูปประกอบ การวาดรูปกับวิชาชีววิทยาเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกันมากๆ เพราะทำให้เห็นภาพชัดและจำได้ดีขึ้นด้วย สำคัญมากๆ เลย คือ เราต้องเข้าใจ concept ของบทนั้นๆ ด้วย แล้วก็สิ่งที่สำคัญอีกอย่าง คือ การทำโจทย์ค่ะ การทำโจทย์ที่หลากหลายทำให้เราได้เห็นมุมมองที่หลากหลายมากขึ้นด้วยเหมือนกัน เราจะมีสมุดอีกหนึ่งเล่มเอาไว้จดข้อที่เคยทำผิดพร้อมเฉลยอย่างละเอียดเพื่อเอามาทวนด้วย
รีวิวคอร์สตะลุยโจทย์ A-Level ชีวะ อ.อุ้ย
ส่วนตัวชอบการสอนของอ.อุ้ยตรงที่เรียงบทคล้ายๆ กับหนังสือของตัวอาจารย์เอง มีการเรียงหัวข้ออย่างดี เราสามารถทำโจทย์ไปก่อนได้แล้วค่อยมาเปิดดูเฉลยที่อ.อุ้ยเฉลยไว้ แต่ละข้อเฉลยมาอย่างละเอียด อาจารย์จะสรุปเนื้อหาที่ตรงกับบทนั้นในหัวข้อโจทย์นั้นด้วยการวาดรูปบ้าง หรือบางทีก็เขียนเป็นแผนผังให้มองง่ายขึ้น มีการชี้แนะถึงจุดที่ควรระวัง จุดที่ควรอ่านเป็นพิเศษ ส่วนตัวชอบมาก เรียนแล้วได้ทวนความรู้แทบจะทั้งหมดในระยะเวลาสั้นๆ
ข้อสอบชีวะปี 65 เน้นวิเคราะห์มากขึ้น โจทย์ก็ยาวขึ้น
ข้อสอบชีววิทยาของปี 65 จะเน้นที่วิเคราะห์มากยิ่งขึ้นจากปีก่อนๆ และตัวโจทย์ในแต่ละข้อมีเนื้อหาที่ยาวมาก บางข้อมีรูปภาพและตารางมาประกอบด้วย ทำให้ใช้เวลาไปกับการอ่านโจทย์ค่อนข้างมากค่ะ อยากให้น้องๆ #Dek66 ลองฝึกทำโจทย์พร้อมทั้งจับเวลาไปด้วย โดยโจทย์ที่อยากแนะนำให้ทำ คือ โจทย์เก่าของวิชาสามัญวิชาชีววิทยาค่ะ และถ้ามีเวลาอยากให้ลองทำโจทย์เก่าของสอวน.ชีวะด้วยค่ะ ส่วนตัวว่าข้อสอบสองที่นี้จะมีสไตล์ที่คล้ายๆ กันเลย อย่างเช่นบทพืช บทระบบร่างกายจะมีตาราง กราฟ รูปค่อนข้างเยอะ ต้องมีพื้นฐานที่แม่นยำถึงจะตอบได้
เรียนออนไลน์ก็พิชิตคณะในฝันได้
เนื่องจากช่วงที่เราเรียนนั้นเป็นการเรียนออนไลน์เพราะมีสถานการณ์ของโควิด เราแบ่งเวลาเรียนเป็น 1 วันเราจะอ่าน 2 วิชา เช่น ตอนเช้าเราเรียนคณิตศาสตร์ ตอนบ่ายเราจะเรียนชีววิทยา ประมาณนี้ค่ะ จะเน้นเรียนให้จบเป็นบทๆ เอา ถ้าบทไหนยาวๆ จะแบ่งๆ เรียนตามหัวข้อใหญ่เอาไว้ค่ะ โดยเฉลี่ยแล้วเรียนอยู่ที่ 6-7 ชั่วโมงต่อวัน สำหรับพวกคอร์สตะลุยโจทย์ที่เราลงเรียนไปใช้เวลาเรียน 1 – 2 เดือนขึ้นอยู่กับความขยันในช่วงนั้นค่ะ ถ้ารู้สึกไม่มีสมาธิเวลาเรียนออนไลน์จะหยุดพักสัก 10 นาทีไปหาอะไรทานหรือนอนงีบจะช่วยให้กลับมาเรียนได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นค่ะ
สุดท้ายอยากให้ฝากถึงน้องๆ #Dek66 หน่อยค่ะ
อยากให้น้องๆ #Dek66 ทุกๆ คนที่กำลังเตรียมตัวในการสอบแพทย์ไม่ต้องกดดันตัวเองมาก ใช้ชีวิตกับการเรียนมัธยมให้เต็มที่และมีความสุขกับมันมากๆ การวางแพลนในการอ่านหนังสือสำคัญมากๆ จัดเวลาดีๆจะดีกับเรามากค่ะ แล้วก็ทบทวนเรื่องที่เรียนบ่อยๆ ฝึกทำโจทย์ที่หลากหลาย แม้ช่วงที่เริ่มทำโจทย์อาจจะรู้สึกว่าทำผิดเยอะมากหรือเริ่มต้นไม่ถูก เป็นเรื่องปกติมากๆ แต่เราควรปรับหาวิธีแก้ไข เช่น เปิดเฉลยดูเลย ดูในจุดที่ผิดบ่อยๆแล้วนำมาแก้จะเป็นวิธีที่ช่วยทำให้เรามีความพร้อมมากยิ่งขึ้นเวลาเจอข้อสอบในสนามจริง พักผ่อนให้เพียงพอในคืนก่อนสอบ เป็นกำลังใจให้นะคะ
และสำหรับที่กำลัง เตรียมสอบทันตะฯ อยู่ โดยเฉพาะอยากเก็บคะแนนชีวะให้ได้สูงๆ สามารถนำเทคนิคเด็ดๆ จากพี่ขิมไปใช่ได้เลยนะคะ
สำหรับน้องๆ ที่อยากเพิ่มความมั่นใจในการสอบชีวะสามารถสมัครติวออนไลน์กับ อ.อุ้ย ดร.ศุภณัฐ ไพโรหกุล ได้เลย คอร์สพิชิต TCAS ชีวะ – สรุปเนื้อหา A-Level คอร์สนี้จะสรุปเนื้อหาชีวะ ม.ปลาย 3 ปี ใน 200 คอนเช็ปต์ ตามหลักสูตรใหม่ สสวท. เน้นเฉพาะเนื้อหาที่ออกสอบ จบใน 27 ชั่วโมง เนื้อหาอธิบายละเอียด กระชับ มีภาพประกอบ ตาราง และแผนผังต่างๆ ทำให้เข้าใจได้ง่าย พร้อมสรุปเป็นคอนเซ็ปต์สั้นๆ จบได้ภายใน 10 นาที
นอกจากนี้ยังมี คอร์สพิชิต TCAS ชีวะ – ตะลุยโจทย์ A-Level ตะลุยโจทย์ คอร์สนี้นอกจากน้องๆ จะได้ตะลุยโจทย์ชีวะ แนวข้อสอบออกใหม่ 625 ข้อแล้ว อ.อุ้ยยังเฉลยละเอียดจัดเต็ม ไม่มีข้าม เพื่อให้น้องๆ ได้ทบทวน เรียนรู้เทคนิคการทำโจทย์แบบต่างๆ และฝึกทำข้อสอบก่อนลงสนามจริงด้วย
ทุกๆ คอร์สที่น้องๆ ติวออนไลน์กับ Dek-D School สามารถทวนซ้ำได้ไม่จำกัดชั่วโมงตลอด 6 เดือน พร้อมรับหนังสือประกอบการเรียนที่ อ.อุ้ยเขียนส่งตรงถึงบ้านฟรี! ที่สำคัญที่สุดแม้ว่าจะเป็นการเรียนออนไลน์ แต่น้องๆ สามารถสอบถามข้อสงสัยกับ อ.อุ้ยใต้คลิปที่กำลังเรียนอยู่ได้ โดยจะได้รับแจ้งเตือนเมื่อมีการตอบกลับ
น้องๆ ที่สนใจอยากติวออนไลน์กับ Dek-D School สามารถปรึกษาพี่ๆ เพิ่มเติมได้ที่ Line @SchoolDekD หรือ ติดตามข้อมูลข่าวสาร และเทคนิคการติวต่างๆ เพิ่มเติม ได้ที่ Facebook Dek-D School เลยนะคะ