Home TCAS ทริคการจำ จำไม่ลืม ชีววิทยา ม.ปลาย การตอบสนองของพืช แบบ Tropism และ Nastism

ทริคการจำ จำไม่ลืม ชีววิทยา ม.ปลาย การตอบสนองของพืช แบบ Tropism และ Nastism

0
4321

ทริคการจำ จำไม่ลืมวันนี้บอกเลยว่าใครพอมีพื้นฐานภาษาอังกฤษอยู่บ้าง หลังอ่านบทความนี้จบรับรองว่าสามารถจำเรื่อง การตอบสนองของพืช แบบ Tropism และ Nastism ในวิชาชีววิทยาได้ขึ้นใจอย่างแน่นอน

ขั้นตอนการตอบสนองของพืชต่อสิ่งเร้า

ขั้นตอนการตอบสนองของพืชต่อสิ่งเร้ามี 3 ขั้นตอนหลัก ๆ ได้แก่

  1. ขั้นตอนการรับสัญญาณ (reception)
  2. ขั้นตอนการส่งสัญญาณ (transduction)
  3. ขั้นตอนการตอบสนอง (response)

โดยในระดับม.ปลายจะเน้นในส่วนของขั้นตอนการตอบสนองเป็นหลัก ซึ่งการตอบสนองของพืชมี 2 แบบ คือ Tropism และ Nastism

Tropism

เป็นการตอบสนองของพืชต่อสิ่งเร้าแบบ มีทิศทาง โดยสิ่งเร้ามีรูปแบบแตกต่างกัน ดังนี้

การตอบสนองของพืชต่อสิ่งเร้าแบบมีทิศทาง Phototropism
  • Phototropism (photo คือ แสง) เช่น ยอดพืชโค้งเข้าหาแสง รากพืชหนีแสง
  • Thigmotropism (thigmo คือ สัมผัส) เช่น ตำลึงเลื้อยหลักเสา
  • Chemotropism (chemo คือ สารเคมี) เช่น หลอดเรณูงอกเข้าหาออวุล
  • Hydrotropism (hydro คือ น้ำ) เช่น รากพืชเคลื่อนที่เข้าหาแหล่งน้ำ

Nastism

เป็นการตอบสนองของพืชต่อสิ่งเร้าแบบไม่มีทิศทาง โดยสิ่งเร้ามีรูปแบบแตกต่างกัน ดังนี้

การตอบสนองของพืชต่อสิ่งเร้าแบบไม่มีทิศทาง thigmonasty
  • Photonasty (photo คือ แสง) เช่น ดอกบัวบานตอนเช้า
  • Thigmonasty (thigmo คือ สัมผัส) เช่น ไมยราพหุบใบเมื่อถูกสัมผัส
  • Thermonasty (thermo คือ อุณหภูมิ) เช่น ดอกทิวลิปบานตอนฤดูใบไม้ผลิ

สรุป Tropism คือ มีทิศทางต่อสิ่งเร้า ส่วน Nastism คือ ไม่มีทิศทาง !!  ให้สังเกต prefix นำหน้าบ่งบอกถึงชนิดของสิ่งเร้า เช่น photo-, hydro- และ chemo- เอาไว้ดี ๆ

ติวออนไลน์ชีววิทยา สอบ A-Level และเพิ่มเกรด ม.ปลาย

เน้นเข้าใจ และเห็นภาพจริง ด้วยเทคนิคเข้าใจชีวะให้เป็นเรื่องราว เป็นเหตุเป็นผล พร้อมภาพประกอบ กับ ดร.ศุภณัฐ ไพโรหกุล ผู้แต่งหนังสือชีววิทยายอดนิยมอย่างปกปู และปกปลาหมึกที่น้อง ๆ รู้จักกันดี จะเลือกติวทั้งที ต้องติวกับอาจารย์ตัวจริงด้านชีววิทยาที่ Dek-D คัดมาแล้ว

ดูรายละเอียดคอร์สและทดลองเรียน

วางแผนติวออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพกับทีมพี่โค้ช Dek-D School ได้ที่ Line @schooldekd