กลับมาพบกับพี่มุกอีกเหมือนเดิมนะคะ (อย่าเพิ่งเบื่อกันน้า ^^ ) เพราะวันนี้พี่มุกก็ยังคงมีเทคนิคดีๆ ในการทำข้อสอบมาฝากน้องๆ กันเหมือนเดิมค่า พี่มุกเชื่อว่าน้องๆ คงเคยสงสัยว่าคนที่ทำคะแนนกันได้เยอะๆ นั้นต้องเก่งขนาดไหน? พี่มุกก็เคยสงสัยนะคะจนพอลองฝึกทำโจทย์เยอะๆ บ่อยๆ จึงพบว่า ความเฉลียวหรือการตั้งคำถาม ระหว่างการทำโจทย์คือสิ่งสำคัญเช่นกันค่ะ เพราะทุกครั้งที่อ่านโจทย์พี่มุกจะตั้งคำถามกลับเสมอว่า โจทย์ให้อะไรมา โจทย์อยากรู้อะไร และข้อมูลที่มีอันไหนจำเป็นไม่จำเป็น การคิดแบบนี้จะทำให้น้องๆ ฝึกวิเคราะห์โจทย์ได้แบบไม่โดนข้อสอบหลอกค่ะ
ในวันนี้พี่มุกเลยจะมายกตัวอย่างในการทำข้อสอบ PAT2 เคมี จากข้อสอบ Dek-D’s Pre-admission63 ที่ผ่านมาเพราะพี่มุกแอบเห็นในทวิตเตอร์ที่น้องๆ บอกว่ายาก ทำไม่ได้ อ่านโจทย์แล้วไม่รู้จะเริ่มตรงไหน ถ้าใครที่กำลังรู้สึกแบบนี้อยู่บอกเลยค่ะว่า อ่านบทความนี้จบน้องๆ จะรู้สึกว่า เคมีง่ายแค่นี้เองเหรอ !!! แต่อย่าเพิ่งเชื่อพี่มุกลองไปดูโจทย์ข้อแรกกันเลยค่า
ข้อนี้จะเห็นว่าโจทย์ให้สมการเคมีมาซึ่งพี่มุกบอกเลยว่าร้อยละ 80 ที่โจทย์ให้สมการมานั้นสำคัญ !!! ซึ่งข้อนี้สิ่งที่น้องๆ ควรเริ่มทำก่อนเป็นอันดับแรกคือ การรวมและดุลสมการ ให้เรียบร้อยก่อนค่ะ ลองไปดูแนวคิดการรวมสมการและดุลสมการของข้อนี้กันเลยค่ะ
จะเห็นว่านอกจาก การรวมสมการและดุลสมการเเล้ว ข้อนี้ที่สำคัญอีกอย่างนึงที่โจทย์หลอกน้องๆ คือ หน่วย !!!!! จะเห็นว่าโจทย์ให้ SO2 เกิดได้ 3 ตัน แต่!!!! คำตอบสุดท้ายต้องการคำตอบเป็น หน่วย กิโลกรัม !!!! ดังนั้นต้องเปลี่ยนหน่วยจาก ตัน –> กรัม (เพื่อใช้คำนวณ Unit factor) –> กรัม ในคำตอบสุดท้าย !!! ซึ่งน้องๆ บางคนอาจสงสัยว่าแล้วที่โจทย์บอกว่า ต้องให้ได้กรดซัลฟิวริกมากที่สุดและเข้มข้นที่สุดนั้นไม่สำคัญไม่ต้องเอามาคิดเหรอ ? บอกเลยว่าไม่ต้องจ้า !!! ไม่มีผลต่อการคำนวณใดๆ ทั้งสิ้นเพราะเราใช้วิธีการ Unit factor ก็ได้คำตอบแล้วไม่ซับซ้อนแค่อย่าลืมเปลี่ยนหน่วย !!
ไปข้อต่อไปกันเลยจ้า !!!
ข้อนี้เป็นเรื่อง แก๊ส ซึ่งบอกเลยว่าเรื่องนี้ง่ายมากแจกคะแนนกันไปเลยเเค่น้องๆ ต้องไม่ลืมว่าสิ่งที่ต้องระวังและข้อสอบชอบหลอกในเรื่อง แก๊ส คือ หน่วย !!! ลองไปดูการวิเคราะห์โจทย์เรื่องนี้กัน
อย่าลืมว่าสิ่งสำคัญของและจุดที่โจทย์ชอบหลอกในเรื่อง แก๊ส คือ หน่วย !!!! ซึ่ง อุณหภูมิ (T) หน่วยต้องเป็น เคลวิน (K) เท่านั้น !!!! กับจุดที่ต้องระวังอีกจุดหนึ่งคือ โจทย์บอกว่าปริมาตรของลูกสูบลดลงร้อยละ 25 โดยปริมาตรเท่ากับ (100-25) / 100 = 0.75 เห็นไหมว่าผ่านไป 2 ข้อแล้วไม่ยากเลยมาถึงข้อสุดท้ายแล้วรีบไปดูกันดีกว่า
ข้อนี้มีสมการอีกแล้วบอกเลยว่ามีสมการมาแบบนี้ได้ใช้แน่นอนจ้า !!!! โดยข้อนี้เป็นเรื่องปริมาณสารสัมพันธ์ที่สามารถทำได้ใน 3 บรรทัดง่ายมากบอกเลย
ซึ่งพี่มุกมีหลักการในการใช้สมการ 3 บรรทัดคำนวณมาให้น้องๆ ได้ทบทวนกันด้วยไปดูกันเลยค่า ^^
จบไปเเล้วกับเทคนิคการทำข้อสอบที่ชี้จุดที่ข้อสอบหลอกให้น้องๆ ดูกันที่ละจุดที่ละข้อกันเลยที่เดียว ซึ่งพี่มุกหวังว่าบทความในวันนี้จะช่วยให้น้องๆ ฝึกทำโจทย์ได้อย่างรวดเร็วและทำเพิ่มคะแนนในการทำข้อสอบได้มากขึ้น และสำหรับน้องๆ คนไหนที่มีข้อสงสัยหรือมีคำถามเพิ่มเติมสามารถเข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยนกันได้ที่ Facebook Dek-D’s School หรือ Line @SchoolDekD และ Twitter @DekDSchool
ส่วนน้องๆ ที่รู้สึกว่าพื้นฐานยังไม่แน่นอยากได้เทคนิคการทำโจทย์หรืออยากได้โจทย์เพิ่มเติม ก็สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครเรียนได้ที่คอร์ส พิชิต TCAS เคมีครบทุกบท และ พิชิต TCAS เคมี แบบรายบท สอนโดยดร.โรจน์ฤทธิ์ โรจนธเนศ (อ.เต้) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โอกาสที่จะได้เรียนกับตัวจริงด้านเคมีแบบนี้มีไม่บ่อยห้ามพลาดนะคะ และครั้งหน้าพี่มุกจะมาแชร์เทคนิคการเรียนเรื่องไหนรอติดตามกันน้า