อีกไม่นานก็จะถึงวันสอบ A-Level เคมีแล้ว น้องๆ #Dek66 เตรียมตัวพร้อมแล้วหรือยัง วันนี้พี่ๆ Dek-D School ก็มีเฉลย แนวข้อสอบ A-Level เคมี มาฝากน้องๆ ซึ่งเป็นตัวอย่างโจทย์วัดคอนเช็ปต์และโจทย์ประยุกต์ และเป็นโจทย์จากแนวข้อสอบปีล่าสุด ปีก่อนหน้า และจากคอร์สพิชิต TCAS เคมี พร้อมเฉลยโจทย์แบบละเอียด
ข้อสอบ A-Level เคมี มีจำนวนข้อ 35 ข้อ แบ่งเป็นปรนัย 30 ข้อ และอัตนัยระบายคำตอบอีก 5 ข้อ มีเวลาทำข้อสอบทั้งหมด 90 นาที แสดงว่าน้องๆ จะมีเวลาทำข้อสอบข้อละไม่ถึง 3 นาที และด้วยความที่เป็นโจทย์วิเคราะห์ ดังนั้นน้องๆ จะต้องแม่นเนื้อหาและทำโจทย์ได้เร็วในระดับนึงเลย ถึงจะทำข้อสอบได้ทัน ถ้าน้องๆ พร้อมแล้วมาดูเฉลย แนวข้อสอบ A-Level เคมี กันเลย
กรดซิทริกมีโครงสร้างเป็นสารอินทรีย์ที่มีคาร์บอกซิลิก 3 ตำแหน่ง ดังนั้นกรดซิทริกก็จะแตกตัวได้ 3 ครั้ง จากโจทย์เราไทเทรตจากกรดไปเบส เวลาไทเทรตเราเริ่มจากกรด แล้วค่อยๆ เติม NaOH ขึ้นไป pH ก็จะขึ้นไปเรื่อยๆ โจทย์ถามว่าอินดิเคเตอร์ที่เหมาะสมควรมีค่า pKin เท่ากับเท่าไร
จากกราฟ pH ณ จุดสมมูลเท่ากับ 9 (จากรูปจะใช้วิธีวาดเส้นสัมผัสมา 2 เส้น แล้วดูจุดกึ่งกลางที่ตัดกับกราฟ หรือน้องๆ ที่ดูกราฟไปตรงๆ เลยก็ได้เหมือนกัน ว่าจุดไหนเป็นจุดที่ตัดกราฟพอดี) ดังนั้นเราจึงควรเลือกอินดิเคเตอร์ที่เปลี่ยนสีที่ 9 การเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์เปลี่ยนเป็นช่วงๆ จะเปลี่ยนสีที่ -1 กับ +1 สมมติว่าสารอินดิเคเตอร์ในกรดเป็นสีแดง ในเบสเป็นสีน้ำเงิน เพราะฉะนั้นก็จะเปลี่ยนสีกลายเป็นสีเขียวตรงกลาง เวลาที่เราไทเทรตถ้าเปลี่ยนจากแดงเป็นเขียวเราจะหยุดทันที ดังนั้นเราควรให้เปลี่ยนสีที่ 9 และจุด pKin จะเป็น 10
CO₂ เป็นกรดตามทฤษฎีของ Arrhenius ทฤษฎีของ Brønsted และ Lowry จะดูปฏิกิริยาเป็นหลัก ใครให้ใครรับ H⁺
ข้อนี้ใช้ความรู้เรื่องการใช้อุปกรณ์การทดลอง การไทเทรต ปฏิกิริยารีดอกซ์
อุปกรณ์ในการไทเทรตจะมีบิวเรตต์อยู่ด้านบนและด้านล่างเป็นขวดรูปกรวย ซึ่งจะต้องปิเปตต์เข้ามา ซึ่งจากโจทย์ให้ C₂O₄²⁻ กับ HCl อยู่ในขวดรูปกรวย ดังนั้นในบิวเรตต์ต้องหยด MnO₄⁻ ลงไป ส่วน C₂O₄²⁻ ต้องตวงเข้ามาด้วยปิเปตต์ และกรดสามารถเติมด้วยกระบอกตวงได้ เพราะใช้ในปริมาณที่มากเกินพอก็พอแล้ว เพราะเราต้องการปริมาณของสาร 2 ชนิดนี้
ชะสารละลายในการไทเทรตมันเขย่าไปเรื่อยๆ พอตัวสารละลายเกินการเขย่ามันก็จะกระเด็นขึ้นมาติดอยู่ข้างๆ ขวด ดังนั้นเราสามารถชะลงไปได้ เพราะเป็นการทำปฏิกิริยาระหว่างโมเลกุล ถ้าโมเลกุลยังเท่าเดิมอยู่ ก็จะไม่ผิด
การหยด MnO₄⁻ ซึ่งเป็นสีม่วงลงไปด้านล่างจะทำให้ถูก C₂O₄²⁻ ทำลายทิ้ง แล้วสีม่วงก็จะหายไปแล้วถ้าหยดไปเรื่อยๆ สีม่วงก็จะถูกทำลายไปเรื่อยๆ จนกระทั่ง C₂O₄²⁻ หมด ทันทีที่ C₂O₄²⁻ หมด เราจะเห็นสีม่วงอ่อนๆ ของ MnO₄⁻ เกิดขึ้นมา ดังนั้นการไทเทรตจะเปลี่ยนจากสารละลายไม่มีสี เป็นสารละลายสีม่วงอ่อน เราจะหยุดการไทเทรตเมื่อเราเห็นสีม่วงอ่อนของ MnO₄⁻
โจทย์การหาร้อยละ เป็นโจทย์ที่คำนวณง่าย แต่น้องๆ อาจจะสับสนได้ น้องๆ ต้องฝึกทำโจทย์ไว้ให้คล่อง จะได้ไม่โดนโจทย์หลอก ข้อนี้เป็นสารละลายที่มีความเข้มข้น 2 หน่วยไม่เหมือนกัน แล้วเอามาผสมกัน
ดูโจทย์เสร็จแล้วเป็นยังไงบ้างคะ ยากไหม ถ้าน้องๆ ยังทำโจทย์พวกนี้ไม่ได้ ต้องฟิตเพิ่มด่วนๆ แล้วนะ น้องๆ สามารถอ่านวิเคราะห์ข้อสอบเคมีของปี 65 ทั้ง PAT2 และวิชาสามัญได้เลยที่ > คลิก น้องๆ จะได้เห็นภาพรวมของข้อสอบว่าข้อสอบออกยังไงบ้าง ยากง่ายแค่ไหน
สำหรับน้องๆ ที่ยังไม่แม่นเนื้อหา ฟิตความพร้อมก่อนสอบด้วยคอร์สพิชิต TCAS เคมี A-Level สรุปเนื้อหาเคมี ม.ปลาย 3 ปี ครบถ้วน ตรงตามหลักสูตรล่าสุด สสวท. ตัวอย่างโจทย์จัดเต็มกว่า 420 ข้อ เทคนิคการทำโจทย์แบบเข้าใจจริง เน้นย้ำจุดที่พลาดได้บ่อยๆ พร้อมอัปเดตแนวข้อสอบปี 65 ถ้าน้องๆ สนใจลองคลิกดูรายละเอียดคอร์สที่รูปด้านล่างก่อนได้เลย
ทดลองเรียนฟรี TCAS ทั้ง 7 วิชาได้เลยที่คอร์สนี้
สอบถามเพิ่มเติมได้เลยที่ Line @schooldekd และติดตามข่าวสารการเตรียมตัวสอบได้ที่ช่องทางต่างๆ ต่อไปนี้ คลิกเลย