Home TCAS เทคนิคจำ!! หลักการและกลไก การเปิดปิดปากใบ

เทคนิคจำ!! หลักการและกลไก การเปิดปิดปากใบ

0
3317
เทคนิคจำ!! หลักการและกลไก การเปิดปิดปากใบ

การเปิดปิดปากใบ (stomatal opening) ปากใบของพืชจะเปิดได้ต้องมีแรงตันเต่งอยู่ภายในเซลล์คุม !!

Shorttrick เทคนิคจำ!! หลักการและกลไก การเปิดปิดปากใบ

ขั้นตอนการเปิดปากใบ

  1. แสงสีน้ำเงิน (blue light) ทำให้เกิดการปั๊ม K+ เข้าสู่เซลล์คุม
  2. K+ ทำให้ความเข้มข้นในเซลล์คุมเพิ่มขึ้น
  3. น้ำจากเซลล์ข้างเคียงออสโมซิสเข้ามาในเซลล์คุม
  4. เซลล์คุมเกิดแรงดันเต่ง ปากใบจึงเปิดออก
  5. เมื่อไม่มีแสง ทำให้ K+ ออกจากเซลล์คุม น้ำจึงออกจากเซลล์คุม ทำให้ปากใบสูญเสียแรงดันเต่ง ปากใบจึงปิด

สรุป

แสงสีน้ำเงิน → K+ เข้าเซลล์คุม → น้ำเข้าเซลล์คุม → เซลล์คุมมีแรงดันเต่ง → ปากใบเปิด !!

วัตถุประสงค์ของการเปิดปากใบ

  • ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนแก๊ส CO2 เพื่อใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง
  • ทำให้เกิดการคายน้ำ (transpiration) ทำให้เกิดแรงดึงจากการคายน้ำ ใช้ลำเลียงน้ำ และทำให้เกิดการคายความร้อนของพืช

ในคอร์สพิชิต TCAS ชีวะ – สรุปเนื้อหา A-Level ยังมีทริคแบบนี้ให้น้องๆ อีกเพียบ ภายในคอร์สจะสรุปใน 200 คอนเช็ปต์ เน้นเฉพาะเนื้อหาที่ออกสอบ จบใน 27 ชั่วโมง พร้อมหนังสือประกอบการเรียน มีภาพประกอบช่วยให้เข้าใจง่ายมากขึ้น ใช้ทบทวนสั้นๆ โค้งสุดท้ายก่อนสอบ สนใจคอร์สเรียนคลิกดูรายละเอียดและทดลองเรียนก่อนที่กล่องด้านล่างได้เลย

และคอร์สพิชิต TCAS ชีวะ – ตะลุยโจทย์ A-Level วัดความเข้าใจเนื้อหา เพิ่มความแม่นยำก่อนสอบ ตะลุยโจทย์แบบจัดเต็ม 625 ข้อ โจทย์อัปเดตตามแนวข้อสอบแบบใหม่ สสวท. รวมทั้งโจทย์แนวเลือกตอบเชิงซ้อนที่ออกสอบ A-Level ที่กำลังจะถึงนี้ด้วย สนใจคอร์สเรียนคลิกดูรายละเอียดและทดลองเรียนก่อนที่กล่องด้านล่างได้เลย

ทดลองเรียนฟรี เนื้อหาจากคอร์สพิชิต TCAS สรุปเนื้อหา A-Level

สอบถามเพิ่มเติมได้เลยที่ Line @schooldekd และติดตามข่าวสารการเตรียมตัวสอบได้ที่ช่องทางต่างๆ ต่อไปนี้ คลิกเลย