สวัสดีค่ะ น้องๆ สายหมอที่กำลังเตรียมตัวเข้าคณะแพทยฯ ทันตะฯ สัตวฯ เภสัชฯ เตรียมตัวกันไปถึงไหนแล้วคะ ในช่วงที่ผ่านมาพี่ได้ติดตามข่าว TCAS64 โดยการสอบในปีนี้มีหลายประเด็นที่แตกต่างจากปีที่แล้ว น้องๆ สามารถไปอ่าน สรุป TCAS64 เพิ่มเติมได้ ส่วนในบทความนี้พี่จะมาสรุปประเด็นสำคัญสำหรับน้องๆ สายหมอให้พร้อมรับมือกับ TCAS64 วางแผนอ่านให้ตรงจุด ในช่วง 6 เดือนสุดท้ายกัน
ยื่นคะแนน TCAS รอบไหนได้บ้าง?
ในปีนี้ TCAS64 แบ่งเป็น 4 รอบ ได้แก่ รอบ Portfolio, รอบโควตา, รอบ Admission และรอบรับตรงอิสระ ซึ่งคณะแพทยฯ ทันตะฯ สัตวฯ เภสัชฯ ก็มีให้ยื่นทั้ง 4 รอบเลย ขึ้นอยู่กับแต่ละคณะและมหาวิทยาลัย แต่โดยหลักๆ แล้วมักจะรับเยอะที่สุดในรอบ 3
- TCAS รอบ 1 : Portfolio
- รอบนี้ต้องใช้ Portfolio ผลคะแนนทางภาษา, คะแนน BMAT, ผลการเรียน (GPA/GPAX) , ผลงานที่กำหนด (เช่น ผ่านโครงการโอลิมปิกวิชาการและได้รับเหรียญระดับนานาชาติ) ความสามารถทางวิชาการ และมีสอบสัมภาษณ์ด้วย
- เหมาะสำหรับน้องๆ ที่ชอบทำกิจกรรม มีผลงานโดเด่นชัดเจน
- TCAS รอบ 2 : โควตา
- รอบนี้ส่วนใหญ่จะเป็นโควตาโครงการแพทย์ชนบทและโอลิมปิกวิชาการ ใช้คะแนนสอบส่วนกลาง (ความถนัดแพทย์, O-NET และวิชาสามัญ) ผลการเรียนสะสม (GPAX) ส่วนการสอบสัมภาษณ์จะขึ้นอยู่กับแต่ละมหาวิทยาลัย
- เหมาะสำหรับน้องๆ ที่มีความสามารถพิเศษ มีการแข่งขันทางวิชาการ หรืออื่นๆ ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด และได้รับสิทธิพิเศษจากโควตาต่างๆ ของมหาวิทยาลัย
- TCAS รอบ 3 : Admission1 และ Admission 2
- รอบนี้เปิดรับสมัครมากที่สุด และใช้คะแนนการสอบจากส่วนกลาง (วิชาสามัญ, ความถนัดแพทย์ และ O-NET)
- เหมาะกับคนที่ถนัดเตรียมตัวกับการสอบ เพราะใช้คะแนนสอบเป็นหลัก ด้วยความที่รอบนี้รับเยอะกว่ารอบอื่นๆ ทำให้มีการแข่งขันสูง น้องๆ ที่ตัดสินใจแล้วว่าจะยื่นคะแนนในรอบนี้ควรรีบเตรียมตัวด่วน!
- TCAS รอบ 4 : รับตรงอิสระ
- เป็นรอบที่มหาวิทยาลัยกำหนดเกณฑ์อย่างอิสระ มักจะมีเกณฑ์การคัดเลือกแตกต่างกันไป โดยรอบนี้ถือว่าเป็นรอบสุดท้ายแล้ว จำนวนคณะและมหาวิทยาลัยที่เปิดรับก็มีน้อยด้วย
แต่ละรอบก็มีระเบียบการต่างกัน น้องๆ ต้องเช็คให้ดีว่าตัวเองมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์รึป่าว ถ้าคุณสมบัติพร้อม ก็มาดูปฏิทิน TCAS64 กันเลย จะได้เตรียมตัวให้พร้อมก่อนใคร
TCAS64 ปีนี้สอบเมื่อไหร่?
กำหนดการสอบ TCAS64 ออกมาแล้ว สำหรับน้องๆ ที่ใช้คะแนนการสอบจากส่วนกลาง มาดูกันเลยว่าสอบเมื่อไหร่ เหลือเวลาเตรียมตัวอีกนานแค่ไหน จะอ่านทันไหม อ่านทันรึป่าวนะ
อยากติดหมอโฟกัส กสพท เลย
น้องๆ ที่อยากเข้าหมอสามารถเลือกยื่นคะแนน TCAS ได้ทั้ง 4 รอบ แต่น้องๆ ส่วนใหญ่โฟกัสที่รอบ 3 เพราะว่าเป็นรอบหลักที่มีการรับสมัครมากที่สุด ใช้คะแนนจากการสอบส่วนกลาง และไม่ได้มีหลักเกณฑ์เรื่องคุณสมบัติพิเศษ รอบนี้เลยขึ้นอยู่กับความพร้อมและการเตรียมตัวในการสอบเป็นหลักเลย ใครพร้อมกว่าก็มีโอกาสเข้าคณะในฝันมากกว่าคนอื่นๆ งั้นมาเริ่มฟิตตอนนี้กันก่อนที่จะสายเกินไป
“ใครพร้อมกว่าก็มีโอกาสเข้าคณะในฝันมากกว่า”
ก่อนอื่นต้องรู้ว่าถ้าจะยื่น กสพท ต้องใช้คะแนน 3 ส่วน ได้แก่ คะแนนความถนัดแพทย์ วิชาสามัญ และ O-NET
- คะแนนวิชาเฉพาะแพทย์ หรือ ความถนัดแพทย์ ใช้สัดส่วน 30% มี 3 พาร์ท คือ เชาว์ปัญญา จริยธรรมแพทย์ และเชื่อมโยงความเป็นเหตุเป็นผล
- คะแนนวิชาสามัญ ใช้สัดส่วน 70 % แบ่งเป็น 7 วิชา คือ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา (รวม 40%) คณิต (20%) อังกฤษ (20%) ไทย (10%) และ สังคม (10%) โดยคะแนนแต่ละวิชาต้องได้ไม่น้อยกว่า 30% ของคะแนนเต็ม
- คะแนน O-NET (วิทย์, คณิต, อังกฤษ, ไทย และสังคม) จะไม่คิดเป็นสัดส่วนคะแนน แต่ใช้เป็นเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำ รวมกันต้องได้อย่างน้อย 60% หรือ 300 คะแนน
อ่านยังไงให้พร้อมสอบ กสพท
มาดูกันว่าข้อสอบแต่ละสนามสอบออกอะไรบ้าง ควรเน้นเรื่องอะไร จุดไหนที่ต้องระวังไม่ให้พลาดคะแนนไปง่ายๆ งั้นมาเริ่มกันที่ข้อสอบความถนัดแพทย์ หรือวิชาเฉพาะแพทย์กันเลย
ความถนัดแพทย์
พาร์ทเชาว์ปัญญา : ข้อสอบจะออกแนวเดิม แนะนำให้ซื้อหนังสือมาอ่านและฝึกทำโจทย์เยอะๆ
- เชาว์ปัญญาคณิตศาสตร์ จะเป็นคณิตที่ไม่ยากมากแต่ให้เวลาน้อย ถ้าข้อไหนไม่ได้ให้ข้ามไปก่อนเลย ข้อสอบจะเน้นไปที่เรื่องมิติสัมพันธ์ (เช่น หารูปที่หายไปหรือรูปถัดไป อุปมาอุปไมเชิงรูป) เชาว์ปัญญา (เช่น วิเคราะห์เงื่อนไข วิเคราะห์ความเพียงพอของข้อมูล) และคณิตศาสตร์พื้นฐาน (เช่น ร้อยละ อัตราส่วน, พื้นที่และปริมาตร, โจทย์ปัญหาสมการเงื่อนไข)
- เชาว์ภาษาไทย เก็บคะแนนได้ง่ายกว่าพาร์ทแรก ข้อสอบจะเน้นวิเคราะห์บทความ เช่น อ่านจับใจความ อนุมานข้อมูล เจตนาของผู้แต่ง
พาร์ทจริยธรรมแพทย์ : ข้อสอบจะยกกรณีหรือสถานการณ์ต่างๆ โดยเน้นสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน และให้ตัดสินใจว่าถ้าน้องๆ อยู่ในสถานการณ์นั้นๆ จะทำยังไง โดยคำตอบของแต่ละข้ออาจมีมากกว่า 1 และคะแนนแต่ละตัวเลือกจะลดหลั่นกันไป แนะนำว่าพาร์ทนี้ให้น้องๆ ตอบโดยดูบริบทของคำถามดีๆ หาสาเหตุของปัญหาและหาวิธีแก้ไขที่ต้องช่วยคนอื่นได้และไม่เกิดผลเสียต่อตัวเองด้วย
พาร์ทเชื่อมโยงความเป็นเหตุเป็นผล : ข้อสอบส่วนนี้จะคล้ายกับข้อสอบ GAT เชื่อมโยง แต่มีความยากและซับซ้อนกว่า เพราะไม่มีตัวหนามาให้และข้อความในบทความก็ไม่เหมือนกับข้อความที่กำหนดมาให้ด้วย แต่ถือว่าเป็นพาร์ทที่สามารถเก็บคะแนนได้มากที่สุด แต่ขอย้ำว่าถ้าไม่รู้ห้ามเดา เพราะถ้าตอบผิดจะโดนหักคะแนนไปเลย แนะนำให้ฝึกทำเยอะๆ ตอนสอบก็อ่านบทความดีๆ ด้วยนะ
ข้อสอบแต่ละพาร์ทเน้นการฝึกฝนและทำโจทย์เยอะๆ วันนี้พี่เลยมีหนังสือความถนัดแพทย์ที่รุ่นพี่แนะนำมาฝาก ชอบเล่มไหนจัดเลยค่ะ
- เตรียมสอบความถนัดแพทย์ : เล่มนี้จะมีสรุปเนื้อหา แบบฝึกหัดพร้อมเฉลยครบทั้ง 3 ฉบับ และเฉลยแต่ละข้อก็อ่านง่าย
- แนะวิธีคิด พิชิตสอบวิชาเฉพาะแพทย์ : เล่มนี้มีข้อสอบครบทั้ง 3 ฉบับเลย โดยข้อสอบจะแยกเป็นชุดๆ ฝึกทำแยกเป็นพาร์ทๆ ก็ได้
- ตีแตกพาร์ทเชื่อมโยงทั้ง 2 เล่ม : เหมาะสำหรับฝึกทำโจทย์พาร์ทเชื่อมโยง เพราะมีโจทย์หลายชุดมากๆ
ภาษาอังกฤษ
- อังกฤษ วิชาสามัญจะเป็นแนว Speed Test ถ้าติดข้อไหนให้รีบข้ามไปก่อนเลย เพราะอาจจะทำไม่ทันได้ แนะนำให้เริ่มทำจากพาร์ท Conversation, Cloze test และ Paragraph organization ก่อน และค่อยไปทำพาร์ท Reading เพราะเป็นพาร์ทที่ใช้เวลานานที่สุดและมีหลายบทความ ตอนทำก็ควรจะอ่านโจทย์ก่อนแล้วค่อยกลับไปสแกนในบทความจะช่วยให้น้องๆ ทำข้อสอบได้เร็วขึ้น
- อังกฤษ O-NET แนะนำให้เก็บพาร์ท Conversation เช่นกัน เพราะง่ายที่สุดในข้อสอบภาษาอังกฤษ หาคำตอบได้ตรงๆ ส่วน Reading ข้อสอบจะมีเรื่องสั้นและยาวมาให้ บางข้ออ่านตรงๆ ในเรื่องก็ได้คำตอบ โดยเฉพาะตรงส่วนเรื่องสั้นเป็นข้อสอบเก็บคะแนนเลย
- ด้วยความที่ภาษาอังกฤษมีเนื้อหาไม่หนักมากนัก แนะนำให้ทยอยเก็บเนื้อหาไปเรื่อยๆ ควบคู่ไปกับวิชาอื่นๆ เพราะภาษาอังกฤษต้องอาศัยความเคยชิน และคลังคำศัพท์ การเจอโจทย์ที่หลากหลาย จะช่วยให้น้องคุ้นเคยและมีแนวทางในการทำข้อสอบมากขึ้น ย้ำว่าทำโจทย์เยอะๆ และสม่ำเสมอช่วยได้แน่นอน
ภาษาไทย
- เป็นอีกวิชาเนื้อหาเหมือนจะดูเยอะแต่จริงๆ ถ้าลองทำโจทย์เก่าๆ น้องๆ จะเห็นรูปแบบของโจทย์ว่ามันออกใกล้เคียงกัน อยากแนะนำให้ฝึกทำโจทย์เยอะๆ ฝึกหาคีย์เวิร์ดให้เป็น พอไปเจอข้อสอบจริงๆ จะช่วยให้น้องหาคำตอบได้ง่ายขึ้น เก็บคะแนนได้มากขึ้นแน่นอน
- ข้อสอบ 9 วิชาสามัญส่วนใหญ่จะออกเรื่องการอ่านจับใจความ เรียกได้ว่าออกบ่อย ออกเยอะ ออกทุกปี ข้อสอบมักจะถามถึงสาระสำคัญ, แนวคิด, การอนุมาน, จุดประสงค์, เจตนาและบุคลิกของผู้เขียนหรือผู้พูด รวมๆ แล้วออกเยอะกว่าครึ่งนึงของข้อสอบทั้งฉบับเลย
- ข้อสอบ O-NET จะออกอยู่ 2 พาร์ท คือ หลักภาษาไทย ถ้าเข้าใจหลักการก็ตอบได้เลยไม่ต้องวิเคราะห์ (เช่น เรื่องชนิดของคำ พยางค์ คำราชาศัพท์) และพาร์ทการอ่าน เน้นเรื่องใจความสำคัญของบทความ จุดประสงค์ อนุมาน แนวคิดของบทความ
สังคมศึกษา
- ข้อสอบ 9 วิชาสามัญมักจะออกแบบกว้างๆ ถ้าน้องๆ ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน แนะนำให้เน้นที่บทเศรษฐศาสตร์ เพราะเป็นพาร์ทที่ข้อสอบออกแนวใกล้เคียงของเดิม ส่วนประวัติศาสตร์จะออกค่อนข้างลึกระวังพลาดในส่วนนี้นะ
- ข้อสอบ O-NET สังคม จะถามตรงๆ หาคีย์เวิร์ดเจอก็สามารถตัดตัวเลือกและหาคำตอบได้ไม่ยาก เน้นเรื่องประวัติศาสตร์ เพราะเป็นบทที่ข้อสอบมักจะถามตรงๆ เช่น เหตุการณ์สำคัญในแต่ละยุค และอีกเรื่องที่พลาดไม่ได้ก็คือ ศาสนา เรื่องนี้ออกเยอะและออกแน่ๆ เน้นหัวข้อหลักธรรม หลักปฏิบัติ และวันสำคัญ
- สังคมเป็นหนึ่งในวิชาที่เนื้อหาค่อนข้างเยอะ ควรทยอยอ่านจะดีกว่าอ่านทีเดียวรวดเดียวไปเลย ลองจัดกลุ่มเนื้อหาแต่ละบทจะช่วยให้เตรียมตัววิชานี้ได้ง่ายขึ้น ตอนทำข้อสอบแนะนำให้หาคีย์เวิร์ดแต่ละข้อให้เจอ จะช่วยให้หาคำตอบได้ง่ายขึ้นมาก
จากที่มีข่าวเรื่องเปลี่ยนหลักสูตรวิชาในหมวดวิทย์ – คณิต เลยทำให้มีการยกเลิก ปรับ เปลี่ยน ข้อสอบ TCAS64 ด้วย และปีนี้ข้อสอบออกโดยสสวท. ทำให้แนวโน้มข้อสอบจะเปลี่ยนไป จะไม่เน้นเรื่องทฤษฎีแบบข้อสอบเดิมๆ แต่จะเน้นเรื่องการนำไปใช้จริง ประยุกต์ใช้ทฤษฎีให้เป็น สามารถดูรายละเอียดเนื้อหาที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม คลิกเลย
“หลักสูตรเปลี่ยนกระทบข้อสอบ TCAS64”
คณิตศาสตร์
- คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ต้องอาศัยการฝึกฝน ทำโจทย์เยอะๆ ให้คล่องมือ ไม่ว่าจะเป็นข้อสอบวิชาสามัญ หรือ O-NET ก็ตาม แนะนำให้น้องๆ เริ่มอ่านเป็นวิชาแรกๆ เก็บทฤษฎีแต่ละบทให้แม่นก่อน แล้วค่อยทำโจทย์ เริ่มจากการแยกทำโจทย์แต่ละบทแล้วค่อยทำโจทย์แบบคละบท วิชาคณิตต้องฝึกทำโจทย์สม่ำเสมอเลยเป็นวิชาที่ทำควบคู่ไปกับการอ่านวิชาอื่นได้ ส่วนตอนทำข้อสอบต้องย้ำกับตัวเองว่าให้รอบคอบ เพราะถึงบางข้อจะง่ายแต่ถ้าสะเพร่าขึ้นมาพลาดคะแนนไปเลยนะคะ
- ระวัง! ถ้าเจอเรื่องนี้ตอนอ่านข้ามไปได้เลย เพราะเป็นเรื่องที่อยู่ในหลักสูตรเก่า ไม่มีออกแน่นอน ได้แก่ ทฤษฎีจำนวน, กำหนดการเชิงเส้น, ความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันระหว่างข้อมูล ทฤษฎีกราฟ และเมทริกซ์ (ดูรายละเอียดเนื้อหาที่เปลี่ยนแปลง)
ฟิสิกส์
- ฟิสิกส์พาร์ทคำนวณต้องอาศัยการฝึกทำโจทย์เยอะๆ แนะนำให้ลองฝึกทำโจทย์หลายๆ วิธี ที่สำคัญน้องๆ ควรทำความเข้าใจที่มาของสูตรดีๆ อย่าแค่ท่องสูตรได้ เพราะโจทย์ฟิสิกส์ปีหลังๆ ไม่ได้แค่แทนค่าแล้วหาคำตอบได้แบบเดิมแล้ว การรู้ที่มาของสูตรจะช่วยให้น้องสามารถตีโจทย์ หาคำตอบได้ ไม่โดนหลอกด้วยตัวแปร
- ข้อสอบฟิสิกส์ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องทำไม่ทัน แต่มักมีปัญหาเรื่องความรอบคอบมากกว่า แนะนำให้อ่านโจทย์ดีๆ ดูว่าโจทย์ให้ตัวแปรมารึป่าว โจทย์กำหนดค่าตัวแปรที่เท่าไหร่ เพราะบางข้ออาจจะไม่ได้ใช้ค่าประมาณในการหาคำตอบ จุดนี้เลยเป็นจุดหลอกที่มักทำให้เสียคะแนนไปง่ายๆ
- ระวัง! ถ้าเจอเรื่องนี้ตอนอ่านหนังสือต้องดูดีๆ เพราะมีตัดเนื้อหา ได้แก่ การเคลื่อนที่แบบหมุน, เสียง, ไฟฟ้ากระแสตรง, ไฟฟ้ากระแสสลับ, คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และฟิสิกส์อะตอม (ดูรายละเอียดเนื้อหาที่เปลี่ยนแปลง)
เคมี
- เคมีเป็นอีกวิชาที่คอนเซ็ปท์จับต้องได้ หลักการค่อนข้างตายตัว ใช้ความเข้าใจเป็นหลัก เคมีเป็นวิชาที่เตรียมตัวไม่ยากมาก แต่เป็นตัวช่วยดึงคะแนนขึ้นได้ดี ควรฝึกตะลุยโจทย์เยอะๆ ข้อสอบเคมีต้องทำไว และเน้นความรอบคอบ โดยเฉพาะพาร์ทคำนวณต้องระวังเรื่องหน่วยให้ดีเลย
- ระวัง! ถ้าเจอเรื่องนี้ต้องดูดีๆ เพราะมีตัดเนื้อหา ได้แก่ ธาตุและสารประกอบ, ของเหลว และของแข็ง, เชื้อเพลิงและชากดึกดำบรรพ์ และสารชีวโมเลกุล (ดูรายละเอียดเนื้อหาที่เปลี่ยนแปลง)
ชีวะ
- ชีวะเป็นวิชาที่มีเนื้อหาเยอะ ต้องอาศัยความเข้าใจและความจำ แนะนำว่าน้องๆ ควรเริ่มอ่านเนื้อหาให้แม่นคอนเซ็ปต์หลัก และเริ่มตะลุยโจทย์เลย ขอบอกตรงนี้ว่าตะลุยโจทย์ชีวะสำคัญมากๆ ห้ามมองข้ามเด็ดขาด เพราะข้อสอบชีวะเน้นประยุกต์ ต้องทำไว คิดไว ถ้าฝึกทำโจทย์เยอะๆ จะช่วยให้น้องๆ อ่านได้คล่องและวิเคราะห์ได้เร็วขึ้น และเป็นการรีเช็คว่าน้องแม่นเรื่องนั้นๆ จริงมั้ย ถ้ายังไม่แม่นพอก็ยังกลับมาทวนซ้ำได้
- เนื้อหาชีวะหลักสูตรใหม่ไม่ได้มีการตัดเนื้อหา มีเพิ่มและปรับเนื้อหาในเทอมนิดหน่อย (ดูรายละเอียดเนื้อหาที่เปลี่ยนแปลง)
การเตรียมตัวไม่ว่าจะวิชาอะไร นอกจากการอ่านหนังสือเก็บเนื้อหาให้แม่นแล้ว น้องๆ ควรฝึกตะลุยโจทย์แบบจับเวลาจริง จะได้รู้ว่าควรจัดสรรเวลาในการทำข้อสอบยังไง โจทย์แบบไหนเราควรใช้เวลานาน ได้รู้ว่าข้อสอบมักออกประมาณไหน ต้องเน้นจุดเน้น จุดหลอกมักจะเป็นอะไร ได้รู้แนวของข้อสอบจริงจะได้เตรียมตัวให้พร้อมมากขึ้น
จากกำหนดการสอบแต่ละวิชาก็เหลือเวลาน้อยลงทุกที น้องที่ยังไม่เริ่มรีบจัดสรรเวลาดีๆ นะ และที่สำคัญอยากเป็นหมอห้ามเทสักวิชา เพราะแต่ละวิชาก็ใช้ค่าน้ำหนักสัดส่วนคะแนนที่ต่างกันไป วิชาที่เราคิดจะเทอาจเป็นวิชาที่ทำให้เราสอบติดหมอก็ได้ เพราะฉะนั้นตอนนี้ยังพอมีเวลา มาตั้งใจทำให้เต็มที่ทุกวิชาเลย
“อยากเป็นหมอห้ามเทสักวิชา เพราะแต่ละวิชาสำคัญ ใช้ค่าน้ำหนักสัดส่วนคะแนนที่ต่างกันไป”
แต่สำหรับน้องๆ ที่ยังไม่พร้อม ไม่มั่นใจ และไม่รู้จะเริ่มอ่านหนังสือยังไง สามารถเตรียมพร้อมก่อนสอบจริงผ่านการติวออนไลน์จาก Dek-D School ติวได้ทันที ทุกหัวข้อ ทุกเวลาตลอด 24 ชั่วโมง ติวได้แบบเน้นๆ กับอาจารย์ขั้นเทพ ทวนซ้ำได้ไม่จำกัดตลอดอายุคอร์สเรียน
- สรุปเนื้อหา สั้น กระชับ อัปเดตตามหลักสูตรใหม่สสวท. ปี 60
- สอนตรงประเด็น เน้นความเข้าใจ ประยุต์ใช้ทฤษฎีได้จริง
- เนื้อหาครบ ใช้สอบได้ 3 สนาม TCAS64 ในคอร์สเดียว
- ตะลุยโจทย์จัดเต็ม อัปเดตล่าสุด เทคนิคเน้นๆ ไม่มีกั๊ก
แพ็กพิชิต กสพท Advance ติวจบพร้อมโกยคะแนนวิชาสามัญ “ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ คณิต อังกฤษ ไทย สังคม” ครบถ้วน 7 วิชา พร้อมโกยคะแนนวิชาสามัญ 100% ที่สำคัญทุกวิชาในคอร์สนี้สามารถใช้สอบ O-NET ได้ด้วย ไม่ต้องไปแยกเรียนคอร์ส O-NET หรือคอร์สวิชาสามัญให้วุ่นวาย ติวยกแพ็ก 7 วิชา เพียง 23,900 บาท หรือผ่อนชำระ 0% สูงสุด 4 เดือน เพียง 5,975 บาท/เดือน (ผ่านบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก)
แพ็กพิชิต กสพท ติว 5 วิชา “ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ คณิต และอังกฤษ” วิชาสำคัญที่คิดสัดส่วนคะแนนสูงสุดในการยื่นคะแนน กสพท สัดส่วนคะแนนสูงถึง 80% และใช้เก็บคะแนน O-NET ขั้นต่ำ 60 % เพียง 19,900 บาท หรือหรือผ่อนชำระ 0% สูงสุด 4 เดือน เพียง 4,975 บาท/เดือน (ผ่านบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก)
พิเศษ!! ผ่อนชำระ 0% สูงสุด 4 เดือน
ผ่อนชำระ 0% สูงสุด 4 เดือน ไม่มีค่าธรรมเนียม ผ่านบัตรเครดิตที่ร่วมรายการเลย
น้องๆ คนไหน อยากติวออนไลน์พิชิต TCAS64 แค่บางวิชา ก็สามารถเลือกสมัครเองได้เลย ราคาเริ่มต้นเพียง 490 บาท ดูรายละเอียดคอร์สเพิ่มเติมได้เลย
“อย่ารอไปติวตอนจะหมดเวลา ฟิตก่อน พร้อมก่อน มีที่เรียนก่อน!!”
น้องๆ สามารถดูรายละเอียดคอร์สเรียนที่สนใจเพิ่มเติมได้ที่ DekDSchool.com เลย หรือปรึกษาพี่ๆ เรื่องการติวออนไลน์เพิ่มเติมได้ที่ Line @SchoolDekD หรือ ติดตามข้อมูลข่าวสาร และเทคนิคการติวต่างๆ เพิ่มเติม ได้ที่ Facebook ของ Dek-D School เลย