เจาะลึกข้อสอบ A-Level ภาษาไทย อ้างอิงแนวข้อสอบปีล่าสุด (ปี 2566) ข้อสอบ A-Level ภาษาไทยออกอะไรบ้าง มีกี่ข้อ คะแนนเต็มกี่คะแนน ให้เวลาทำเท่าไหร่ ข้อสอบจริง A-Level ภาษาไทยปีล่าสุดออกอะไร มีเทคนิคทำข้อสอบอย่างไร มาดูกัน
ลักษณะข้อสอบ A-Level ภาษาไทย
หัวข้อที่ข้อสอบ A-Level ภาษาไทย ทั้ง 4 พาร์ท แบบละเอียดมีดังนี้
การอ่าน
- การอ่านเพื่อเข้าใจเนื้อหา
- การจับใจความ/การสรุปสาระสำคัญของข้อความ
- การตีความ
- การวิเคราะห์จุดประสงค์/เจตนาของผู้เขียน
- การวิเคราะห์ข้อคิด/แนวคิดที่ได้จากการอ่าน
- การอนุมานจากเนื้อหาของข้อความที่อ่าน
- ท่าที/น้ำเสียง/อารมณ์ความรู้สึก/ความคิดเห็นของผู้เขียน
การเขียน
- การเรียงลำดับข้อความ
- การเรียงความ
- การพรรณา/บรรยาย/อธิบาย
- การใช้เหตุผล
- การแสดงทรรศนะ
- การโต้แย้ง
- การโน้มน้าว
การพูด การฟัง
- การวิเคราะห์จุดประสงค์ในการพูด
- การใช้ข้อความถาม และตอบที่สัมพันธ์กัน
- การตีความ/อนุมาน/วิเคราะห์สาร/บุคลิกของผู้พูดหรือผู้ฟัง
หลักการใช้ภาษา
- การสะกดคำ
- การใช้คำตรงความหมาย
- ประโยคกำกวม/ประโยคบกพร่อง
- ประโยคสมบูรณ์
- ระดับภาษา
- การใช้สำนวนถูกต้องตามความหมาย
- ชนิดของประโยคตามเจตนา
- คำที่มีความหมายตรง/อุปมา
- คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ
- ราชาศัพท์
ตัวอย่างแนวข้อสอบ A-Level ภาษาไทย ปีล่าสุด ( ปี 2566 )
เฉลยเทคนิคทำข้อสอบ ข้อนี้ต้องตอบ 2. เวลาเจอโจทย์ถามเรื่องประโยคที่สมบูรณ์ ให้น้อง ๆ หากริยาหลักของประโยคให้เจอ และต้องระวังโดนคำเชื่อมหลอก อย่างตัวเลือกข้อ 2. คำว่า “ที่” เป็นคำเชื่อม ไม่ใช่กริยาหลัก ทำให้ข้อ 2. ไม่เป็นประโยค
เฉลยเทคนิคทำข้อสอบ ข้อนี้ต้องตอบ 2.
ส่วนนำ คือย่อหน้าแรกของเรียงความ ต้องเป็นการเกริ่น การพูดถึงความสำคัญ และถ้า น้อง ๆ สังเกต Keyword ในตัวเลือกแต่ละข้อจะเห็นว่าตัวเลือกที่เหลือไม่ใช่ส่วนนำเลย
ตัวเลือก 1. ดังกล่าวข้างต้น ตัวเลือก 3. เหล่านี้ และตัวเลือก 4. นอกเหนือจาก แสดงว่ามีการพูดถึงก่อนหน้านั้นแล้ว ส่วนตัวเลือก 5. ทางตรงและทางอ้อม เหมือนเป็นการสรุปมากกว่าที่จะเป็นส่วนนำ
เทคนิคทำข้อสอบ ข้อนี้ต้องตอบ 1.
มีการบอกโทษของบุหรี่เร้าให้เราเกิดความกลัวว่าเป็นตัวร้าย จะมีผลกับหัวใจเรา เราต้องหยุดสูบแล้ว หรือไม่ควรไปยุ่งกับมันเลย
เทคนิคทำข้อสอบ ข้อนี้ต้องตอบ 4.
จำไว้นะ คำว่า ใช่ว่า = ไม่ใช่ ส่วนข้ออื่น ๆ เป็นการตำหนิทั้งหมด และมีการเหน็บแนมประชดประชันอยู่ด้วย
เทคนิคทำข้อสอบ ข้อนี้ต้องตอบ 2.
เวลาเจอโจทย์แบบนี้ น้องๆ ลองใช้คำว่า เพราะ และคำว่าจึง เข้าไปแทนในประโยคดู
ถ้าประโยคไหนต้องใช้คำว่าเพราะ จะเป็นการอนุมานจากผลไปเหตุ เช่น เอกสิทธิ์สอบได้ที่ 1 ของระดับชั้น เพราะเขาอ่านหนังสือทุกวัน
ส่วนตัวเลือกที่ 2. ถ้าลองใช้คำว่าจึง จะได้ใจความว่า ฝนตกแล้วตากผ้าในร่ม ผ้าจึงเหม็นอับ ประโยคนี้จะเป็นการอนุมานจากเหตุไปผล
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ได้รู้จักข้อสอบ A-Level ภาษาไทยแบบละเอียดสุดๆ พร้อมกับดูตัวอย่างแนวข้อสอบจริงปีล่าสุดแล้ว ทำได้กี่ข้อเอ่ย
พี่จูนจูนแอบแนะนำว่า น้อง ๆ ที่อยาก UP คะแนนรวมให้สอบติด ห้ามทิ้งวิชาช่วยอย่าง A-Level ภาษาไทยเด็ดขาด ภาษาไทยใช้เวลาเตรียมตัวไม่มาก เริ่มตอนนี้ยังทัน แต่ถ้าไม่รู้จะเริ่มยังไง มาติวออนไลน์คอร์ส พิชิต TCAS ภาษาไทย A-Level กับ Dek-D School สิ
สมัครติวคอร์สพิชิต TCAS ภาษาไทย A-Level
- สรุปเนื้อหาและตะลุยโจทย์ครบทั้ง 4 พาร์ทตาม Blueprint 67 ได้แก่ การอ่าน การเขียน การพูดและการฟัง หลักการใช้ภาษา
- เฉลยแนวข้อสอบ A-Level ปีล่าสุด เฉลยละเอียดทุกข้อ แจกเทคนิคที่ใช้ทำข้อสอบได้จริงแบบไม่มีกั๊ก
- สอนโดย อ.บาส ดีกรีป.ตรี-โท เกียรตินิยม เอกภาษาไทยโดยตรง ประสบการณ์การสอนแน่นทั้งในระดับมหาวิทยาลัยและระดับโรงเรียน
- ทวนซ้ำได้ 6 เดือนเต็ม ไม่จำกัดชั่วโมงใดๆ ทั้งสิ้น
ทดลองเรียนคอร์ส พิชิต TCAS ภาษาไทย A-Level
เรื่องประโยคสมบูรณ์
เรื่องการเรียงลำดับข้อความ
สอบถามรายละเอียดคอร์ส และปรึกษาพี่ๆ Dek-D School เพิ่มเติมที่ Line @schooldekd