HomeReviewอัปคะแนน A-Level ชีวะ ปี 66 ด้วยคอร์สตะลุยโจทย์จากอ.อุ้ย ผู้เขียนหนังสือปลาหมึก

อัปคะแนน A-Level ชีวะ ปี 66 ด้วยคอร์สตะลุยโจทย์จากอ.อุ้ย ผู้เขียนหนังสือปลาหมึก

สำหรับน้องๆ #Dek67 ที่เก็บเนื้อหาชีวะครบแล้ว แต่ยังไม่มั่นใจว่าสิ่งที่เรียนมาทั้งหมดจะใช้ทำข้อสอบได้หรือไม่ โดยเฉพาะข้อสอบ A-Level ชีวะรูปแบบใหม่ที่ต้องคิดวิเคราะห์เป็นหลัก วันนี้พี่ฮาร์ท รุ่นพี่ #Dek66 จะมาแนะนำเทคนิคและคอร์สฝึกทำข้อสอบที่จะช่วยให้น้องๆ #Dek67 อัปคะแนน A-Level ชีวะ ได้ ไปติดตามได้เลยค่ะ

ก่อนอื่นให้น้องแนะนำตัวก่อนค่ะ

สวัสดีครับผมชื่อ จักรกิตติกรณ์ มอญหา ชื่อเล่นชื่อ ฮาร์ท จบมาจากโรงเรียนสาธิตม.บูรพา ปัจจุบันสอบติดคณะทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีครับ    

เตรียมสอบทันตะฯ ต้องเช็คให้ชัวร์ว่าสอบอะไรบ้าง พร้อมตั้งเป้าหมายคะแนนสอบไว้ก่อน

ผมตั้งใจจะเข้าคณะทันตแพทย์รอบ 3  ครับ ซึ่งต้องใช้คะแนน A-level วิชาคณิตศาสตร์,อังกฤษ,ฟิสิกส์,ชีวะ,เคมี,ไทย,สังคม แล้วก็ TPAT1 ครับ ผมใช้เวลาเตรียมตัว 1 ปี ช่วงเตรียมตัวผมจะตั้งเป้าหมายคะแนนไว้ก่อนครับ ให้เราดูว่าวิชาไหนที่เราถนัดหรือไม่ถนัดแล้ววิชาไหนควรจะเป็นจุดแข็งของเรา

1 ปีก่อนสอบเตรียมตัวยังไงดี?

ในส่วนการเตรียมตัวช่วงต้นปีผมจะเรียน คณิต,ฟิสิกส์,เคมี ก่อนครับเพราะเป็นวิชาที่เราต้องเข้าใจ Concept ของบทนั้นๆ ต้องอาศัยการฝึกฝนทำโจทย์อยู่ตลอดเวลาและผมก็เตรียม TPAT1 ช่วงนี้ด้วยครับ ส่วนอังกฤษผมจะทำ Reading เกือบทุกวันกับอ่านศัพท์ทุกวันด้วยครับ วิชาชีวะผมจะมาเริ่มตอนเดือนสิงหาครับวิชานี้ต้องอ่านให้สม่ำเสมอครับ ส่วนวิชาไทยกับสังคมผมเริ่มตอนท้ายปีเลยครับ

เตรียมสอบชีวะต้องอ่าน+ทำสรุป+ทำโจทย์แยกบท

การเตรียมตัววิชาชีวะของผมคือหลังจากผมอ่านเนื้อหาของบทนั้นเสร็จผมก็จะทำสรุปเลยครับแล้วก็อ่านสรุปประมาณ 2-3 รอบก่อนทำโจทย์แยกบทครับ การทำโจทย์แยกบทเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากๆ ครับเพื่อให้เรารู้ว่าเราพลาดที่จุดไหน แล้วผมก็จะจดจุดพลาดไว้ที่สรุปของบทนั้นๆ ที่ผมได้ทำไว้ด้วยครับ แล้วตอนอ่านชีวะเราควรตั้งใจอ่านจริงๆ ครับเพราะว่า สสวท.จะเน้นความเข้าใจเป็นหลักครับ

อ่านหนังสือปลาหมึกกับกระเบนและเรียนคอร์สตะลุยโจทย์ชีวะกับอ.อุ้ย

ที่ผมเลือกเรียนชีวะกับ Dek-D school เพราะว่ามีคนแนะนำให้เรียนกับอ.อุ้ยหลายคนมากครับ และอ.อุ้ยก็เป็นคนเขียนหนังสือชีวะปลาหมึกกับปลากระเบนที่ผมให้ในการอ่านช่วงเตรียมตัวสอบด้วยครับ หลังจากนั้นผมก็ลองทดลองเรียน สรุปว่าผมชอบมากๆ ครับก็เลยลงเรียนทันทีเลยครับ   

เรียนคอร์สตะลุยโจทย์ชีวะแล้วเป็นยังไงบ้าง?

คอร์สตะลุยโจทย์ของอ.อุ้ยดีมากๆ ครับ อาจารย์จะให้เราไปทำมาก่อนที่จะมาฟังเฉลยครับ โจทย์ในคอร์สดีมากครับมีข้อสอบเก่าของปีก่อนหน้าแถมยังมีโจทย์เพิ่มเติมที่อาจารย์แต่งหลายชุดมากครับแต่ละข้อของโจทย์ที่อาจารย์แต่งมาจะเน้นจุดที่เรามักพลาดกันครับถือว่าเป็นการทบทวนตัวเองที่ดีเลยครับ และที่สำคัญตอนที่อ.อุ้ยสอนจะไม่ได้เฉลยแล้วจบแต่จะเจาะลงลึกในแต่ละตัวเลือกด้วยครับ            

#Dek67 ที่อยากอัปคะแนนชีวะ “คอร์สตะลุยโจทย์ชีวะ” ช่วยได้

คอร์สนี้จะช่วยให้เราอัปคะแนนได้ในช่วงโค้งสุดท้ายและยังทำให้เรารู้ว่าเราลืมส่วนไหนของเนื้อหาไปซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมากครับเพราะเราจะได้รู้ว่าเราพลาดจุดไหนในตอนที่เราฝึกทำข้อสอบดีกว่าเราไปรู้ในห้องสอบครับ คอร์สนี้ไม่ได้ทำให้คะแนนผมตรงไปตามเป้าแต่ทำให้คะแนนผมดีกว่าที่ผมคาดหวังไว้เสียอีก! ผมกล้าพูดเลยว่าคอร์สนี้ช่วยอัปคะแนนให้ผมได้มากจริงๆ ครับ 

ข้อสอบชีวะปี 66 เป็นยังไง? 

ในส่วนของข้อสอบปี 66 นี้ส่วนตัวคิดว่าค่อนข้างง่ายกว่าปี 65 พอสมควรเลยครับ ข้อสอบจะไม่ถามลึกไปกว่าเนื้อหาของหนังสือสสวท.ครับจะออกไปทางแนว Concept มากกว่าครับคือเราต้องเข้าใจเนื้อหาในส่วนนั้นจริงๆถึงจะตอบข้อนั้นได้ครับ และปี 66 ได้เพิ่มข้อสอบแนวใหม่มาที่เรียกว่าข้อสอบเชิงซ้อน ผมบอกเลยว่าข้อสอบเชิงซ้อนจะเป็นข้อที่วัดความเข้าใจของเราได้ครบจริงๆ ครับ      

แนะน้องๆ #Dek67 ควรเตรียมสอบชีวะด้วยการอ่านหนังสือสสวท.

ถ้าหากน้องๆ #Dek67 อยากเตรียมตัวสอบวิชาชีวะ ถ้าสสวท.เป็นคนออกข้อสอบผมขอแนะนำให้อ่านหนังสือสสวท.ไปด้วยครับเพราะ Wording ในข้อสอบจะยกมาจากในหนังสือสสวท.เลยครับ และก็ให้ทำแบบฝึกหัดถ้ายบทในหนังสือสสวท.ด้วยครับเพราะมีบางข้อในข้อสอบที่เอาแบบฝึกหัดท้ายบทในหนังสือสสวท.มาดัดแปลงด้วยครับ ส่วนบทที่ผมแนะนำให้เน้นค่อนข้างมากเลยก็คือในส่วนของ Part พืชเลยครับ ข้อสอบปี66 ออกเรื่องพืชค่อนข้างเยอะเลยครับ 

หากเก่งชีวะสามารถ อัปคะแนน A-Level ชีวะ เพื่อพิชิตคณะในฝันได้

ผมคิดว่าวิชาชีวะเป็นวิชาที่สำคัญครับเพราะว่าเป็นวิชาที่มีน้ำหนักค่อนข้างเยอะประมาณนึงเลยครับ ถ้าหากว่าเราไม่ค่อยถนัดวิชา ฟิสิกส์กับเคมี แต่ถ้าเราเก่งชีวะมากๆชีวะก็จะเป็นตัวดันคะแนนเราขึ้นได้เยอะเลยครับ และผมคิดว่าถ้าใครที่เข้าสายสุขภาพแล้วค่อนข้างมีพื้นฐานในวิชาชีวะในช่วง ม.ปลาย ตอนเข้าเรียนในมหาลัยเราก็จะต่อยอดไปได้เร็วครับ     

เรียนชีวะควรเน้นคุณภาพการเรียนมากกว่าเรียนในปริมาณมากๆ  

ในช่วงที่เรียนเราควรที่จะตั้งใจจริงถึงเราจะเรียนชั่วโมงน้อยแต่ถ้าเราโฟกัสกับเนื้อหาอย่างเต็มที่ผมคิดว่าจะมีประสิทธิภาพมากกว่าที่เราพยายามอ่านเยอะแต่ว่ามันไม่เข้าหัวเราอีกครับ ส่วนที่สำคัญคือการทำโจทย์ครับเพราะมันเปรียบเสมือนการทบทวนจุดที่เรายังไม่แม่นแต่ที่สำคัญกว่านั้นคือการทบทวนจุดที่เราพลาดครับเพราะถ้าหากเราทวนบ่อยๆ จุดนี้นี่แหละครับที่จะทำให้เราเก่งขึ้น และที่สำคัญไม่แพ้กันเลยก็คือการจับเวลาทำข้อสอบจริงปีก่อนๆ (ย้ำว่าการจับเวลาสำคัญมากจริงๆครับ) เพื่อให้เราคุ้นเคยกับอารมณ์ที่จะเกิดขึ้นในห้องสอบและจะช่วยให้เราไม่ลนลานในห้องสอบด้วยครับ 

ฝากถึงน้องๆ #Dek67 ที่กำลังเตรียมสอบหน่อยค่ะ

สุดท้ายนี้อยากจะบอกกับน้องๆ ทุกคนว่าสู้ๆ ครับ อย่ากดดันตัวเองจนเกินไป อย่าเก็บเสียงรอบข้างที่บั่นทอนจิตใจเรามาทำให้เราไขว้เขวจากเป้าหมายของเรา และพี่คิดว่าจะต้องมีช่วง ที่พวกเราท้อกันบ้างพี่อยากให้พวกเราคิดว่าเหตุผลอะไรที่ทำให้เราเลือกที่จะเข้าที่นี่ เลือกที่จะเรียนหนักแบบนี้มาเป็นกำลังใจให้เราเดินหน้าต่อครับขอให้น้อง #Dek67 สอบติดในคณะสาขาที่ชอบครับ ขอบคุณครับ


หากน้องๆ ทวนเนื้อหาชีวะแล้วแต่ยังไม่รู้ว่าเนื้อหาที่ทวนจะแม่นยำใช้ทำข้อสอบได้หรือไม่ น้องๆ สามารถเริ่มฝึกทำโจทย์แบบพี่ฮาร์ทเพื่อตรวจสอบตัวเองว่ามีหัวข้อไหนที่ไม่แม่นยำได้เลย

และสำหรับน้องๆ ที่อยากเพิ่มความมั่นใจในการสอบชีวะสามารถสมัครติวออนไลน์กับ อ.อุ้ย ดร.ศุภณัฐ ไพโรหกุล ได้เลย คอร์สพิชิต TCAS ชีวะ – ตะลุยโจทย์ A-Level ตะลุยโจทย์ คอร์สนี้นอกจากน้องๆ จะได้ตะลุยโจทย์ชีวะ แนวข้อสอบออกใหม่ 625 ข้อแล้ว อ.อุ้ยยังเฉลยละเอียดจัดเต็ม ไม่มีข้าม เพื่อให้น้องๆ ได้ทบทวน เรียนรู้เทคนิคการทำโจทย์แบบต่างๆ และฝึกทำข้อสอบก่อนลงสนามจริงด้วย

น้องๆ ที่สนใจอยากติวออนไลน์กับ Dek-D School สามารถปรึกษาพี่ๆ เพิ่มเติมได้ที่ Line @SchoolDekD หรือ ติดตามข้อมูลข่าวสาร และเทคนิคการติวต่างๆ เพิ่มเติม ได้ที่ Facebook Dek-D School เลยนะคะ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular

Recent Comments