สวัสดีค่ะน้องๆ ทุกคน เจอกับพี่จูนจูนกันอีกแล้วนะคะ หลังจากที่ผ่าข้อสอบ O-NET สังคมศึกษา และภาษาอังกฤษกันไปแล้ว วันนี้ถึงคราวของวิชาภาษาไทยกันบ้าง โดย O-NET ภาษาไทย จะประกอบไปด้วยข้อสอบทั้งสิ้น 80 ข้อ 100 คะแนน 2 ชั่วโมง แบ่งเป็น 3 พาร์ทด้วยกันค่ะ ถ้าถามว่ายากมั้ย พี่จูนจูนมั่นใจว่าไม่ยากเกินความสามารถของน้องๆ แน่นอนค่ะ แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือเนื้อหาเยอะมาก! ถึงตรงนี้ใครคิดจะเท พี่จูนจูนก็ย้ำอีกทีว่าเทไม่ได้ จะอยู่แผนการเรียนไหน อยากเข้าคณะอะไรก็ห้ามเท O-NET ภาษาไทยเป็นอันขาด พี่จูนจูนแอบกระซิบให้ว่า บางทีโอกาสสอบติดคณะก็มาตัดกันที่วิชาที่เด็กๆ ชอบมองข้ามนี่แหละค่ะ ดีไม่ดีวิชานี้อาจจะเป็นตัวช่วยให้น้องๆ พิชิตคณะในฝันก็ได้นะคะ ตั้งใจอ่านบทความนี้ให้ดีๆ แล้วมาเตรียมตัวสอบ O-NET ภาษาไทยให้ตรงจุดกันดีกว่า ถึงแม้ว่าอีก 3 เดือน จะสอบแล้ว แต่เริ่มตอนนี้ยังไม่สายนะคะ
เริ่มที่พาร์ทแรกกันเลย ตั้งแต่ข้อ 1-10 ข้อละ 1 คะแนน โดยในหนึ่งข้อ จะประกอบด้วยคำถาม 2 คำถามย่อยนะคะ อย่าลืมตอบให้ครบนะถ้าน้องๆ คนไหนงง เดี่ยวรอดูตัวอย่างข้อสอบได้เลย สำหรับพาร์ทนี้จะถามเกี่ยวกับหลักภาษาทั้งหมดเลย พี่จูนจูนรวบรวมมาให้แล้วว่า 10 ข้อนี้ถามเรื่องอะไรบ้าง มาดูกัน
- ชนิดของคำ 2 ข้อ : คำนาม กริยา บุพบท สันธาน ต้องแม่น ข้อสอบจะถามว่ามีคำชนิดนี้กี่คำในประโยค
- พยางค์ 1 ข้อ : ข้อสอบจะถามว่ามีพยางค์คำเป็น และพยางค์คำตาย กี่คำ
- ราชาศัพท์ 1 ข้อ : ให้เลือกเติมราชาศัพท์ในประโยคให้เหมาะสม เพราะฉะนั้นจำลำดับการใช้ให้ดี ฝึกใช้ให้คล่องนะคะ
- วัจนภาษา และ อวัจนภาษา 1 ข้อ : มีประโยคมาให้วิเคราะห์
- การลำดับความ 1 ข้อ : มีประโยคให้ 5 ประโยค หลังจากนั้นให้เรียงลำดับของประโยคให้ถูกต้อง
- บรรณานุกรม 1 ข้อ : มีบรรณานุกรมมาให้ 5 ข้อแล้วเลือกตอบว่าข้อใดเขียนผิด และให้เรียงลำดับบรรณานุกรมทั้ง 5 ข้อ
- ภาษาที่ใช้ในการประชุม 1 ข้อ : ศัพท์ที่ใช้ในการประชุม, ระเบียบวาระ
- การพูด 1 ข้อ : มีบทสนทนามาให้แล้วถามความรู้สึกของผู้พูด รวมทั้งให้เลือกตอบกลับบทสนทนานั้นๆ ตามเป้าหมายที่ต้องการเช่น ตอบแบบไหนจะทำให้หายโกรธ เป็นต้น
- ฉันทลักษณ์ 1 ข้อ : มีคำประพันธ์มาให้ แล้วให้เลือกเติมคำให้เหมาะสมกับฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์ประเภทนั้นๆ เช่นเอกโทษ โทโทษ, ครุ ลหุ เป็นต้น
มาลองดูตัวอย่างข้อสอบกันดีกว่า พี่จูนจูน ย้ำอีกครั้งนะคะ ในพาร์ทนี้ 1 ข้อจะมี 2 คำถาม อย่าลืมตอบให้ครบนะคะ
ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ ก. และ ข้อ ข.
1) ห้องสมุดเป็นหัวใจของการศึกษา เป็นสถานที่สำหรับศึกษาหาความรู้ได้ตลอดชีวิต/ 2) การเข้าห้องสมุดควรสำรวมกิริยา การพูดคุยเสียงดังจะรบกวนผู้อื่น/ 3) การอ่านออกเสียงจะทำให้ผู้อื่นเสียสมาธิ/ 4) ทรัพยากรที่ยืมจากห้องสมุดต้องดูแลรักษาเป็นอย่างดี การเขียนข้อความลงในหนังสือจะทำให้สกปรก/ 5) ผู้ที่ประสงค์จะเป็นสมาชิกห้องสมุดควรกรอกชื่อและที่อยู่ให้ชัดเจนในใบสมัคร
ก. ส่วนใดของข้อความข้างต้นไม่เกี่ยวข้องกับการใช้วัจนภาษา
- ส่วนที่ 1)
- ส่วนที่ 2)
- ส่วนที่ 3)
- ส่วนที่ 4)
- ส่วนที่ 5)
ข. อวัจนภาษาที่ปรากฎในข้อความข้างต้นมีเจตนาตรงตามข้อใด
- ห้าม
- ชักชวน
- แนะนำ
- สั่งสอน
- บอกกล่าว
มาดูคำถามที่ข้อ ก. กันก่อน ข้อนี้ถามถึง วัจนภาษา คือภาษาพูด ภาษาเขียน เพราะฉะนั้น ดู Keyword ในข้อความข้างบนให้ดีๆ ข้อ 2), 3), 4) และ 5) มีทั้งการพูดคุย การอ่านออกเสียง ขีดเขียนข้อความ กรอกชื่อและที่อยู่ ล้วนเป็นวัจนภาษาทั้งสิ้น เราวงข้อ 1 ได้เลยสวยๆ
สำหรับคำถามในข้อ ข. เราอ่านแล้วรู้เลยว่าเป็นคำแนะนำในการใช้ห้องสมุดนั่นเองค่ะ ตอบข้อ 3 ได้เลย
เป็นยังไงกับบ้างคะกับหลักภาษาพาร์ทแรก 10 คะแนนเน้นๆ ไม่ยากเกินไปใช่มั้ยคะ ที่สำคัญพาร์ทนี้ออกสอบเรื่องคล้ายๆ เดิมทุกปี แนะนำว่าเก็บเนื้อหาให้แม่น แล้วหัดทำโจทย์บ่อยๆ เก็บคะแนนเต็มได้ง่ายๆ เลย
สำหรับพาร์ทที่2 สำคัญมากๆ เพราะคะแนนต่อข้อมากกว่าพาร์ทอื่นๆ คือข้อละ 2 คะแนน โดยจะเริ่มตั้งแต่ข้อ 11-30 รวมทั้งสิ้น 20 ข้อ 40 คะแนน พาร์ทนี้เน้นการอ่านเป็นหลักค่ะ โจทย์มักจะถามเราดังนี้
- ใจความสำคัญ/ ประเด็นสำคัญของบทความ
- จุดประสงค์ของผู้เขียน
- อุปนิสัยของผู้เขียน
- อนุมานจากข้อความ
- แนวคิดของบทความ
มาดูตัวอย่างข้อสอบของพาร์ทนี้กัน
ผู้กล่าวข้อความต่อไปนี้มีลักษณะนิสัยหลายประการยกเว้นข้อใด
“โครงการปกป้องชุมชนของข้าพเจ้าเริ่มจากความตระหนักว่าพ่อแม่พี่น้องหรือคนที่เรารักจะมีชีวิตอยู่อย่างสงบสุขได้ต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย ด้วยหลักนิติรัฐและนิติธรรม
- ยุติธรรม
- อ่อนน้อม
- มีอุดมการณ์
- รักครอบครัว
- เคารพกฎหมาย
ข้อนี้ถ้าน้องๆ หา Keyword ในข้อความเจอ จะตอบได้ทันทีเลย พ่อแม่พี่น้องหรือคนที่เรารัก เห็นชัดๆ เลยว่าเป็นคนรักครอบครัว รวมทั้งหลักนิติรัฐและนิติธรรมที่เกี่ยวข้องกับความยุติธรรม มีอุดมการณ์ และเคารพกฎหมาย ดังนั้นข้อนี้ตอบข้อ 2. อ่อนน้อมไปเลย พิชิต 2 คะแนนได้ง่ายๆ ถ้าใครอยากพิชิตคะแนนพาร์ทนี้หละก็ต้องฝึกอ่านจับใจความ ตีความ และทำข้อสอบเก่าเยอะๆ
สำหรับพาร์ทที่ 3 มีทั้งหมด 50 ข้อ เริ่มตั้งแต่ข้อ 31-80 ข้อละ 1 คะแนน คะแนนรวมเท่าพาร์ท 2 เพราะฉะนั้นทิ้งไม่ได้เป็นอันขาด พาร์ทนี้จะถามเกี่ยวกับหลักภาษาเน้นๆ ซึ่งถ้าเข้าใจหลักการ โจทย์จะออกมาพลิกแพลงแค่ไหนก็ทำได้สบายๆ โดยมีจำนวนข้อสอบแบ่งตามหัวข้อดังนี้
- การโน้มน้าวใจ
- การใช้เหตุผล
- การแสดงทรรศนะ
- ประเด็นโต้แย้ง
- บรรยายโวหาร
- การเขียนเรียงความ
- การเขียนรายงานเชิงวิชาการ
- การเขียนประกาศ
- ระดับภาษา
- มาตราตัวสะกด
- อักษรนำ
- ลักษณะนาม
- การเขียนสะกดคำ
- ความหมายเชิงอุปมา
- สำนวน
- ประโยค
- ภาษากำกวม
- คำทับศัพท์
- การสร้างคำ
- คำถามเชิงวาทศิลป์
- น้ำเสียงที่ใช้ในคำประพันธ์
- โวหารภาพพจน์
- การวิเคราะห์แนวคิด/ ข้อคิดจากการอ่านคำประพันธ์
- ฉันทลักษณ์ เช่นครุ ลหุ, สัมผัสสระ สัมผัสอักษร, รูปแบบของคำประพันธ์
ตัวอย่างข้อสอบ
คำที่เป็นตัวหนาในข้อใดต้องใช้เป็นคำซ้ำเท่านั้น
- อากาศชื้นๆ ทำให้คนเป็นหวัดได้ง่าย
- ขนมจีนน้ำยาจะอร่อยน้ำยาต้องข้นๆ หน่อยนะ
- ตอนแรกๆ ฉันก็คิดจะช่วยให้เขามาทำงานที่บ้าน
- พนักงานเรียงกล่องบรรจุผลไม้ซ้อนๆ กันในตู้แช่
- เมื่อคืนตำรวตจับคนเมาที่มาตะโกนปาวๆ อยู่หน้าหมู้บ้าน
โจทย์สไตล์นี้ ออกสอบบ่อยๆ นะคะ ถ้าใครตะลุยโจทย์แนวข้อสอบเก่าแล้วหละก็ ต้องเคยผ่านตาแน่นอน สำหรับการทำข้อสอบเรื่องคำซ้ำ เทคนิคคือให้ลองอ่านแบบไม่ใส่ไม้ยมกดูค่ะว่าความหมายยังเหมือนกับการใช้ในรูปแบบของคำซ้ำหรือป่าว ในตัวเลือกข้อ 1-4 อย่าง ชื้นๆ ข้นๆ แรกๆ ซ้อนๆ เมื่ออ่านแบบไม่ใส่ไม้ยมกก็ยังมีความหมายไม่ต่างจากการใช้ในรูปแบบของคำซ้ำ แต่คำว่าปาวๆ นี่สิ พอไม่ใช้ในรูปคำซ้ำแล้ว เรียกว่าไม่มีความหมายเลยก็ได้ เพราะฉะนั้น ตอบข้อ 5 ได้เลยค่ะ
เป็นยังไงกันบ้างคะ หลังจากผ่าข้อสอบ O-NET ภาษาไทยกับพี่จูนจูนกันไปแล้ว น้องๆ บางคนอาจจะถอดใจว่าทำไมเนื้อหาเยอะแยะมากมายขนาดนี้ พี่จูนจูนก็ไม่ปฎิเสธเลยค่ะว่าเนื้อหาเยอะมากจริงๆ ซึ่งคนที่จะทำข้อสอบได้ ต้องแม่นเนื้อหาข้างต้นนี้ทั้งหมด! และทริคที่จะช่วยน้องๆ ให้ทำข้อสอบได้ง่ายขึ้นไปอีกก็คือการจัดหมวดหมู่และลำดับเนื้อหาให้ดีๆ เพื่อที่เวลาดึงหลักภาษาแต่ละเรื่องมาใช้ในการทำข้อสอบ น้องๆ จะได้เลือกใช้ให้ถูกต้องนั่นเองค่ะ ถ้าใครกังวลว่าอ้าวแล้วจะเข้าใจเนื้อหาทั้งหมดได้ยังไงเยอะขนาดนี้ เราต้องลืมแน่ๆ ไหนจะต้องมาจัดกลุ่ม เรียงลำดับเนื้อหาอีก ควรจัดเรื่องไหนไปไว้ตรงไหน แล้วอีกไม่กี่เดือนจะสอบ O-NET แล้วจะทันได้ยังไง ไม่ต้องกังวลไป Dek-D มีคอร์สติวออนไลน์ พิชิต TCAS ภาษาไทย สำหรับน้องๆ ที่ต้องการเตรียมตัวสอบอย่างมีประสิทธิภาพในเวลาจำกัด มาแนะนำ เพราะคอร์สนี้
- ครอบคลุมเนื้อหาหลักภาษาทั้ง 85 เรื่องที่ออกสอบ
- ตะลุยโจทย์ท้ายบทพร้อมเฉลยละเอียด บอกเทคนิคทำโจทย์เน้นๆ ทุกข้อ
- ใช้สอบทั้ง O-NET และ 9 วิชาสามัญภาษาไทยได้ในคอร์สเดียว
- กระชับ ตรงจุด ไม่ยืดเยื้อ ความยาวเนื้อหา 23 ชั่วโมง พร้อมสอบ
- ทวนซ้ำได้ไม่จำกัดตลอดอายุคอร์ส 6 เดือน
- ราคาเพียง 1,850 บาท จากปกติ 2,300 บาท พร้อมหนังสือเรียนส่งถึงบ้าน
สอนโดย อ.แจ๊กกี้ ติวเตอร์ภาษาไทยระดับประเทศ ประสบการณ์ร่วมงานกับทางหน่วยงานต่างๆ ติวน้องๆ ทั่วประเทศไทย สอบติดคณะในฝันมากว่า 10 ปี
ถ้าไม่อยากเสียใจตอนผลสอบออกว่าทำไมเราไม่ทุ่มเทกับวิชาเทภาษาไทยให้มากกว่านี้ อย่ารอช้า สมัครติวออนไลน์พิชิต TCAS ภาษาไทย กับ Dek-D เลย!