HomeTCASผ่าข้อสอบ O-NET ภาษาไทย เจาะลึกหลักภาษาครบทุกเรื่องที่ออกสอบ พิชิตคะแนน 80 อัพ!

ผ่าข้อสอบ O-NET ภาษาไทย เจาะลึกหลักภาษาครบทุกเรื่องที่ออกสอบ พิชิตคะแนน 80 อัพ!

สวัสดีค่ะน้องๆ ทุกคน เจอกับพี่จูนจูนกันอีกแล้วนะคะ หลังจากที่ผ่าข้อสอบ O-NET สังคมศึกษา และภาษาอังกฤษกันไปแล้ว วันนี้ถึงคราวของวิชาภาษาไทยกันบ้าง โดย O-NET ภาษาไทย จะประกอบไปด้วยข้อสอบทั้งสิ้น 80 ข้อ 100 คะแนน 2 ชั่วโมง แบ่งเป็น 3 พาร์ทด้วยกันค่ะ ถ้าถามว่ายากมั้ย พี่จูนจูนมั่นใจว่าไม่ยากเกินความสามารถของน้องๆ แน่นอนค่ะ แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือเนื้อหาเยอะมาก! ถึงตรงนี้ใครคิดจะเท พี่จูนจูนก็ย้ำอีกทีว่าเทไม่ได้ จะอยู่แผนการเรียนไหน อยากเข้าคณะอะไรก็ห้ามเท O-NET ภาษาไทยเป็นอันขาด พี่จูนจูนแอบกระซิบให้ว่า บางทีโอกาสสอบติดคณะก็มาตัดกันที่วิชาที่เด็กๆ ชอบมองข้ามนี่แหละค่ะ ดีไม่ดีวิชานี้อาจจะเป็นตัวช่วยให้น้องๆ พิชิตคณะในฝันก็ได้นะคะ ตั้งใจอ่านบทความนี้ให้ดีๆ แล้วมาเตรียมตัวสอบ O-NET ภาษาไทยให้ตรงจุดกันดีกว่า ถึงแม้ว่าอีก 3 เดือน จะสอบแล้ว แต่เริ่มตอนนี้ยังไม่สายนะคะ

เริ่มที่พาร์ทแรกกันเลย ตั้งแต่ข้อ 1-10 ข้อละ 1 คะแนน โดยในหนึ่งข้อ จะประกอบด้วยคำถาม 2 คำถามย่อยนะคะ อย่าลืมตอบให้ครบนะถ้าน้องๆ คนไหนงง เดี่ยวรอดูตัวอย่างข้อสอบได้เลย  สำหรับพาร์ทนี้จะถามเกี่ยวกับหลักภาษาทั้งหมดเลย พี่จูนจูนรวบรวมมาให้แล้วว่า 10 ข้อนี้ถามเรื่องอะไรบ้าง มาดูกัน

  • ชนิดของคำ 2 ข้อ : คำนาม กริยา บุพบท สันธาน ต้องแม่น ข้อสอบจะถามว่ามีคำชนิดนี้กี่คำในประโยค
  • พยางค์ 1 ข้อ : ข้อสอบจะถามว่ามีพยางค์คำเป็น และพยางค์คำตาย กี่คำ 
  • ราชาศัพท์ 1 ข้อ : ให้เลือกเติมราชาศัพท์ในประโยคให้เหมาะสม เพราะฉะนั้นจำลำดับการใช้ให้ดี  ฝึกใช้ให้คล่องนะคะ
  • วัจนภาษา และ อวัจนภาษา 1 ข้อ : มีประโยคมาให้วิเคราะห์ 
  • การลำดับความ 1 ข้อ : มีประโยคให้ 5 ประโยค หลังจากนั้นให้เรียงลำดับของประโยคให้ถูกต้อง
  • บรรณานุกรม 1 ข้อ : มีบรรณานุกรมมาให้ 5 ข้อแล้วเลือกตอบว่าข้อใดเขียนผิด และให้เรียงลำดับบรรณานุกรมทั้ง 5 ข้อ
  • ภาษาที่ใช้ในการประชุม 1 ข้อ : ศัพท์ที่ใช้ในการประชุม, ระเบียบวาระ 
  • การพูด 1 ข้อ : มีบทสนทนามาให้แล้วถามความรู้สึกของผู้พูด รวมทั้งให้เลือกตอบกลับบทสนทนานั้นๆ ตามเป้าหมายที่ต้องการเช่น ตอบแบบไหนจะทำให้หายโกรธ เป็นต้น
  • ฉันทลักษณ์ 1 ข้อ : มีคำประพันธ์มาให้ แล้วให้เลือกเติมคำให้เหมาะสมกับฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์ประเภทนั้นๆ เช่นเอกโทษ โทโทษ, ครุ ลหุ เป็นต้น

มาลองดูตัวอย่างข้อสอบกันดีกว่า พี่จูนจูน ย้ำอีกครั้งนะคะ ในพาร์ทนี้ 1 ข้อจะมี 2 คำถาม อย่าลืมตอบให้ครบนะคะ 

ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ ก. และ ข้อ ข.

1) ห้องสมุดเป็นหัวใจของการศึกษา เป็นสถานที่สำหรับศึกษาหาความรู้ได้ตลอดชีวิต/ 2) การเข้าห้องสมุดควรสำรวมกิริยา การพูดคุยเสียงดังจะรบกวนผู้อื่น/ 3) การอ่านออกเสียงจะทำให้ผู้อื่นเสียสมาธิ/ 4) ทรัพยากรที่ยืมจากห้องสมุดต้องดูแลรักษาเป็นอย่างดี การเขียนข้อความลงในหนังสือจะทำให้สกปรก/ 5) ผู้ที่ประสงค์จะเป็นสมาชิกห้องสมุดควรกรอกชื่อและที่อยู่ให้ชัดเจนในใบสมัคร

ก. ส่วนใดของข้อความข้างต้นไม่เกี่ยวข้องกับการใช้วัจนภาษา

  1. ส่วนที่ 1)
  2. ส่วนที่ 2)
  3. ส่วนที่ 3)
  4. ส่วนที่ 4)
  5. ส่วนที่ 5)

ข. อวัจนภาษาที่ปรากฎในข้อความข้างต้นมีเจตนาตรงตามข้อใด

  1. ห้าม
  2. ชักชวน
  3. แนะนำ
  4. สั่งสอน
  5. บอกกล่าว 

มาดูคำถามที่ข้อ ก. กันก่อน ข้อนี้ถามถึง วัจนภาษา คือภาษาพูด ภาษาเขียน เพราะฉะนั้น ดู Keyword ในข้อความข้างบนให้ดีๆ ข้อ 2), 3), 4) และ 5) มีทั้งการพูดคุย การอ่านออกเสียง ขีดเขียนข้อความ กรอกชื่อและที่อยู่ ล้วนเป็นวัจนภาษาทั้งสิ้น เราวงข้อ 1 ได้เลยสวยๆ

สำหรับคำถามในข้อ ข. เราอ่านแล้วรู้เลยว่าเป็นคำแนะนำในการใช้ห้องสมุดนั่นเองค่ะ ตอบข้อ 3 ได้เลย

เป็นยังไงกับบ้างคะกับหลักภาษาพาร์ทแรก 10 คะแนนเน้นๆ ไม่ยากเกินไปใช่มั้ยคะ ที่สำคัญพาร์ทนี้ออกสอบเรื่องคล้ายๆ เดิมทุกปี แนะนำว่าเก็บเนื้อหาให้แม่น แล้วหัดทำโจทย์บ่อยๆ เก็บคะแนนเต็มได้ง่ายๆ เลย

สำหรับพาร์ทที่2 สำคัญมากๆ เพราะคะแนนต่อข้อมากกว่าพาร์ทอื่นๆ คือข้อละ 2 คะแนน โดยจะเริ่มตั้งแต่ข้อ 11-30 รวมทั้งสิ้น 20 ข้อ 40 คะแนน พาร์ทนี้เน้นการอ่านเป็นหลักค่ะ โจทย์มักจะถามเราดังนี้ 

  • ใจความสำคัญ/ ประเด็นสำคัญของบทความ
  • จุดประสงค์ของผู้เขียน
  • อุปนิสัยของผู้เขียน
  • อนุมานจากข้อความ
  • แนวคิดของบทความ

มาดูตัวอย่างข้อสอบของพาร์ทนี้กัน 

ผู้กล่าวข้อความต่อไปนี้มีลักษณะนิสัยหลายประการยกเว้นข้อใด

“โครงการปกป้องชุมชนของข้าพเจ้าเริ่มจากความตระหนักว่าพ่อแม่พี่น้องหรือคนที่เรารักจะมีชีวิตอยู่อย่างสงบสุขได้ต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย ด้วยหลักนิติรัฐและนิติธรรม 

  1. ยุติธรรม
  2. อ่อนน้อม
  3. มีอุดมการณ์
  4. รักครอบครัว
  5. เคารพกฎหมาย

ข้อนี้ถ้าน้องๆ หา Keyword ในข้อความเจอ จะตอบได้ทันทีเลย  พ่อแม่พี่น้องหรือคนที่เรารัก เห็นชัดๆ เลยว่าเป็นคนรักครอบครัว รวมทั้งหลักนิติรัฐและนิติธรรมที่เกี่ยวข้องกับความยุติธรรม มีอุดมการณ์ และเคารพกฎหมาย ดังนั้นข้อนี้ตอบข้อ 2. อ่อนน้อมไปเลย พิชิต 2 คะแนนได้ง่ายๆ ถ้าใครอยากพิชิตคะแนนพาร์ทนี้หละก็ต้องฝึกอ่านจับใจความ ตีความ และทำข้อสอบเก่าเยอะๆ 

สำหรับพาร์ทที่ 3 มีทั้งหมด 50 ข้อ เริ่มตั้งแต่ข้อ 31-80 ข้อละ 1 คะแนน คะแนนรวมเท่าพาร์ท 2 เพราะฉะนั้นทิ้งไม่ได้เป็นอันขาด พาร์ทนี้จะถามเกี่ยวกับหลักภาษาเน้นๆ ซึ่งถ้าเข้าใจหลักการ โจทย์จะออกมาพลิกแพลงแค่ไหนก็ทำได้สบายๆ  โดยมีจำนวนข้อสอบแบ่งตามหัวข้อดังนี้

  • การโน้มน้าวใจ
  • การใช้เหตุผล
  • การแสดงทรรศนะ
  • ประเด็นโต้แย้ง
  • บรรยายโวหาร
  • การเขียนเรียงความ
  • การเขียนรายงานเชิงวิชาการ
  • การเขียนประกาศ  
  • ระดับภาษา
  • มาตราตัวสะกด
  • อักษรนำ
  • ลักษณะนาม
  • การเขียนสะกดคำ
  • ความหมายเชิงอุปมา
  • สำนวน
  • ประโยค  
  • ภาษากำกวม  
  • คำทับศัพท์
  • การสร้างคำ
  • คำถามเชิงวาทศิลป์
  • น้ำเสียงที่ใช้ในคำประพันธ์
  • โวหารภาพพจน์  
  • การวิเคราะห์แนวคิด/ ข้อคิดจากการอ่านคำประพันธ์
  • ฉันทลักษณ์ เช่นครุ ลหุ, สัมผัสสระ สัมผัสอักษร, รูปแบบของคำประพันธ์

ตัวอย่างข้อสอบ

คำที่เป็นตัวหนาในข้อใดต้องใช้เป็นคำซ้ำเท่านั้น

  1. อากาศชื้นๆ ทำให้คนเป็นหวัดได้ง่าย
  2. ขนมจีนน้ำยาจะอร่อยน้ำยาต้องข้นๆ หน่อยนะ
  3. ตอนแรกๆ ฉันก็คิดจะช่วยให้เขามาทำงานที่บ้าน
  4. พนักงานเรียงกล่องบรรจุผลไม้ซ้อนๆ กันในตู้แช่
  5. เมื่อคืนตำรวตจับคนเมาที่มาตะโกนปาวๆ อยู่หน้าหมู้บ้าน 

โจทย์สไตล์นี้ ออกสอบบ่อยๆ นะคะ ถ้าใครตะลุยโจทย์แนวข้อสอบเก่าแล้วหละก็ ต้องเคยผ่านตาแน่นอน สำหรับการทำข้อสอบเรื่องคำซ้ำ เทคนิคคือให้ลองอ่านแบบไม่ใส่ไม้ยมกดูค่ะว่าความหมายยังเหมือนกับการใช้ในรูปแบบของคำซ้ำหรือป่าว ในตัวเลือกข้อ 1-4 อย่าง ชื้นๆ ข้นๆ แรกๆ ซ้อนๆ เมื่ออ่านแบบไม่ใส่ไม้ยมกก็ยังมีความหมายไม่ต่างจากการใช้ในรูปแบบของคำซ้ำ แต่คำว่าปาวๆ นี่สิ พอไม่ใช้ในรูปคำซ้ำแล้ว เรียกว่าไม่มีความหมายเลยก็ได้ เพราะฉะนั้น ตอบข้อ 5 ได้เลยค่ะ 

เป็นยังไงกันบ้างคะ หลังจากผ่าข้อสอบ O-NET ภาษาไทยกับพี่จูนจูนกันไปแล้ว น้องๆ บางคนอาจจะถอดใจว่าทำไมเนื้อหาเยอะแยะมากมายขนาดนี้ พี่จูนจูนก็ไม่ปฎิเสธเลยค่ะว่าเนื้อหาเยอะมากจริงๆ ซึ่งคนที่จะทำข้อสอบได้ ต้องแม่นเนื้อหาข้างต้นนี้ทั้งหมด! และทริคที่จะช่วยน้องๆ ให้ทำข้อสอบได้ง่ายขึ้นไปอีกก็คือการจัดหมวดหมู่และลำดับเนื้อหาให้ดีๆ เพื่อที่เวลาดึงหลักภาษาแต่ละเรื่องมาใช้ในการทำข้อสอบ น้องๆ จะได้เลือกใช้ให้ถูกต้องนั่นเองค่ะ ถ้าใครกังวลว่าอ้าวแล้วจะเข้าใจเนื้อหาทั้งหมดได้ยังไงเยอะขนาดนี้ เราต้องลืมแน่ๆ ไหนจะต้องมาจัดกลุ่ม เรียงลำดับเนื้อหาอีก ควรจัดเรื่องไหนไปไว้ตรงไหน แล้วอีกไม่กี่เดือนจะสอบ O-NET แล้วจะทันได้ยังไง ไม่ต้องกังวลไป Dek-D มีคอร์สติวออนไลน์ พิชิต TCAS ภาษาไทย สำหรับน้องๆ ที่ต้องการเตรียมตัวสอบอย่างมีประสิทธิภาพในเวลาจำกัด มาแนะนำ เพราะคอร์สนี้

  • ครอบคลุมเนื้อหาหลักภาษาทั้ง 85 เรื่องที่ออกสอบ
  • ตะลุยโจทย์ท้ายบทพร้อมเฉลยละเอียด บอกเทคนิคทำโจทย์เน้นๆ ทุกข้อ 
  • ใช้สอบทั้ง O-NET และ 9 วิชาสามัญภาษาไทยได้ในคอร์สเดียว 
  • กระชับ ตรงจุด ไม่ยืดเยื้อ ความยาวเนื้อหา 23 ชั่วโมง พร้อมสอบ
  • ทวนซ้ำได้ไม่จำกัดตลอดอายุคอร์ส 6 เดือน 
  • ราคาเพียง 1,850 บาท จากปกติ 2,300 บาท พร้อมหนังสือเรียนส่งถึงบ้าน 

สอนโดย อ.แจ๊กกี้ ติวเตอร์ภาษาไทยระดับประเทศ ประสบการณ์ร่วมงานกับทางหน่วยงานต่างๆ ติวน้องๆ ทั่วประเทศไทย สอบติดคณะในฝันมากว่า 10 ปี 

ถ้าไม่อยากเสียใจตอนผลสอบออกว่าทำไมเราไม่ทุ่มเทกับวิชาเทภาษาไทยให้มากกว่านี้ อย่ารอช้า สมัครติวออนไลน์พิชิต TCAS ภาษาไทย กับ Dek-D เลย!


RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular

Recent Comments