HomeTCASรวมเทคนิคทำข้อสอบเคมีฉบับไฟลุก Part2 อ่านน้อยได้คะเเนนมาก 50 วันสุดท้ายก่อนสอบ PAT2

รวมเทคนิคทำข้อสอบเคมีฉบับไฟลุก Part2 อ่านน้อยได้คะเเนนมาก 50 วันสุดท้ายก่อนสอบ PAT2

มาเเล้วค่าสำหรับน้องๆ คนไหนที่รอ รวมเทคนิคการทำสอบเคมีฉบับไฟลุก Part 2 จากอ.เต้ Dek-D School อยู่รีบมาดูกันเลยส่วนใครที่เพิ่งมาก็ตามไปดู รวมเทคนิคการทำสอบเคมีฉบับไฟลุก Part 1  บอกเลยว่า Part 2 นี้เข้มข้นกว่าเดิมเเน่นอนเพราะมีเเต่บทปราบเซียนอย่าง กรด – เบส, เคมีอินทรีย์ เเละไฟฟ้าเคมีซึ่งสรุปเน้นหาเเน่น + ตัวอย่างข้อสอบ จัดเต็มเเบบนี้มีเเค่ที่ Dek-D School นะคะ ^^ 

มาเริ่มกันที่บทใหญ่สุดโหดอย่างกรด – เบสกันก่อนเลย อ.เต้ได้สรุปทบทวนพื้นฐานที่ต้องรู้มาให้ใน 1 รูปนี้เเล้วค่ะ สรุป กรด-เบส

ในกรดเบสมีบทย่อยเยอะมากซึ่งสารละลาย Electrolyte เเละ Non – Electrolyte ถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะนำไปใช้ต่อในการหาคู่กรด คู่เบสเลย ลองมาดูสรุปทบทวนกันค่ะ  

Electrolyte เเละ Non - Electrolyte

ต่อไปเป็นการคำนวณหาความเข้มข้นของ [H+] เเละ [OH ] ซึ่งมีสูตรดังนี้ค่า 

การคำนวณ pH ของกรด-เบส

จริงๆ เเล้วบทย่อยๆ ในกรดเบสยังมีอีกเยอะเเต่อ.เต้สรุปมาให้เฉพาะที่ออกสอบบ่อยเพื่อให้น้องๆ ประหยัดเวลาในการอ่านหนังสือค่ะเเละเหมือนเดิมลองมาดูโจทย์ในข้อสอบจริงกันเลย

ตัวอย่างโจทย์ PAT2

สิ่งที่โจทย์ถามคือบัฟเฟอร์ของกรด – เบส ซึ่งอ.เต้ไม่อยากให้น้องๆ จำสูตรไปใช้เพราะมันสามารถคิดได้ง่ายกว่านั้น ลองมาดูวิธีคิดที่ว่ากันเลยค่ะ ^^ 

เฉลยโจทย์ PAT2

เห็นไหมคะว่าไม่ต้องท่องสูตรเลย !!! เเค่เข้าใจน้องๆ ก็สามารถตัดตัวเลือกได้เเล้ว 

เฉลยโจทย์ PAT2

จบไปเเล้วกับกรด – เบสมาต่อกันที่ไฟฟ้าเคมีซึ่งบทนี้ก็ไม่อยากเเค่โจทย์ชอบหลอกให้น้องๆ สับสนเท่านั้นเอง มาลองดูสรุปง่ายๆ จากอ.เต้กันค่ะ 

ความแตกต่างของ เซลล์กัลวานิก และอิเล็กโทรไลต์

ไฟฟ้าเคมีเเบ่งเป็นเซลล์กัลวานิกเเละเซลล์อิเล็กโทรไลต์ซึ่งอ.เต้ก็ได้สรุปเเผนภาพของเซลล์ไฟฟ้า โดยเริ่มกันที่เซลล์กัลวานิกเลยค่า 

แผนภาพเซลล์กัลวานิก

เห็นไหมคะว่าพอเข้าใจเป็นภาพเเล้วมันง่ายมากเลย ต่อไปคือสิ่งที่ต้องรู้ในเรื่องเซลล์กัลวานิกว่าตรงไหนสำคัญหรืออกสอบบ่อยถือเป็นเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ จากอ.เต้ค่ะ 

สรุปเซลล์กัลวานิก

มาต่อกันที่เซลล์อิเล็กโทรไลต์ซึ่งก็เหมือนเดิมค่าอ.เต้ก็สรุปสั้นๆ ให้เข้าใจครบจบใน 1 รูป

แผนภาพเซลล์อิเล็กโทรไลต์

อย่าลืมอ่านตรง Tip เล็กๆ น้อยๆ ด้วยนะคะเป็นจุดที่อ.เต้บอกว่ามักจะมีน้องๆ เข้าใจผิดจำไปทำข้อสอบผิดๆ กันบ่อยๆ อยากให้ระวังกันด้วยนะคะ 

การนำเซลล์อิเล็กโทรไลต์ไปใช้ประโยชน์

เทียบให้เห็นชัดๆ กันไปเลยระหว่างเซลล์กัลวานิกกับเซลล์อิเล็กโทรไลต์มีความเเตกต่างกันตรงไหนบ้าง ? ใครที่ยังสับสนอยู่เซฟรูปนี้เก็บไว้อ่านสอบเลยจ้า 

เซลล์กัลวานิก VS เซลล์อิเล็กโทรไลต์

ตรงนี้สำคัญ !!! จุดที่ออกสอบบ่อย ทุกปีก็ถามวนๆ อยู่เเค่นี้ถ้าน้องๆ เข้าใจก็ทำข้อสอบได้สบายมากค่า ลองมาดูกันเลย 

เทคนิคการทำข้อสอบไฟฟ้าเคมี

มาถึงเรื่องสุดท้ายเเล้วคือ เคมีอินทรีย์ ซึ่งบทนี้ก็ไม่ยากเเค่เนื้อหาเยอะ มีหมู่ฟังก์ชันที่ชื่อคล้ายกันอาจทำให้น้องๆ สับสนได้เเต่ !!!! น้องๆ จะเข้าใจได้ในภาพเดียวที่อ.เต้สรุปมาให้ค่ะ 

สรุปเคมีอินทรีย์

หลักๆ ของเคมีอินทรีย์เเทบจะไม่มีอะไรมากเลยพวกสมบัติต่างๆ นั้นก็ยังไม่ออกสอบบ่อยเท่าโครงสร้างนะคะ ลองมาดูตัวอย่างข้อสอบกันเลยว่าโครงสร้างนั้นออกบ่อยจริงไหม ?

ตัวอย่างโจทย์เคมีอินทรีย์

เเค่ดูตัวเลือกก็รู้เเล้วว่าโครงสร้างออกบ่อยจริงๆ ลองมาดูวิธีการตัดตัวเลือกเเบบเทพๆ จากอ.เต้กันค่า ^^ 

ตัวอย่างโจทย์เคมีอินทรีย์

เห็นไหมคะว่าเเค่รู้หลัก เข้าใจเรื่องที่โจทย์ถาม เเค่นี้ก็ตัดตัวเลือกหาคำตอบได้อย่างสบายๆ เลย 

เฉลยโจทย์เคมีอินทรีย์

จบเเล้วจ้ากับรวมเทคนิคเคมีทั้ง 2 Part  !!!! ตอนนี้น้องๆ คงได้เข้าใจเคมีมากขึ้นต่อไปคือการลองฝึกทำโจทย์เยอะๆ ค่ะเพราะข้อสอบมักจะไม่ออกเเตกต่างกันมากนัก ถ้าทำโจทย์ 3 ปีย้อนหลังครบบอกเลยว่า TOP เเน่นอนค่ะ ซึ่งอ.เต้ฝากเคล็ดลับของการเรียนเคมีให้เก่งนั้นคือสังเกตุเเละวิเคราะห์โจทย์ค่ะว่าโจทย์ให้อะไรมา ถามอะไร ใช้ความรู้เรื่องไหนได้บ้างเเค่นี้น้องๆ ก็เก่งเคมีได้เเล้ว

เเละเหมือนเดิมเลยถ้าน้องๆ คนไหนที่มีคำถามสามารถมาพูดคุยกันได้ที่ Facebook Dek-D School หรือ Line @schooldekd ส่วนน้องๆ ที่ต้องการเตรียมตัวสำหรับการสอบ TCAS สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครเรียนได้ที่คอร์ส พิชิต TCAS เคมีครบทุกบท หรือ พิชิต TCAS เคมี เเบบรายบท สอนโดยดร.โรจน์ฤทธิ์ โรจนธเนศ (อ.เต้) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โอกาสที่จะได้เรียนกับตัวจริงด้านเคมีแบบนี้มีไม่บ่อยห้ามพลาดนะคะ ^^

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular

Recent Comments