เจาะลึกแนวข้อสอบ A-Level เคมี อ้างอิงจากแนวข้อสอบปีล่าสุด เจาะลึกละเอียดทุกข้อ พร้อมตัวอย่างโจทย์ ข้อสอบ A-Level เคมี ถึงชื่อข้อสอบจะเปลี่ยนไป แต่แนวข้อสอบก็ยังเหมือนเดิมอยู่ เน้นวัดความเข้าใจเนื้อหาถึงคอนเซ็ปต์ วิเคราะห์และประยุกต์ใช้ความรู้เป็น น้องๆ สามารถใช้แนวข้อสอบปีก่อนๆ มาเป็นแนวทางได้เลย ทั้งข้อสอบวิชาสามัญ และข้อสอบ PAT2 เพราะข้อสอบ PAT2 ยังมีตัวอย่างโจทย์ประยุกต์อยู่ น้องๆ ยังทิ้งไปเลยไม่ได้นะ
โครงสร้างข้อสอบ A-Level เคมี จาก Test Blueprint 66
จาก Blueprint ที่ออกมา นั่นคือข้อสอบจะออกทุกหัวข้อที่น้องๆ ได้เรียนตอนชั้นม.ปลาย เลย ตรงตามหลักสูตรล่าสุด สสวท. ไม่ออกเกินหลักสูตรแน่นอน
ข้อสอบ A-Level เคมี มีจำนวนข้อ 35 ข้อ แบ่งเป็นปรนัย 30 ข้อ และอัตนัยระบายคำตอบอีก 5 ข้อ มีเวลาทำข้อสอบทั้งหมด 90 นาที แสดงว่าน้องๆ จะมีเวลาทำข้อสอบข้อละไม่ถึง 3 นาที และด้วยความที่เป็นโจทย์วิเคราะห์ ดังนั้นน้องๆ จะต้องแม่นเนื้อหาและทำโจทย์ได้เร็วในระดับนึงเลย ถึงจะทำข้อสอบทัน
เนื้อหาที่ออกสอบตาม Test Blueprint 66
– สมบัติของธาตุและสารประกอบ ออกสอบ 15-17 ข้อ
– สมการเคมีและการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ออกสอบ 15-17 ข้อ
– ทักษะในปฏิบัติการเคมีและการคำนวณปริมาณของสาร ออกสอบ 2-4 ข้อ
เนื้อหาที่ออกสอบ TCAS65 แนวทางสำหรับ A-Level ฟิสิกส์ 66
ข้อสอบวิชาสามัญเคมี ปี 65 ถือว่าออกยากมาก เพราะเป็นโจทย์วิเคราะห์ทุกข้อ ดักทุกทาง ต้องคิดเยอะ และมีเวลาทำข้อสอบน้อย โจทย์คำนวณบางข้อตัวเลขไม่ลงตัว และมีเวลาทำข้อสอบน้อย ทำให้น้องๆ หลายคนทำข้อสอบไม่ทัน แต่ของปี 66 ที่จะสอบนี้เขาลดจำนวนข้อสอบลงแล้วนะ ในส่วนของเนื้อหามีการกระจายบทแบบพอดีๆ ไม่มีบทไหนออกมากไปหรือน้อยไป ส่วนข้อสอบ PAT2 ก็เน้นโจทย์ประยุกต์ การทดลอง เชื่อมโยงเนื้อหาระหว่างบทเป็นอย่างดี
อะตอมและสมบัติของธาตุ
– การจัดเรียงอิเล็กตรอนและเวเลนซ์อิเล็กตรอน
– ไอโซโทปจากการยิงนิวเคลียส 24896Cm ด้วย 2311Na
– แนวโน้มต่างๆ ในตารางธาตุ ขนาดอะตอมและขนาดไอออน
พันธะเคมี
– โครงสร้างลิวอิส กฎออกเตต และอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
– การเปรียบเทียบความยาวพันธะ สภาพขั้วโมเลกุล แรงระหว่างโมเลกุล
– วัฏจักรบอร์น-ฮาร์เบอร์ของสารประกอบไอออนิก หาพลังงานแลตทิช
– เลขออกซิเดชันของธาตุโครเมียม
แก๊ส
– ความสัมพันธ์ของความดัน ปริมาตร และอุณหภูมิ
– อัตราส่วนของไอโซโทปที่เพิ่มความเข้มข้นก่อนการแพร่และหลังการแพร่
เคมีอินทรีย์
– โครงสร้างของสารประกอบที่มีคุณสมบัติเกิดปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสได้กรดคาร์บอกซิลิก ไม่ฟอกจางสีสารละลายโบรมีน และไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัส
– ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสของเอสเทอร์
– ไอโซเมอร์โครงสร้างของ methyl butanoate
– การนับจำนวนไอโซเมอร์
พอลิเมอร์
– นำพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ไปทำปฏิกิริยาเคมีกับกลูตาริก จะได้พอลิเมอร์ X แล้วพิจารณาคุณสมบัติของพอลิเมอร์ X
– การสังเคราะห์ไอโซพรีน และโครงสร้างของไอโซพรีน
– มอนอเมอร์ที่ใช้ในการสังเคราะห์พอลิเมอร์ชนิดหนึ่ง
ปริมาณสัมพันธ์
– ผลได้ร้อยละของปฎิกิริยาการบ่มมะม่วง
– การหาปริมาณสารในการผลิตแอมโมเนียมไทเทรต
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
– กราฟอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ของความเข้มข้นของสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์ ณ เวลาต่างๆ
– กราฟการเปลี่ยนแปลงพลังงานของปฎิกิริยาเคมี
– การเพิ่มอุณหภูมิ เติมตัวเร่งปฏิกิริยา เพิ่มความเข้มข้น
สมดุลเคมี
– หาค่าคงที่สมดุลของสมการเคมีแบบติดตัวแปร
– เมื่อรบกวนสมดุลของปฏิกิริยาแล้ว กราฟจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
– ความเข้มข้นของสารเมื่อเข้าสู่สมดุล
กรด-เบส
– การทดลองไทเทรตหาความเข้มข้นของสารละลาย HCl ด้วย NaOH โดยใช้ฟีนอล์ฟทาลีนเป็นอินดิเคเตอร์
– ค่า pH ของสารละลายเบส เมื่อนำไปไทเทรตกับสารละลาย HCl
– การควบคุมค่า pH ของสารละลาย
– โจทย์ประยุกต์กรดอ่อน-เบสอ่อนกับยา
เคมีไฟฟ้า
– ศักย์ไฟฟ้าของเซลล์กัลวานิกจากแผนภาพเซลล์
– ดูความสามารถในการรีดิวซ์ จากทิศทางการถ่ายทอดอิเล็กตรอนของเซลล์เคมีไฟฟ้าและค่าศักย์ไฟฟ้าของเซลล์
– การอิเล็กโทรลิซิสของสารละลาย โดยใช้ Platinum เป็นขั้วไฟฟ้า
ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
– การใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในการวัดปริมาณสาร
โมลและสูตรเคมี
– โจทย์ให้น้ำหนักของสารผสมมา แล้วหาสูตรเคมีของโมเลกุล
– การหาปริมาตรของแก๊สในลูกโป่งว่ามีค่ามวลต่อโมลกี่กรัมต่อโมล
– อัตราส่วนโดยโมลของสมการเคมีที่ยังไม่ได้ดุล
สารละลาย
– ความเข้มข้นของสารละลายกรด-เบส ไอออนของ H+ และ OH–
– หาความเข้มข้นในหน่วยโมลาร์
– กราฟความเข้มข้นของสารละลาย และจุดเดือด ตัวทำละลาย
ทั้งหมดนี้ก็คือเนื้อหาที่ออกสอบในข้อสอบวิชาสามัญ ซึ่งข้อสอบ PAT2 ก็คล้ายๆ กัน แต่จะมีโจทย์แนวการทดลอง โจทย์ประยุกต์ข้ามเนื้อหามากกว่า แล้วแนวข้อสอบก็คล้ายๆ ข้อสอบปี 64 เลย น้องๆ ยังสามารถใช้ข้อสอบปี 64 เป็นแนวทางได้เหมือนกันนะ ถึงการสอบจะเปลี่ยนไปแต่คอนเซ็ปต์เนื้อหาก็ยังคงเดิม ถ้าน้องๆ แม่นเนื้อหาแล้วก็ไม่ต้องกลัวเลย ทำข้อสอบได้แน่นอน เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นมาลองดูแนวข้อสอบจริงจากปี 65 กันเลย
ดูโจทย์แล้วเป็นยังไงบ้าง โจทย์พวกนี้ไม่ถือว่ายากเลย ถ้าน้องๆ เข้าใจทฤษฎี เนื้อหาของเคมีจริงๆ ทำได้แน่นอน และบอกเลยในคอร์สพิชิต TCAS เคมี ที่สอนโดย อ.เต้ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี จุฬาฯ สอนการทำโจทย์แบบนี้ไว้ให้ด้วย อธิบายแบบละเอียด เข้าใจถึงคอนเช็ปต์ ทำโจทย์ได้ทุกแบบ เนื้อหาครบถ้วน ม.ปลาย ทั้ง 3 ปี ตรงตามหลักสูตรล่าสุด สสวท. ที่จะออกสอบเลย พร้อมทั้งมีตะลุยโจทย์จัดเต็มมากกว่า 300 ข้อ ถ้าน้องๆ สนใจสามารถดูรายละเอียดคอร์สที่กล่องด้านล่างได้เลย
ทดลองเรียนฟรี TCAS ทั้ง 7 วิชาได้เลยที่คอร์สนี้
สอบถามเพิ่มเติมได้เลยที่ Line @schooldekd และติดตามข่าวสารการเตรียมตัวสอบได้ที่ช่องทางต่างๆ ต่อไปนี้ คลิกเลย