HomeQuizเฉลย PRE-TEST ฟิสิกส์ ม.ปลาย

เฉลย PRE-TEST ฟิสิกส์ ม.ปลาย

เฉลย PRE-TEST ฟิสิกส์ มาแล้วค่าาา น้องๆ ที่ลองทำแล้วเป็นไงบ้างคะ ยากหรือเปล่าหรือว่าง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปากเลย 😀 ถ้าหากน้องๆ คนไหนที่ยังไม่ได้ทำสามารถทำได้เลยที่ PRE-TEST ฟิสิกส์ อย่าเพิ่งแอบดูเฉลยก่อนนะ ควิซนี้พี่บิวจัดมาให้แบบเต็มๆ เลยบทละ 1 ข้อ รวมทั้งสิ้น 17 ข้อ เหมาะสำหรับน้องๆ ม.5 หรือ ม.6 ที่กำลังจะเตรียมตัวขึ้นมหาวิทยาลัยว่าเข้าใจเนื้อหาฟิสิกส์ดีหรือยัง และสำหรับน้องๆ ที่กำลังจะขึ้น ม.4 จะได้รู้ว่าน้องๆ จะได้เจออะไรบ้างในฟิสิกส์ ม.ปลาย เอาล่ะ เมื่อเล่นควิซเสร็จแล้วมาดูเฉลยกันเลย

ข้อที่ 1 : การเคลื่อนที่แนวตรง

ด่านแรกที่ต้องเจอในฟิสิกส์เลยคือ เรื่องการเคลื่อนที่แนวตรงเพราะน้องๆ จะได้เรียนตั้งแต่ ม.4 เทอม 1 เรื่องนี้มี concept เรื่องนี้อยู่ที่การเลือกใช้สูตร ซึ่งสูตรจะมีอยู่ 2 แบบ คือแบบความเร็วคงที่กับแบบความเร็วไม่คงที่ อ่านวิธีการเลือกใช้สูตรแบบละเอียดได้ที่ ฟิตเพิ่มเกรด – การเคลื่อนที่แนวตรง

เฉลยโจทย์ ฟิสิกส์ การเคลื่อนที่แนวตรง

ถ้าน้องๆ ได้ลองอ่านบทความ ฟิตเพิ่มเกรด – การเคลื่อนที่แนวตรง แล้วจะรู้ว่าน้องๆ ต้องลิสต์สิ่งที่โจทย์ให้มาแล้วก็ดูว่าไม่มีตัวแปรไหน จากข้อนี้ไม่มีตัวแปร v จึงเลือกใช้สูตรที่ 3 นั่นเอง

ข้อที่ 2 : แรงและกฎการเคลื่อนที่

แรงและกฎการเคลื่อนที่ หรือที่น้องๆ รู้จักกันในกฎของนิวตันนั่นแหละ เรื่องนี้จะใช้เรื่องของการรวมเวกเตอร์และการแตกแรงมาช่วยด้วย สูตรหลักๆที่ใช้ก็จะเป็นสูตร F=ma 

เฉลยโจทย์ ฟิสิกส์ แรงและกฎการเคลื่อนที่

ข้อที่ 3 : การเคลื่อนที่แบบต่างๆ 

การเคลื่อนที่แบบต่างๆ เช่น การเคลื่อนที่แบบโพรเจคไทล์, การเคลื่อนที่แบบวงกลม, การเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์มอนิก น้องๆ หลายคนน่าจะเคยได้ยินคำว่า การเคลื่อนที่ใน 2 มิติ ที่จริงแล้วมันคือการเคลื่อนที่แบบต่างๆ พวกนี้นี่เอง ตัวอย่างโจทย์ข้อนี้พี่บิวได้ยกเรื่องการเคลื่อนที่แบบโพรเจคไทล์ขึ้นมา ซึ่งเรื่องนี้น้องๆ ต้องรู้ว่าเหตุการณ์ในโจทย์เนี่ย มันเกิดขึ้นในแนวแกน x หรือแกน y

เฉลยโจทย์ ฟิสิกส์ การเคลื่อนที่แบบต่างๆ

ข้อที่ 4 : งานและพลังงาน

งานคือการที่แรงกระทำให้วัตถุเคลื่อนที่ไปในแนวราบ ข้อนี้วิธีคิดก็ตรงไปตรงมาใช้สูตรของงานแก้ได้เลย

เฉลยโจทย์ ฟิสิกส์ งานและพลังงาน

ข้อที่ 5 : โมเมนตัมและการชน

เฉลยโจทย์ ฟิสิกส์ โมเมนตัมและการชน

ข้อที่ 6 : การเคลื่อนที่แบบหมุน

สูตรของการเคลื่อนที่แบบหมุนจะคล้ายกับสูตรการเคลื่อนที่แนวตรงแบบความเร็วเปลี่ยน แต่เปลี่ยนจาก \(u\) เป็น \(\omega\) , \(v\) เป็น \(\omega_{0}\), \(s\) เป็น \(\theta\), \(a\) เป็น \(\alpha\)

สำหรับโจทย์ข้อนี้ก็คือการถามสูตรของทอร์กเลย ถ้าน้องๆ จำสูตรของทอร์กได้ก็ตอบได้ทันที

เฉลยโจทย์ ฟิสิกส์ การเคลื่อนที่แบบหมุน

ข้อที่ 7 : สภาพยืดหยุ่นและสภาพสมดุล

เรื่องนี้จะใช้กฎของนิวตันข้อที่ 1 คือ F=0 นั่นคือแรงซ้าย = แรงขวา , แรงบนเท่ากับแรงล่าง (ถ้าน้องๆ ลองทำแล้วคิดว่าข้อนี้ไม่มีคำตอบคือไม่เป็นไรนะคะ เพราะว่าพี่บิวคิดเลขผิดจึงไม่ได้ใส่ตัวเลขที่ถูกไปในซ้อยส์)

เฉลยโจทย์ ฟิสิกส์ สภาพสมดุลและสถาพยืดหยุ่น

ข้อที่ 8 : คลื่นกล

มาถึงข้อ 8 และได้ออกมาจากจักรวาลของการเคลื่อนที่สักทีแล้ว 7 ข้อที่ผ่านมาพี่บิวว่ามันเล่นเอาเหนื่อยเลยทีเดียว 😀 เรื่องของคลื่นกลน้องๆ จะได้เจอกับคุณสมบัติของคลื่นทั้ง 4 แบบคือ การสะท้อน การหักเห การแทรกสอด การเลี้ยวเบน น้องๆ สามารถอ่านเรื่องคลื่นแบบละเอียดได้เลยที่ ฟิตเพิ่มเกรด – สมบัติคลื่นกล 

เฉลยโจทย์ ฟิสิกส์ คลื่นกล

ข้อที่ 9 : เสียง

เสียงก็เป็นคลื่นชนิดหนึ่ง โดยจะมีคุณสมบัติคล้ายๆ กับคลื่นกล สำหรับโจทย์ข้อนี้พี่บิวก็ได้ยกเรื่องของความถี่บีตส์มาให้ ซึ่งวิธีการคำนวณก็ง่ายมากเลยแค่เอามาลบกัน น้องๆ สามารถอ่านการคำนวณเรื่องเสียงแบบเต็มได้ที่ ทวงคืนคะแนนสอบ – เสียง

เฉลยโจทย์ ฟิสิกส์ เสียง

ข้อที่ 10 : แสงและทัศนอุปกรณ์

อ่านชื่อบทตอนแรกพี่บิวก็งงอยู่นะ ว่ามันหมายถึงอะไร จริงๆ แล้วมันคือเรื่องของกระจกและเลนส์นั่นเอง น้องๆ สามารถอ่านเรื่องเลนส์แบบละเอียดได้เลยที่ ฟิตเพิ่มเกรด – เลนส์

เฉลยโจทย์ ฟิสิกส์ แสงและทัศนอุปกรณ์

ข้อที่ 11 : ไฟฟ้าสถิต

มาถึงส่วนของไฟฟ้า พี่บิวได้เรียนเรื่องนี้ตอน ม.6 น้องๆ ได้เรียนตอนไหนเอ่ย สำหรับเรื่องไฟฟ้าสถิตจะพูดถึงประจุไฟฟ้าเป็นส่วนใหญ่ สำหรับโจทย์ข้อนี้พี่บิวก็ได้ยกเรื่องกฎของคูลอมบ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ อย่างนึงของไฟฟ้าสถิต 

เฉลยโจทย์ ฟิสิกส์ ไฟฟ้าสถิต

จากตัวอย่าง ตอนแทนค่าประจุไฟฟ้าไม่ต้องแทนเครื่องหมายของประจุบวกหรือลบแทนเป็นตัวเลขปกติได้เลย

ข้อที่ 12 : ไฟฟ้ากระแส

ข้อนี้พี่บิวก็ได้ยกตัวอย่างกฎของโอห์มมาให้ ซึ่งกฎของโอห์มก็เป็นเรื่องที่สำคัญอีกเรื่องนึงเลยในไฟฟ้ากระแส น้องๆ สามารถอ่านเรื่องกฎของโอห์มแบบละเอียดได้ที่ ฟิตเพิ่มเกรด – กฎของโอห์ม  

เฉลยโจทย์ ฟิสิกส์ ไฟฟ้ากระแส

ข้อที่ 13 : คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

ในข้อสอบเรื่องคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามักจะไม่ค่อยออกเรื่องการคำนวณ แต่ก็ไม่แน่เสมอไป พี่บิวก็เลยเขียนสูตรไว้ เผื่อน้องๆ ได้ใช้นะคะ

เฉลยโจทย์ ฟิสิกส์ คลื่นแม่เหล็กและไฟฟ้า

ข้อที่ 14 : ของไหล

ของไหลมันก็คือ ของที่มันไหลได้เช่น  น้ำ อากาศ ในเรื่องนี้โจทย์มักจะให้คำนวณเรื่องของความดัน ความหนาแน่น น้องๆ สามารถอ่านลายละเอียดเรื่องของไหลได้ที่ ทวงคืนคะแนน – ของไหล

เฉลยโจทย์ ฟิสิกส์ ของไหล

ข้อที่ 15 : ความร้อนและทฤษฎีจลน์ของแก๊ส

เรื่องนี้ต่อเนื่องมาจากเรื่องของไหล แต่จะพูดถึงแก๊ส อุณหภูมิ เป็นหลักซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์อยู่ 3-4 ท่านได้ให้กฎของแก๊สเป็นนิยามไว้ต่างๆ กันซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากกับเรื่องแก๊ส น้องๆ สามารถอ่านเนื้อหาสรุปแบบเข้าใจง่ายได้เลยที่ กฎของแก๊ส และ กฎการแพร่ของเกรแฮม

เฉลยโจทย์ ฟิสิกส์ ความร้อนและทฤษฎีจลน์ของแก๊ส

ข้อที่ 16 : ฟิสิกส์อะตอม

เรื่องนี้ก็เป็นอีกเรื่องที่ไม่ยากนะ คล้ายๆ กับเคมีเลย จะพูดถึงแบบจำลองอะตอมของนักวิทยาศาสตร์หลายๆ ท่านและการคำนวณเกี่ยวกับแสง น้องๆ สามารถอ่านเรื่องฟิสิกส์อะตอมแบบละเอียดได้ที่ ฟิตเพิ่มเกรด – ฟิสิกส์อะตอม 

เฉลยโจทย์ ฟิสิกส์ ฟิสิกส์อะตอม

ข้อที่ 17 : ฟิสิกส์นิวเคลียร์

เรื่องนี้ก็ไม่ยากเช่นกัน เนื้อหาก็ตามชื่อเลยเป็นเรื่องของนิวเคลียร์ ธาตุกัมมันตรังสี สำหรับโจทย์ข้อนี้พี่บิวก็ยกเรื่องของสัญลักษณ์นิวเคลียร์มาให้น้องๆ ทำ น้องๆสามารถอ่านวิธีการดูและหลักการจำ ไอโซโทป ไอโซบาร์ ได้ที่ ทริคการจำ – ไอโซโทป ไอโซโทน ไอโซบาร์ และอ่านเรื่องฟิสิกส์นิวเคลียร์แบบละเอียดได้เลยที่ ฟิตเพิ่มเกรด – ฟิสิกส์นิวเคลียร์

เฉลยโจทย์ ฟิสิกส์ ฟิสิกส์นิวเคลียร์

จบไปแล้วนะคะ สำหรับเฉลยทั้ง 17 ข้อ น้องๆที่สามารถอ่านมาถึงตรงนี้ได้คือเก่งมากๆ เลย ถ้าน้องๆ อ่านแล้วมีข้อสงสัยสามารถถามพี่บิวมาได้เลยที่ line @schooldekd หรือ facebook : Dek-D School พี่บิวและพี่ๆ ทีมงาน Dek-D School ยินดีตอบทุกคำถามเลย

เตรียมความพร้อมเพิ่มคะแนนฟิสิกส์ ม.ปลาย กับ อ.หลิน อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ จุฬาฯ ภายในคอร์สมีการปูเนื้อหา สอนแบบเข้าใจให้น้องๆ แม่นคอนเช็ปต์และวิธีคิด ไม่พึ่งสูตร พร้อมทั้งโจทย์ท้ายบทหลากหลาย ให้น้องๆ ได้ตะลุยแบบเต็มที่ ถ้าน้องๆ สนใจคอร์สคลิกที่กล่องด้านล่างได้เลย

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular

Recent Comments