HomeTCASเปิดโจทย์แนวใหม่ A-Level ชีวะ 66 เจาะลึกโจทย์เลือกตอบเชิงซ้อน

เปิดโจทย์แนวใหม่ A-Level ชีวะ 66 เจาะลึกโจทย์เลือกตอบเชิงซ้อน

เปิดโจทย์แนวใหม่ A-Level ชีวะ 66 โจทย์แนวปรนัยเลือกตอบเชิงซ้อน และเฉลยแบบละเอียด ซึ่งเป็นโจทย์ที่ดึงมาจากคอร์สพิชิต TCAS ตะลุยโจทย์ชีวะ A-Level ที่ออกโจทย์และสอนโดย อ.อุ้ย Dek-D School

ใน blueprint ข้อสอบ A-Level ชีววิทยาปี 66 ที่ออกมาจะมีข้อสอบที่เป็นปรนัยเลือกตอบเชิงซ้อนอยู่ 5 ข้อ ข้อละ 3.2 คะแนน โดยมีเงื่อนไขว่า 
ถ้าตอบถูกทั้ง 3 ข้อย่อย ได้คะแนนเต็ม 3.2 คะแนน
ถ้าตอบถูก 2 ข้อย่อย ได้ 1.6 คะแนน
ถ้าตอบถูกเพียง 1 ข้อย่อยหรือตอบไม่ถูกเลยจะไม่ได้คะแนน

โจทย์แนวปรนัยเลือกตอบเชิงซ้อน มีไว้เพื่อป้องกันการเดาข้อสอบของน้องๆ แต่ใน 1 ข้อจะมีตัวเลือก 3 ตัวเลือกเท่านั้น และให้เราเลือกตอบว่าข้อย่อยนี้ ใช่ หรือ ไม่ใช่ เพื่อให้เห็นภาพ น้องๆ มาลองดูโจทย์และเฉลยๆ พร้อมๆ กันเลย

ตัวอย่างโจทย์ A-Level ชีวะ ปรนัยเลือกตอบเชิงซ้อน

โจทย์ A-Level ชีวะ เรื่อง ระบบภูมิคุ้มกัน

ข้อนี้ใช้ความรู้เรื่อง ระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ

จากกราฟเมื่อร่างกายได้รับแอนติเจน พบว่าแอนติเจนจะหายไปในวันที่ 21 โดยมีแอนติบอดี 2 ชนิดทำหน้าที่กำจัดแอนติเจนนี้ แอนติบอดีที่ 1 จะเริ่มสร้างในวันที่ 7 และหายไปในวันที่ 28 ส่วนแอนติบอดีที่ 2 เริ่มสร้างวันที่ 14 และมีปริมาณที่สูงไปเรื่อย ๆ ดังนั้น

  1. ตอบ ไม่ใช่ เพราะ การทำงานของแอนติบอดีจัดเป็นภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะต่อแอนติเจน
  2. ตอบ ใช่ เพราะ จากกราฟ ปริมาณของแอนติเจน หรือ เชื้อไวรัสเริ่มลดลงหลังวันที่ 14
  3. ตอบ ไม่ใช่ เพราะ หากร่างกายได้รับแอนติเจนอีกครั้ง จะใช้แอนติบอดีชนิดที่ 2 ในการกำจัดเพราะแอนติบอดีชนิดที่ 1 หายไปตั้งแต่วันที่ 28 แต่แอนติบอดีชนิดที่ 2 ยังคงมีอยู่

ข้อนี้ใช้ความรู้เรื่อง
– การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต
– การลำเลียงสารผ่านเข้าออกเยื่อหุ้มเซลล์
– โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์

ปลาทะเลมีความเข้มข้นของ Na⁺ ในร่างกายน้อยกว่าน้ำทะเล ดังนั้น Na⁺ และ Cl⁻ จึงแพร่เข้าสู่ร่างกายปริมาณมาก ปลาทะเลจึงต้องกำจัด Na⁺ และ Cl⁻ ออกจากร่างกายไปยังน้ำทะเล ซึ่งทิศทางการลำเลียง Na⁺ จะสวนทางความเข้มข้น ดังนั้นจึงเป็นกระบวนการลำเลียงแบบแอกทีฟ (active transport) ซึ่งต้องใช้พลังงาน ดังนั้น

  1. ตอบ ไม่ใช่ เพราะ ความเข้มข้นของ Na⁺ ภายในเซลล์ของปลาทะเลน้อยกว่าน้ำทะเล
  2. ตอบ ใช่ เพราะ จากโจทย์ Cl⁻ เคลื่อนที่ออกจากเซลล์ด้วยกระบวนการแพร่แบบฟาซิลิเทต ซึ่งเป็นการลำเลียงสารที่ใช้โปรตีนตัวพา
  3. ตอบ ใช่ เพราะ คลอไรด์เซลล์ใช้พลังงานมากในการลำเลียง Na⁺ ออกจากเซลล์แบบแอกทีฟซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้พลังงาน ดังนั้นคลอไรด์เซลล์จึงต้องมีไมโทคอนเดรียที่ทำหน้าที่สร้างพลังงานจำนวนมาก

ข้อนี้ใช้ความรู้เรื่อง กลไกการทำงานของเซลล์ประสาทและการเกิดกระแสประสาท

จากกราฟคือการเปลี่ยนแปลงศักย์ไฟฟ้าที่เยื่อหุ้มเซลล์ ณ บริเวณหนึ่งของแอกซอน
– A คือ ระยะพัก (resting stage)
– B คือ action potential
– C คือ repolarization
– D คือ undershoot ดังนั้น

  1. ตอบ ไม่ใช่ เพราะ Na⁺-K⁺ pump เป็นกระบวนการลำเลียง Na⁺ ออกจากเซลล์และลำเลียง K⁺ เข้าสู่เซลล์ ซึ่งจะทำงานตลอดเวลาไม่ว่าเซลล์ประสาทจะอยู่ระยะใดในกราฟก็ตาม
  2. ตอบ ไม่ใช่ เพราะ tetrodotoxin จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงศักย์ไฟฟ้าเฉพาะระยะ B เท่านั้น ไม่ส่งผลต่อระยะ A เพราะ ระยะ A ไม่มีการเปิดของ voltage-gated Na⁺ channel
  3. ตอบ ใช่ เพราะ ระยะ repolarization และ undershoot เป็นระยะที่ voltage-gated Na⁺ channel ปิด ขณะที่ voltage-gated K⁺ channel เปิดออก ทำให้ศักย์ไฟฟ้าลดลง

ข้อนี้ใช้ความรู้เรื่อง
– การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
– ปัจจัยที่มีผลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช

จากกราฟแสดงค่าความเข้มแสงต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง หรือ การตรึง CO₂ ของพืช 3 ชนิด ได้แก่ อ้อย ข้าว และมะม่วง ดังนั้น

  1. ตอบ ใช่ เพราะ จากกราฟ ที่ความเข้มแสง 1000 μmol m⁻² s⁻¹ เป็นค่า light saturation point ของข้าว ซึ่งเป็นค่าความเข้มแสงที่น้อยที่สุดที่ทำให้ข้าวตรึง CO₂ ได้สูงสุด ดังนั้นข้าวจะมีอัตราการตรึง CO₂ สุทธิคงที่และไม่เพิ่มขึ้นอีก
  2. ตอบ ไม่ใช่ เพราะ เมื่อดูกราฟที่จุดตัดแกน X มะม่วงมีค่าชดเชยแสง (light compensation point) สูงกว่าข้าว
  3. ตอบ ไม่ใช่ เพราะ เฉพาะมะม่วงเท่านั้นที่มีอัตราการตรึง CO₂ สุทธิคงที่และไม่เพิ่มขึ้นอีกต่อไป เมื่อมีความเข้มแสงมากกว่า 250 μmol m⁻² s⁻¹ ซึ่งเป็นค่า light saturation point ของมะม่วง

ข้อนี้ใช้ความรู้เรื่อง
– กลุ่มสิ่งมีชีวิตหัวข้อสายใยอาหาร
– ระบบนิเวศและความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต
– การขยายทางชีวภาพ (biomagnification)

จากภาพเป็นสายใยอาหารที่มีต้นข้าวและต้นไทรเป็นผู้ผลิต และมีตั๊กแตน หนูนา นกชนิด A ด้วงกว่าง นกชนิด B และงูเขียวหางไหม้เป็นผู้บริโภค และมีนกอินทรีเป็นผู้บริโภคสูงที่สุด ดังนั้น

  1. ตอบ ไม่ใช่ เพราะ นกชนิด A เป็นผู้บริโภคลำดับที่ 1 ส่วนนกชนิด B เป็นผู้บริโภคลำดับที่ 2
  2. ตอบ ใช่ เพราะ งูเขียวหางไหม้กินหนูนา ดังนั้นเมื่ออาหารของงูเขียวหางไหม้ลดลง ทำให้จำนวนงูเขียวหางไหม้ลดลง
  3. ตอบ ใช่ เพราะ งูเขียวหางไหม้อยู่ลำดับขั้นการกินที่สูงกว่าหนูนา โดยยาฆ่าแมลงเป็นสารพิษซึ่งจะสะสมในสิ่งมีชีวิตที่มีลำดับขั้นการกินสูง ๆ มาก ดังนั้นยาฆ่าแมลงจะสะสมในงูเขียวหางไหม้มากกว่าหนูนา

ติวออนไลน์พิชิต A-Level ชีวะ

คอร์สสรุปเนื้อหาชีวะ ม.ปลาย 3 ปี ใน 200 คอนเช็ปต์ เน้นเฉพาะเนื้อหาที่ออกสอบ จบใน 27 ชั่วโมง พร้อมหนังสือประกอบการเรียน มีภาพประกอบช่วยให้เข้าใจง่ายมากขึ้น ใช้ทบทวนสั้นๆ โค้งสุดท้ายก่อนสอบ สนใจคอร์สเรียนคลิกดูรายละเอียดและทดลองเรียนก่อนที่กล่องด้านล่างได้เลย

คอร์สตะลุยโจทย์ชีวะ A-Level วัดความเข้าใจเนื้อหา เพิ่มความแม่นยำก่อนสอบ ตะลุยโจทย์แบบจัดเต็ม 625 ข้อ โจทย์อัปเดตตามแนวข้อสอบแบบใหม่ สสวท. รวมทั้งโจทย์แนวเลือกตอบเชิงซ้อนที่ออกสอบ A-Level ที่กำลังจะถึงนี้ด้วย สนใจคอร์สเรียนคลิกดูรายละเอียดและทดลองเรียนก่อนที่กล่องด้านล่างได้เลย

รีวิวจากรุ่นพี่ #Dek65 ติวกับอ.อุ้ย แล้วดียังไง

รีวิวคอร์ส TCAS A-Level ชีวะ Dek-D School

สอบถามเพิ่มเติม และปรึกษาพี่ๆ Dek-D School ได้เลยที่ Line @schooldekd และติดตามข่าวสารการเตรียมตัวสอบได้ที่ช่องทางต่างๆ ต่อไปนี้

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular

Recent Comments