แม้จะมีเทคนิคมากมายที่จะพัฒนาลูกไปสู่ความสำเร็จได้ แต่การจะพาลูกไปสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จได้นั้น ความเป็นทีมเวิร์คของครอบครัวก็สำคัญไม่แพ้ไปกว่าเทคนิคอื่นๆ เลยล่ะค่ะ
การพัฒนาลูกทางสายแข่งขันทางวิชาการต้องทำยังไง การจะเป็นทีมเวิร์คต้องทำยังไงบ้าง วันนี้ Dek-D School จะพาไปทำความรู้จักกับครอบครัวคุณหมอ จากจังหวัดราชบุรี ที่พัฒนาลูกจนประสบความสำเร็จคว้ารางวัลทางด้านวิชาการทั้งวิชาคณิตศาสตร์มาแล้วมากมาย หนึ่งในนั้นก็คือการผ่าน สอวน. คณิตศาสตร์ค่าย2 ตั้งแต่ระดับชั้นม.2 ว่าแล้วก็ไปทำความรู้จักกันเลยค่ะ
ก่อนอื่นให้คุณแม่แนะนำตัวก่อนค่ะ
คุณแม่ชื่อแพทย์หญิงปาจรีย์ อารีย์รบ ตอนนี้คุณแม่เป็นรองนายแพทย์สาธารณสุข จังหวัดราชบุรีค่ะ ส่วนลูกชาย คือเด็กชายกฤติน อารีย์รบ น้องเนนโน่ค่ะ ปีนี้น้องจะขึ้น ม.3 แล้วค่ะ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี ค่ะ
เริ่มต้นปูพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้ลูกตั้งแต่เด็กจนฉายแววความเป็นเลิศ
ตอนเล็กๆ เนี่ย ปกติน้องจะเป็นเด็กช่างสงสัย จะมีคำถาม แล้วก็ถามทั้งคุณพ่อคุณแม่หรือถามผู้ใหญ่อยู่เรื่อยๆ ในส่วนของคณิตศาสตร์ที่เขามีแววเเพราะเราเติมพื้นฐานให้เขาตั้งแต่เด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการนับ แล้วก็เริ่มต้นก็ไปเรียนที่คุมองเพื่อให้เขาฝึกเรียนรู้ในเรื่องของการทักษะคณิตศาสตร์ฝึกความมีวินัยด้วย
ตอนเล็กๆ จริงๆ แล้วไม่ได้เน้นเรื่องของวิชาการสักเท่าไหร่นะคะ พยายามให้เขามีกิจกรรมมากกว่าและเน้นเรื่องของทักษะชีวิตต่างๆ เรื่องของกิจกรรมกีฬา ออกกำลังกายประมาณนี้ เรื่องเรียนก็ส่วนที่โรงเรียน ไม่ได้เน้นว่าเขาต้องเรียนอย่างเดียว พยายามให้เขาแบบจัดตารางชีวิตโดยที่เขายังมีความสุขในวัยเด็กเป็นหลักใหญ่ กิจกรรมไหนที่เขาอยากทำเขาชอบก็จะเป็นลักษณะที่จะสนับสนุนให้เขาทำ
เริ่มต้นสู่สายสนามแข่งทางวิชาการตอนป.3
ในช่วงประถมต้นจะเป็นการเรียนอยู่ในห้องเรียน แล้วก็มาเพิ่มเติมเรื่องของแบบฝึกหัดต่างๆ ที่ให้เขาได้ฝึกทักษะ เรื่องเรียนพิเศษก็ไม่ได้ไปเรียนอะไรเพิ่มเติม เริ่มแข่งครั้งแรกตอน ป.3 เทอม 2 เป็นของ สสวท. แข่งครั้งแรกก็จะเป็นวิชาคณิตและวิทย์ ตอนนั้นยังไม่ได้เหรียญทองค่ะ
“เราให้เขาสอบเพื่อที่จะเรียนรู้ว่าอะไรที่ยังทำไม่ได้ อะไรที่ยังไม่รู้ทั้งหมด เพื่อให้เขาได้เรียนรู้ แล้วก็พัฒนาตัวเองต่อได้ ไม่ใช่แค่เรียนไปเรื่อยๆ”
ลงสอบแข่งขันเพื่อพัฒนาตัวเองและเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ อยู่เสมอ
ในช่วงประถมปลายก็มีการสอบต่างๆ เราให้เขาสอบเพื่อที่จะเรียนรู้ว่าอะไรที่ยังทำไม่ได้ อะไรที่ยังไม่รู้ทั้งหมด เพื่อให้เขาได้เรียนรู้ แล้วก็พัฒนาตัวเองต่อได้ ไม่ใช่แค่เรียนไปเรื่อยๆ จะเห็นว่าน้องเขามีการสอบแข่งขันคณิตศาสตร์เพิ่มมากขึ้น สอบเกือบทุกเวทีที่มีเพื่อจะรู้ว่า เขาอยู่ในระดับไหน ถ้าเทียบกับจังหวัดเป็นยังไง เทียบกับประเทศ เทียบกับเขตเป็นยังไง เพื่อพัฒนาตัวเอง รู้ว่าเรายังขาดอะไร เรายังมีอะไรที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมมากขึ้น
เวลาที่ไปแข่งแต่ละรายการน้องจะได้ประสบการณ์ที่ไม่เหมือนกัน เพราะลักษณะของแต่ละเวที แต่ละสนามสอบมีความโดดเด่นของแต่ละสนามของเขา บางสนามเน้นเรื่องของความเร็ว บางสนามเน้นเรื่องของความแม่นยำถูกต้องต่างๆ แต่ละสนามที่ไปแข่งอาจจะได้รางวัลชมเชยบ้าง อาจจะได้เหรียญทองบ้าง น้องมีโอกาสได้ไปแข่งรายการ AIMO ที่ฮ่องกงค่ะ ตอนนั้นได้เหรียญเงินมาค่ะ ซึ่งแต่ละสนามก็ได้ประสบการณ์ที่แตกต่างกันกลับมา
ฝึกทำโจทย์และเรียนออนไลน์ด้วยตัวเองจนติดค่าย 1 โอลิมปิกวิชาการตั้งแต่ม.1 และสอบผ่าน สอวน. คณิตศาสตร์ค่าย2 ตอน ม.2
ไม่ได้ออกไปติวข้างนอกเลย แค่ฝึกทำโจทย์ที่มี และเรียนคอร์สออนไลน์กับ Dek D School ที่ ดร.กิ๊ฟ (ผศ.ดร.วิทวัชร์ โฆษิตวัฒนฤกษ์) สอน ตอนเรียนของ ดร.กิ๊ฟ ดร.กิ๊ฟจะช่วยสอนเรื่องที่ไม่เข้าใจให้เข้าใจกระจ่างมากขึ้น แล้วมันก็ส่งผลตอน ม.2 ที่เห็นชัดเลยเจนเลยว่า พื้นฐานสี่เสาหลักสอวน. อย่างเรื่องพีทากอรัส ทฤษฎีจำนวน เรขาคณิต แล้วก็พีชคณิต ที่ดร.กิ๊ฟ จะแยกเป็นเรื่องๆ ตอนสอน ทำให้รู้ว่าถ้าจะเน้นเรื่องสอวน. ต้องไปเน้นใน 4 เรื่องหลักนี้ ซึ่งน้องก็ให้คุณพ่อคุณแม่หาหนังสือมาให้อ่านเพิ่มเติม
ในส่วนของค่ายปี ม.1 ไปได้แค่ค่าย 1 พอ ม.2 ก็เตรียมตัวเพิ่ม น้องก็มาประเมินตัวเองว่าเราบกพร่องในส่วนไหน การเตรียมตัวก็คือสะสมความรู้มากขึ้น ฝึกทำมากขึ้นก็ไปถึง สอวน. คณิตศาสตร์ค่าย2 ตรงนี้หวังว่าลึกๆ อยากให้เขาผ่านเข้าไปรอบต่อไป ก็อยู่ที่ความสามารถเขา เขาได้เรียนรู้มากน้อยแค่ไหน สามารถที่จะตอบปัญหาตอนสอบได้ดีขึ้นแค่ไหน
ทำไมต้องเลือกเรียนออนไลน์?
ที่เลือกเรียนออนไลน์เพราะบางเรื่องต้องมีการอธิบายที่เป็นเชิงทฤษฎี การที่เขาอ่านเอง เขาอาจเข้าใจยังไม่ได้ทั้งหมดค่ะ แต่การเรียนออนไลน์โดยอาจารย์ที่เรามองเห็นความสามารถ มันก็จะได้เสริมในส่วนที่เขาขาด เสริมในสิ่งยังไม่เติมเต็มความรู้เขา และที่สำคัญการเรียนออนไลน์มันดีที่ว่าเราสามารถดูแลเขา เห็นได้ว่าเขากำลังตั้งใจเรียนหรือเปล่า ถ้าเหนื่อยจะพักเขาหยุดได้ พอสได้ และเขาก็พักได้ รีแลกซ์ได้ แต่ถ้าเกิดไปเรียนข้างนอกซึ่งอยู่ในระบบการเรียนยาวๆ เขาเหนื่อยเขาล้า เขาไม่ได้สนใจ มันหยุดอะไรไม่ได้ ไม่มีใครถอยหลังกลับมาอธิบายให้ฟังใหม่อีกครั้งหนึ่ง เพราะฉะนั้นเขาเรียนออนไลน์แบบนี้ มันทำให้เขาได้พัฒนาตัวเองได้
เลือกเรียนกับอาจารย์ที่เชี่ยวชาญด้านนั้นจริงๆ
ถ้าเลือกอาจารย์สักคนมาสอนลูก ก็ต้องดูผลงานอาจารย์ด้วยว่าอาจารย์เขาอยู่ที่ไหน เป็นอาจารย์ที่ดูแลการสอบประเภทไหน อย่างดร.กิ๊ฟ ดูสอวน. ก็จะดูผลงานของอาจารย์ที่ดูแลเด็กขึ้นมา อย่างน้อยพอมันตรงแนว และเราได้ดูตัวอย่างการสอน ลูกลองเรียนแล้วถูกใจก็เลือกเลย เพราะว่าอาจารย์สอนออนไลน์บางคน พอนั่งฟังนั่งเรียนมันไม่ตรงไม่ถูกจริตกับเขา บางครั้งนั่งเรียนไปก็ไม่มีประโยชน์ เพราะความใส่ใจจะน้อย ถ้าเกิดเรียนแล้วเลือกดูแล้วเขาถูกใจ เขาเข้าใจภาษาที่เขาสอนอะไรต่างๆ ก็จะง่าย ความตั้งใจในการเรียนรู้เขาก็จะมากขึ้น อย่างตอนมาเรียนกับ ดร.กิ๊ฟ น้องเข้าใจค่ะ ก็ทำให้บางเรื่องที่เราอธิบายแล้วไม่เข้าใจ หรืออ่านเองไม่เข้าใจ ตรงนี้ทำให้แก้ปัญหาของเขาได้เยอะเลย
เทคนิคเรียนออนไลน์ต้องฝึกทำโจทย์ด้วยตัวเองก่อน
เวลาเรียนออนไลน์น้องจะลองคิดคำตอบด้วยตัวเองก่อน แล้วค่อยไปดูเฉลยของอาจารย์ ซึ่งบางวิธีไม่ตรงตามที่อาจารย์เฉลยแต่สามารถหาคำตอบได้เหมือนกัน และเมื่อเขาเข้าไปดูเฉลยบางครั้งก็จะได้วิธีใหม่ ซึ่งการฝึกอย่างนี้จะทำให้เขาได้คิดวิธีของเขาเองด้วยและได้วิธีใหม่ด้วย
ทีมพ่อแม่ลูกสำคัญมากๆ ที่พัฒนาลูกให้เก่งทางด้านวิชาการได้
สิ่งที่จะต้องให้กับลูกอันที่หนึ่งคือเวลา อันที่สองคือสิ่งที่เขาชอบ สิ่งที่เขาถนัด เราสนับสนุนเขาได้มากน้อยแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็นตำรา ไม่ว่าจะเป็นสื่อการเรียนการสอนต่างๆ อาจารย์ที่สามารถจะสอนได้ เราต้องเตรียมให้เขาเพื่อที่จะวางแผนร่วมกัน และเป็นทีมเดียวกัน ส่วนที่เขาต้องฝึกเองทำเอง ก็ต้องเป็นลักษณะทีมที่ช่วยให้กำลังใจให้เพราะบางครั้งเด็กๆ เขาท้อเขาเหนื่อย เราก็อยู่เป็นทีมให้กำลังใจ เชียร์อัพ ให้เขาได้ฝึก ได้ทำให้มากขึ้น เหนื่อยก็พัก เดี๋ยวเราก็ชวนมาลุยมาทำกันใหม่ แต่เราก็จะวางแผนกันไว้ว่าช่วงไหนสอบอะไร เราก็เตรียมเหล่านั้น น้องก็จะต้องมีส่วนร่วมในการที่มาคุยกับเรา เพราะคนที่นั่งทำมากที่สุดคือน้อง เพราะฉะนั้นน้องจะทำอะไรแค่ไหนต้องแบ่งเวลา ต้องฝึกให้เขา รู้จักแบ่งเวลาให้เป็นด้วย
อ่านมาถึงตรงนี้แล้วจะเห็นว่าสิ่งที่คุณหมอปาจรีย์พยายามเน้นอยู่เสมอในการพัฒนาลูก ไม่ใช่แค่การเรียนพิเศษ ไม่แค่การฝึกทำโจทย์ เท่านั้น แต่สิ่งที่สำคัญมากๆ ที่สำคัญที่สุดก็คือ ครอบครัวที่จะร่วมวางแผน ร่วมเดินไปบนเส้นทางนี้พร้อมๆ กับลูก เพื่อนำไปสู่ปลายทางที่วางเอาไว้นั่นเองค่ะ
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่อยากให้น้องๆ ได้ลองเปิดประสบการณ์การแข่งขันค่ายวิชาการอย่างสอวน. สามารถเตรียมตัวสอบสอวน.ผ่านการติวออนไลน์กับ Dek-D School ทวนซ้ำได้ไม่จำกัดตลอด1ปี สอนโดยอาจารย์อดีตตัวแทนประเทศในการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ และอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญที่คลุกคลีกับวงการโอลิมปิกวิชาการมากกว่า 10 ปี ปิดจุดอ่อน เสริมจุดแข็งผ่านการทำความเข้าใจเนื้อหา ที่มาของสูตร และนำมาประยุกต์ใช้ผ่านการทำโจทย์ที่หลากหลาย รวมทั้งอัพเดทเฉลยข้อสอบปีล่าสุดชี้จุดที่น้องๆ ชอบพลาดให้ด้วย
โดยคอร์สพิชิตสอวน.นั้น น้องๆ สามารถทบทวนซ้ำได้ไม่จำกัดถึง 1 ปี ที่สำคัญที่สุดแม้ว่าจะเป็นการเรียนออนไลน์ แต่น้องๆ ทุกคนสามารถสอบถามข้อสงสัยกับอาจารย์ผู้สอนได้พร้อมรับแจ้งเตือนเมื่อมีการตอบกลับ โดยสามารถสมัครเรียนได้โดยการคลิกเลือกรายวิชาด้านล่างได้เลยค่ะ สำหรับน้องๆ ที่ยังลัเลสามารถทดลองเรียนคอร์สพิชิต สอวน. ได้เลยค่ะ
ทั้งนี้น้องๆ ยังสามารถติดตามสาระความรู้และข่าวสารสำหรับการสอบ สอวน.ได้ที่ Facebook : Dek-D School : คอร์สออนไลน์คุณภาพ ที่เรียนได้ทุกคนวางแผนเตรียมสอบสอวน.กับ พี่ๆ Dek-D School ได้ฟรี!!!ที่ Line @schooldekd