HomeTCASผ่าข้อสอบ PAT2 ปี63 เตรียมตัวสอบยังไงให้คะแนน 150 UP !!!

ผ่าข้อสอบ PAT2 ปี63 เตรียมตัวสอบยังไงให้คะแนน 150 UP !!!

สวัสค่ะน้องๆ พี่มุกกลับมาเเล้วววว มาพร้อมกับผ่าข้อสอบ PAT2 ปี 63 ที่บอกเลยว่าน้องๆ Dek 64 ต้องรู้ !!!! เพราะจะได้นำไปเป็นเเนวทางในการเตรียมตัวอ่านหนังสือกันล่วงหน้าค่ะ พี่มุกเชื่อว่าสถานการณ์ COVID – 19 ทำให้เราต้องปรับตัวกันเยอะมากก หลายคนที่ไม่ชินกับการเรียนออนไลน์ก็ต้องปรับตัวเรียกว่าต้องปรับตัวกันทั้งนักเรียนเเละอาจารย์ผู้สอนเลย เเต่อย่าเพิ่งท้อนะคะเพราะ Dek-D School เราเป็นศูนย์รวมทุกอย่างพร้อมที่จะช่วยให้น้องๆ สอบติดคณะในฝันไปพร้อมๆ กันค่ะ 🙂 

มาเริ่มกันเลยโดยก่อนอื่นเราลองมาดูรูปเเบบเเละสัดส่วนเเต่ละวิชาของข้อสอบ PAT2 กันก่อน คำถามในข้อสอบ PAT2 ทั้งฉบับจะเป็นคำถามในรูปแบบปรนัย 5 ตัวเลือก มีทั้งหมด 100 ข้อ ข้อละ 3 คะแนน รวมทั้งหมด 300 คะแนน ทั้งหมดนี้ต้องเสร็จภายใน 3 ชั่วโมง เท่ากับว่าใน 1 ข้อ น้องๆ มีเวลาในการทำข้อนั้นเฉลี่ยข้อละ 1 นาที 48 วินาที โดยเเบ่งสัดส่วนเป็น 5 วิชาเเต่ที่พี่มุกจะมาวิเคราะห์รายบทให้ดูวันนี้คือ 3 วิชาดังนี้

  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีวะ
  • บทออกบ่อย ฟิสิกส์- PAT2

    เเสง : ยังคงเป็นหัวข้อที่ออกบ่อยเเละออกเยอะที่สุดเกมือนเดิม ซึ่งข้อสอบมักจะให้เลนส์นูนเลนส์เว้ามาเเล้ววัดระยะการเกิดภาพ การตกกระทบ เเละชนิดของภาพที่ได้ซึ่งไม่ได้ยากมาก น้องๆ น่าจะเก็บคะเเนนในเรื่องนี้ได้อย่างสบายๆ เลย  

    ไฟฟ้าเเม่เหล็กเเละไฟฟ้ากระเเส : 2 หัวข้อนี้ออกจำนวนข้อเท่ากัน โดยข้อสอบมันจะให้รูปภาพวงจรมาเเละถามหาจำนวนพลังงานต่างๆ ใช้สูตรเเทนคาาได้ เเต่จุดที่ต้องระวังคืออย่าเผลอใช้สูตรไฟฟ้าเเม่เหล็กเเละไฟฟ้ากระเเสสลับกันนะคะ 

    งานและพลังงาน + กฎการเคลื่อนที่เเละการเคลื่อนที่เเบบต่างๆ : เรื่องนี้ไม่ยากถ้าน้องๆ เข้าใจสูตร รับรองว่าทำโจทย์ได้อย่างเเน่นอน เรื่องนี้มักมาพร้อมกับเเรง มวล เเละกฏการเคลื่อนที่ น้องๆ คนไหนที่ยังไม่เข้าใจลองอ่านบทความนี้ดูได้เลย..  ทวงคืนคะแนน PAT3 ตอนแรง มวล และกฎการเคลื่อนที่

    คลื่น : มักออกสอบเรื่องสมบัติของคลื่นชนิดต่างๆ ทั้งคลื่นกล คลื่นเสียงใครที่ยังไม่เเม่นอ่านทบทวนได้ตรงนี้เลย.. ฟิตเพิ่มเกรด ฟิสิกส์ ม.ปลาย – สมบัติของคลื่นกล

    ของไหล : ของไหลจะออกบ่อยมากก ออกทุกปีอย่างน้อยปีละข้อ ลองมาทบทวนเนื้อหาพร้อมเทคนิคในการทำโจทย์กัน..  ทวงคืนคะแนน PAT2 ของไหล

    ฟิสิกส์อะตอม : PAT2 มักจะออก 3 เรื่องด้วยกัน คือแบบจำลองอะตอมของโบร์ อะตอมของไฮโดรเจน และปรากฎการณ์โฟโตอิเล็กตริก ถ้าน้องๆ อ่านไม่ทัน ขอแนะนำให้อ่านเน้นๆ แค่ 3 เรื่องนี้ไปเลย หรือตามไปอ่านในบทความนี้เลยรับรองว่าเข้าใจขึ้นเเน่นอน.. ทวงคืนคะแนน PAT2 ฟิสิกส์อะตอม

    สำหรับวิชาฟิสิกส์นั้นใครที่ยังไม่มั่นใจในบทไหนพี่มุกเเนะนำว่าให้ทำโจทย์เยอะๆ ซึ่งพี่มุกได้รวมลิ้งค์โจทย์ฟิสิกส์ที่น่าสนใจไว้ให้ตรงนี้เเล้วจ้า 

    บทออกบ่อย เคมี-PAT2

    ต่อไปจะเป็นเคมีที่ปีนี้ดูเหมือนจะออกเเทบทุกบทเเต่พี่มุกก็เลือก 5 บทที่ออกบ่อยเเละเก็บคะแนนง่ายอยู่เหมือนกัน มาดูกันเลยจ้า ^^ 

    1. สารประกอบอินทรีย์
    2. ปริมาณสารสัมพันธ์ 1 และ 2
    3. พันธะเคมี
    4. ปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี
    5. กรด – เบส

    เคมีอินทรีย์ เรื่องที่ข้อสอบชอบออกบ่อยมีดังนี้

    • ไอโซเมอร์ : มักจะให้โครงสร้างมาเเล้วถามว่าโครงสร้างนี้เป็นไอโซเมอร์ได้กี่เเบบหรือมีไอโซเมอร์รูปร่างไหนได้บ้าง ซึ่งจริงๆ แล้วข้อนี้ควรเป็นข้อที่เก็บคะแนนได้ เเต่ข้อสอบเรื่องนี้ในปีหลังๆ โจทย์ให้สารที่มีสูตรโครงสร้างยากขึ้น น้องๆ บางคนอาจไม่คุ้นเคย ซึ่งแนะนำว่าให้ทำโจทย์เยอะๆ จะเห็นสารที่มีสูตรโครงสร้างหลากหลายแล้วน้องๆ จะเก็บคะแนนข้อนี้ได้
    • สมบัติของหมู่ฟังก์ชันต่างๆ : เรื่องนี้โจทย์มักจะออกแนวประยุกต์ คือให้สารมาเเล้วให้ตัวเลือกเป็นสมบัติต่างๆ เพื่อถามว่าข้อใดสรุปถูกต้อง ซึ่งน้องๆ ต้องเข้าใจสมบัติของหมู่ฟังชันก์ต่างๆ ที่เห็นข้อสอบออกบ่อยคือ Alkane เช่น Br2 , Cl2 เป็นต้น

    ปริมาณสารสัมพันธ์ 1 และ 2 เป็นพาร์ตคำนวณที่เป็นเนื้อหาใน ม.4 เเละ ม.5 ที่ถ้าน้องๆ คนไหนที่จับจุดคำนวณถูกบอกเลยว่าโกยคะเเนนจากตรงนี้ได้เยอะอยู่ บทที่ออกบ่อยมีดังนี้

    • หน่วยสัมพันธ์ : เรื่องนี้อาจไม่ได้ออกตรงๆ แต่โจทย์มักจะแทรกเรื่องนี้มาในเรื่องการเตรียมสารละลายต่างๆ เป็นจุดที่ข้อสอบหลอกและน้องๆ มักพลาดกันอย่างน่าเสียดาย จึงอยากให้น้องๆ ระวังเรื่องหน่วยให้ดีไม่ว่าจะเป็นการทำโจทย์ในเรื่องปริมาณสาร สมดุลเคมีหรือกรด-เบส หน่วยต่างๆ นี่สำคัญมาก !!!! ใครที่ยังไม่มั่นใจเรื่องการเปลี่ยนหน่วยเข้าไปทบทวนได้ในบทความนี้เลยจ้า.. ทวงคืนคะเเนน PAT2 เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์
    • สารละลาย : เรื่องสารละลายที่ออกบ่อยมักจะเป็นเรื่อง Molarity (M) Molality (m) เเละ % โดย.. (% โดยมวล, % โดยปริมาตร เเละ % โดยมวลต่อปริมาตร) สามสิ่งนี้ออกบ่อยมาก!! น้องๆ สามารถดูเเนวข้อสอบทบทวนได้ในบทความนี้เลย.. ฟิตเพิ่มเกรด เคมี ม.ปลาย – สารละลาย
    • สมการเคมี : เรื่องนี้จะเน้นไปที่การนำเอาไปประยุกต์ใช้ ในกรณีที่โจทย์ให้สมการเคมีมา สิ่งเเรกที่น้องๆ ต้องทำคือ ดุลสมการ ซึ่งน้องๆ สามารถฝึกดุลสมการให้คล่องได้จากบทความนี้เลยจ้า.. ฟิตเพิ่มเกรด เคมี ม.ปลาย – การดุลสมการเคมี

    พันธะเคมี เรื่องนี้น้องๆ บางคนอาจยอมเเพ้เเต่พี่มุกบอกเลยว่าถ้าเข้าใจเเละจับจุดถูกการทำข้อสอบพันธะเคมีจะไม่ยากอีกต่อไป ไปดูบทที่ออกบ่อยของเรื่องนี้กันเลย 

    • พันธะไอออนิก : มักจะออกในเเนวข้อใดถูก – ข้อใดผิด ซึ่งน้องๆ ต้องรู้หลักการเกิดของพันธะ สมบัติต่างๆ เเละการอ่านชื่อสารประกอบไอออนิก
    • พันธะโคเวเลนต์ : เรื่องนี้เน้นออกเรื่องรูปร่างพันธะ สภาพขั้ว ความยาวพันธะ เเละพลังงานพันธะ ถ้าเข้าใจหลักการเกิดรูปร่างพันธะเเต่ละเเบบก็สามารถทำข้อสอบได้อย่างๆ สบายเลย เเละพี่ๆ ก็มีบทความที่จะทำให้น้องๆ เข้าใจเรื่องรูปร่างพันธะเเบบไม่ต้องท่องจำมาฝากกัน.. ฟิตเพิ่มเกรดเคมี ม.ปลาย – พันธะเคมี

    กรด – เบส เรื่องนี้กล้าบอกเลยว่าออกสอบทุกปี!! เพราะถือเป็นหัวใจหลักของพาร์ตคำนวณที่สามารถพลิกเเพลงโจทย์ได้ “การเเตกตัวเเละคู่กรด – คู่เบส” เน้นๆ ไปที่สองหัวข้อนี้เลย เพราะถือเป็นเรื่องปราบเซียนที่น้องๆ มักจะยังไม่เเน่ใจว่าสารไหนเเตกตัวเเล้วได้กรดอ่อนหรือกรดเเก่ โดยจะสรุปให้ง่ายๆ เเบบนี้จ้า..

    • กรดเเก่ เบสเเก่ ไม่คิดค่า K เพราะเเตกตัวเร็วมาก (น้องๆ บางคนจำว่ากรดเเก่ เบสเเก่ เเตกตัวได้ 100% ไม่ใช่นะ!!)
    • กรดเเก่ที่ควรรู้  : HClO4, HNO3, HCl, H2SO4 
    • เบสเเก่ที่ควรรู้ : ธาตุหมู่ I, II + OH
    • ส่วนน้องๆ คนไหนที่อยากลองทำโจทย์นี้เลยจ้า Quiz เรื่องกรด – เบส ฟิตเพิ่มเกรด เคมี ม.ปลาย – กรด เบส เเละ ทวงคืนคะเเนน PAT2 เรื่อง กรด-เบส ที่จะทำให้น้องๆ เข้าใจเเละวิเคราะห์โจทย์ได้ดียิ่งขึ้น 

    ปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี เรื่องนี้เป็นเนื้อหา ม.6 ที่คล้ายกับเนื้อหาวิชาฟิสิกส์ มาลองดูกันว่าบทไหนออกบ่อย

    • หลักการดุลสมการรีดอกซ์ : น้องๆ ต้องมีความรู้ในเรื่องเลขออกซิเดชันก่อนจึงจะสามารถดุลสมการรีดอกซ์ได้ ซึ่งน้องๆ สามารถอ่านทบทวนเรื่องการหาเลขออกซิเดชันได้ในลิ้งค์นี้เลยจ้า ฟิตเพิ่มเกรด เคมี ม.ปลาย – เลขออกซิเดชัน
      โดยที่หลักการดุลสมการรีดอกซ์มี 3 ข้อใหญ่ๆ คือ
      1. หาว่าธาตุตัวใดมีเลขออกซิเดชัน เพิ่ม หรือ ลด 
      2. นำเลขออกซิเดชันที่เพิ่มหรือลดคูณไขว้กัน 
      3. กรณีสารตั้งต้นมีเลขห้อยให้เอาเลขห้อยคูณก่อนเเล้วจึงคูณไขว้
    • เซลล์กัลวานิก : หัวข้อที่ชอบออกบ่อยของเรื่องนี้คือ Eo Cell เเละเเผนภาพปฏิกิริยาครึ่งเซลล์โดยลักษณะโจทย์มักจะให้ภาพหรือให้สมการเเละถามหาเเผนภาพครึ่งเซลล์  

    บทออกบ่อย ชีวะ-PAT2

    มาถึงวิชาสุดท้ายอย่างชีวะที่เน้นความเข้าใจซึ่งน้องๆ หวังเก็บคะเเนนกับวิชานี้อยู่ไม่น้อยเราลองมาดูกันว่าบทออกบ่อยของชีวะมีเรื่องไหนบ้าง

    ระบบสืบพันธุ์ : ปีนี้บทที่ออกเยอะเป็นเรื่องระบบสืบพันธุ์ที่มีทั้ง ระบบสืบพันธุ์เพศชายเเละระบบสืบพันธุ์เพศหญิงเเละเนื้อหาในบทนี้ยังเชื่อมโยงไปยังเรื่องฮอร์โมนเพศเเละการเจริญเติบโตได้อีกด้วยเรียกว่าเป็นบทที่ไม่ยากมากเเต่ต้องอาศัยความเข้าใจค่ะ น้องๆ สามารถเข้าไปทบทวนเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่นี้เลย … สรุปเนื้อหาเน้นๆ ระบบฮอร์โมนเก็งจุดยาก ไม่พลาดจุดง่ายใน PAT2 ชีวะ

    ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต : เรื่องที่ถือเป็นบทใหญ่เเละเยอะมากกกกมีข้อหัวย่อยๆ ทั้งพืชเเละสัตว์ เรื่องนี้อาจต้องเน้นการจำเป็นเเผนภาพ โดยจะมีเกณฑ์การจำเเนกออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ อยู่ 3 กลุ่มคือ

    1. Fungi
    2. Plantae
    3. Animal

    การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม : ในเรื่องนี้บทที่ออกบ่อยก็คือโครโมโซมและยีนส์ โดยแบ่งเป็นเนื้อหาย่อยๆ ได้แก่..

    • Autosome
    • X-linked & Y-linked
    • โรคความผิดปกติที่เกิดจากโครโมโซม
    • เเผนภาพ Pedigree

    ระบบนิเวศ : หัวข้อนี้ถือเป็นบทเเจกคะแนนให้น้องๆ เลย เพราะเน้นความเข้าใจที่บอกเลยว่าถ้าอ่านมานั้นทำได้เเน่นอนเเละสำหรับน้องๆ  ที่อยากเทคนิคในการทำข้อสอบสามารถอ่านได้จากลิงก์นี้เลย.. ทวงคืนคะเเนน PAT2 ระบบนิเวศเเละประชากร ส่วนน้องๆ ที่อยากรู้ว่าออกหัวข้อไหนบ้างนั้น ไปดูกันเลย

    • ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต : โดยเเบ่งเป็น 8 หัวข้อคือ 
      – ภาวะเกื้อกูล
      – ภาวะเเข่งขัน
      – ภาวะผู้ย่อยสลาย
      – ภาวะปรสิต
      – ภาวะพึ่งพา
      – ภาวะได้ประโยชน์ร่วมกัน
      – ภาวะผู้ล่า
      – ภาวะเป็นกลาง
    • การถ่ายถอดพลังงาน : มักให้คำนวณเปอร์เซ็นต์พลังงานที่ได้ในเเต่ละห่วงโซ่อาหารหรือเเต่ละลำดับขั้นในห่วงโซ่อาหาร 

    วิวัฒนาการ : เรื่องนี้ก็เเจกคะเเนนเช่นกันออกปีละ 2-3 ข้อ หัวข้อที่มักออกบ่อยคือ ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนเเปลงความถี่ยีน ซึ่งปัจจัยหลักที่ข้อสอบชอบถามคือ
    ความเเปรผันทางพันธุกรรม & Mutation ….กฎเมนเดล ลักษณะควบคุมยีนด้วยยีนหลายคู่คืออะไร ? คำถามจากคอร์สชีวะ อ.อุ้ย DEK-D’S SCHOOL เคลียร์ชัด เข้าใจง่าย คะเเนนพุ่งทุกสนามสอบ

    การสังเคราะห์ด้วยเเสง : ถือเป็นอีกหัวข้อใหญ่ที่เนื้อหาเยอะเเต่เก็บคะเเนนได้ง่ายถ้าอ่านมารับรองว่าต้องทำได้เเน่นอน หัวข้อที่ชอบออกคือ 

    น้องๆ สามารถดูโจทย์ชีวะ PAT2 เพิ่มเติมได้ในบทความนี้เลยจ้า 

    จบไปเเล้วกับการวิเคราะห์ข้อสอบ PAT2 อย่างละเอียดว่าบทไหนออกเยอะเเละออกเรื่องอะไรพี่มุกหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้น้องๆ วางเเผนจัดตารางการอ่านหนังสือของตัวเองได้ง่ายขึ้นเเละช่วยลดเวลาในการอ่านหนังสือของน้องๆ ลงทบทวนได้ถูกจุดมากยิ่งขึ้น ^^

    ส่วนน้องๆ คนไหนที่คิดว่าวิชานี้ เรื่องนี้ยังไม่พร้อม สามารถเข้าไปเลือกทบทวนเป็นรายบทได้กับ พิชิต TCAS รายบท หรือ พิชิต TCAS ครบทุกบท ซึ่งบอกเลยว่าใน คอร์สพิชิต TCAS นั้นคัดเรื่องที่ออกสอบบ่อยสรุปเฉพาะประเด็นสำคัญ เน้นการทำข้อสอบการตีความจากโจทย์ทำยังไงถึงจะไม่โดนโจทย์หลอกเเละเทคนิคในการทำข้อสอบซึ่งทั้งหมดนี้น้องๆ สามารถเรียนจบได้ภายในเวลาที่สั้นกว่าการเรียนในห้องหรืออ่านทบทวนเอง น้องๆ คนไหนสนใจติวออนไลน์กับ Dek-D School สามารถวางแผนติวกับ พี่ๆ Dek-D School ได้ฟรีที่ Line @schooldekd เลย

    พี่มุกและพี่บิวเป็นกำลังใจในน้องๆ Dek64 ทุกคนนะคะไม่มีอะไรยากเกินความตั้งใจเเละความพยายามของเราเเน่นอนค่ะ การสอบเข้ามหาลัยก็เหมือนการยิงธนูค่ะ มองตรงไปที่เป้า กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนเเล้วค่อยปล่อยพี่มุกเชื่อว่าสุดท้ายลูกธนูของน้องๆ ทุกคนจะต้องปักกลางเป้าหมายเเน่นอนค่ะ อย่ายอมเเพ้นะ!! 

    RELATED ARTICLES
    - Advertisment -

    Most Popular

    Recent Comments