Home Review เตรียมสอบทันตะฯ สไตล์ #Dek66 พร้อมแชร์แนวข้อสอบ TGAT TPAT อย่างละเอียด!!

เตรียมสอบทันตะฯ สไตล์ #Dek66 พร้อมแชร์แนวข้อสอบ TGAT TPAT อย่างละเอียด!!

0
2006

พี่เชื่อว่าน้องๆ ม.ปลายที่กำลังเตรียมสอบ TCAS อยู่ คงอยากจะรู้ว่าข้อสอบ TGAT TPAT ในปีนี้ เป็นยังไง เปลี่ยนแนวไปจากเดิมหรือไม่ ยากไหม ข้อสอบออกยังไง และต้องเตรียมตัวยังไงในการสอบถึงจะทำข้อสอบได้ วันนี้พี่เบลล์ที่เพิ่งไปสอบ TGAT และ TPAT มาสดๆ ร้อนๆ จะมาแชร์แนวข้อสอบ TGAT และ TPAT อย่างละเอียด นอกจากนี้พี่เบลล์จะมาแบ่งปันการ เตรียมสอบทันตะฯ และเทคนิคเตรียมสอบชีวะด้วย ไปติดตามได้เลยค่ะ

ก่อนอื่นให้น้องแนะนำตัวก่อนค่ะ

สวัสดีค่ะ ชื่อ อิสรารัศมิ์ ศรีสาครสุข ชื่อเล่น เบลล์ค่ะ เรียนจบม.6จาก โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์ จ.สตูล สอบติด TCAS65 รอบ2 คณะสหเวชศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ค่ะ  แต่สละสิทธ์ไป ปัจจุบันซิ่วอยู่บ้านเต็มตัวเลยค่า

จากเด็กซิ่วสู่การ เตรียมสอบทันตะฯ

การสอบปีที่แล้วรู้สึกว่าตัวเองยังไม่เต็มที่พอ มันคาใจ อยากจะลองใหม่ให้ถึงที่สุดค่ะ เลยเลือกที่จะซิ่วและตั้งเป้าหมายไว้ว่าอยากจะเข้าคณะทันตแพทย์ค่ะ ถ้าถามว่าทำไมถึงเป็นทันตะฯ มันเกิดจากการที่เราไม่ชอบคำนวณ แล้วก็ชอบพวกพาร์ทวิทย์อย่างชีววิทยามากกว่า เลยมานั่งดูว่ามันจะมีคณะอะไรบ้างที่เราน่าจะเรียนได้ ก็เลยคิดว่าจะเป็นสายวิทย์สุขภาพ ตอนประมาณม.3ก็ได้ไปจัดฟันรู้สึกว่ามันน่าสนุกจัง ผสมปูน พิมพ์ฟัน เราชอบสังเกตเวลาหมอทำงาน ซึ่งเราได้มีโอกาสไปฝึกงานที่รพ.ได้ไปที่คลินิกทันตกรรม ได้คุยกับพี่ๆ หมอฟันที่เพิ่งจบ แล้วก็ได้เข้าร่วมกิจกรรม open house ของคณะทันตแพทย์แล้วเราก็รู้สึกว่าชอบอะ มันเกิดจากการที่เราได้เห็น หาข้อมูล เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ มันทำให้เราตัดสินใจได้ง่ายขึ้น เลยตั้งเป้าหมายเป็นคณะทันตแพทย์ค่ะ

วางแผนเตรียมสอบทันตะฯ ด้วยการตั้ง Goal และเน้นคุณภาพการเรียนมากกว่าปริมาณ

น้องเบลล์ เตรียมสอบทันตะฯ

ข้อผิดพลาดที่เห็นได้ชัดจากปีที่แล้วคือ “เวลา” ค่ะ จัดการเวลายังไม่ดี พอเราวางแพลนผิด มันเลยลน วิชานู้นไม่ทัน งั้นเก็บก่อนดีกว่า พอเลือกเก็บเฉพาะวิชา ทำให้วิชาที่ไม่ได้เก็บผลลัพธ์เลยออกมาไม่ดี มันเลยทำให้เราสติแตกมากๆ จะบอกว่าตอนอยู่หน้าห้องสอบเหมือนว่าเราไม่พร้อมเลยสักวิชาค่ะ ปีนี้เลยพยายามจัดแพลนให้ดีขึ้น ตั้ง Goal ว่า ต้องจบวิชานี้ก่อนวันนี้นะเพราะจะได้มีเวลาไปทำโจทย์ด้วย การวางแผนต่างๆ เอามาปรับใช้ค่ะ แล้วก็อีกอย่างคือไม่เน้นเก็บครบเพราะปีก่อนเบลล์กังวลว่าเรียนไม่จบคอร์สกลัวจะสอบไม่ได้ทำให้ตะบี้ตะบันเรียน ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วสิ่งที่เรียนไปไม่มีผลเลยถ้าเราไม่ทวน เรียนจบคอร์สไม่ได้หมายความว่าจะทำข้อสอบได้ ปีนี้เลยเน้นไปที่คุณภาพมากกว่าปริมาณค่ะ

ปี 66 เน้นเตรียมสอบความถนัดแพทย์เป็นอย่างแรก

การ เตรียมสอบทันตะฯ ปีนี้อย่างแรกเลยคือ เบลล์ทุ่มเทให้ความถนัดแพทย์มากขึ้นค่ะ ปีก่อนๆ เราประมาทเกินไปคิดว่าเดี๋ยวค่อยอ่านตอนใกล้สอบ แต่จริงๆ แล้วมันต้องใช้เวลาในการฝึกฝน ทบทวน พาร์ทเชื่อมโยงของแพทย์จะมีความซับซ้อนกว่า ปีนี้เลยทุ่มให้ความถนัดแพทย์มากกว่าเดิมค่ะ ส่วนวิชาอื่นๆ เบลล์ก็วางแพลนเรียนเอาไว้มากขึ้น ไม่กระจุกวิชาใดวิชาหนึ่ง เพราะตอนสอบทุกวิชามีผลหมด ปีนี้เลยจัดตารางอ่านใหม่ให้ดีขึ้นค่ะ ได้เรียนเนื้อหาครบ และทำโจทย์ค่ะ

เมื่อเตรียมสอบแล้วต้องลองตั้งเป้าคะแนน แล้วไปคำนวนใน App เด็กดี TCAS ว่ามีโอกาสติดคณะในฝันหรือไม่

  • พวกพาร์ทคำนวณ คณิต ฟิสิกส์ เคมีนี่ เบลล์ขอ 50+ ก็เดชะบุญแล้วค่ะ 5555 เคยฟังจากครูผู้สอนท่านนึงเค้าบอกว่าให้เราตั้งเป้าสูงไว้ก่อน แล้วเราจะพยายามดีดตัวเองให้ทำเป้าหมายนั้นให้ได้ ส่วนตัวลองทำแล้วรู้สึกไม่ชอบตัวเองค่ะ มันรู้สึกว่าเรายังทำไม่ถึงขั้นนั้นสักที มันรู้สึกบั่นทอนกำลังใจเรา เลยเลือกเอาที่เราสบายใจค่ะ 
  • ส่วนไทยและสังคมสัก 60-70 ค่ะ อย่างที่บอกไปว่าเรารู้สึกว่าเราทำโจทย์ได้เยอะ ก็เน้นไปที่เรียนรู้จากข้อสอบเลยค่ะ เลยหวังสูงหน่อย 5555
  • อังกฤษและชีวะ 60+ ค่ะ ชีวะนี่เป็นวิชาที่เราชอบอยู่แล้วค่ะเลยตั้งเป้าไว้ประมาณนี้ก่อน ไม่อยากกดดันตัวเองเยอะว่าชอบแล้วต้องคะแนนดี ส่วนอังกฤษ เป็นวิชาที่ % ที่ใช้คำนวณคะแนนกสพทสูง เราเลยอยากให้เกินครึ่งมาสักหน่อยค่ะ ถามว่าถนัดวิชานี้ขนาดนั้นมั้ย ก็ไม่ค่ะ 55555 เลยเอาแค่เกินครึ่งมาก่อน
  • ความถนัดแพทย์ 200/300 ค่ะ เน้นโจทย์หนักมากค่ะวิชานี้ เน้นไปที่เชื่อมโยง เพราะเป็นพาร์ทที่เก็บ100เต็มได้ อีก 2พาร์ท ขอคนละครึ่งมาก็พอค่ะ 555555

ซึ่งคะแนนที่เบลล์ตั้งเป้าไว้ก็ลองเอาไปคำนวณคะแนนกสพท.ในแอปเด็กดี TCAS ค่ะ ว่ามันถึงเป้าหมายเรารึยัง เกินคะแนนต่ำสุดจากปีที่แล้วมาเยอะมั้ย ถ้ายังก็ลองมาปรับดูใหม่ว่าเราจะอัพคะแนนวิชาไหนดีให้ % รวมเราเพิ่มขึ้นค่ะ

ติดตามข่าวสารอยู่เสมอเพื่อให้พร้อมกับการเตรียมตัวสอบ

เตรียมสอบทันตะฯ

ตอนแรกที่รู้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงข้อสอบ ก็กังวลมากเลยค่ะ ไม่รู้ว่าจะออกมาในรูปแบบไหน สิ่งที่ทำตอนนั้นคือ ติดตามข่าวสารตลอดเลยค่ะ ก็ติดตามจาก App เด็กดี TCAS เลยค่ะ พอมีตัว Blue print ออกมา ก็เข้าไปดูเลยค่ะว่า แนวมันเป็นยังไง ลองทำโจทย์จากตัวอย่างข้อสอบที่ทปอ.ให้มาค่ะ สรุปคือวิธีการรับมือของเบลล์ก็ ติดตามข่าวสารค่ะ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงใหม่ ต้องตามให้ทันค่ะ

รีวิวการสอบ  TGAT และ TPAT1

TGAT จำนวนข้อทั้งหมด 200ข้อ ใน 3ชม. 3พาร์ท ข้อสอบจะรวมทั้ง 3พาร์ทในเล่มเดียวเลยค่ะ ตั้งแต่สอบมาฉบับนี้คือหนาที่สุด! สิ่งที่สำคัญมากๆๆ ของข้อสอบ TGAT คือ เวลา เพราะเฉลี่ยอยู่ที่ข้อละ 54วินาที 

เบลล์ก็เริ่มจากทำในส่วนของ TGAT3 ก่อนเลยค่ะ มี 60ข้อ ที่ทำพาร์ทนี้ก่อนเพราะโจทย์ยาวกว่า แล้วก็ส่วนตัวแล้วรู้สึกว่าพาร์ทนี้ตัดช้อยส์ง่ายกว่าค่ะ ลักษณะข้อสอบก็เป็นยกตัวอย่างเหตุการณ์มาให้ แล้วถามว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นจากตัวอย่างเหตุการณ์เราจะแก้ไข้ยังไง ควรทำอะไรเป็นอย่างแรก แก้ไขแล้วเกิดประโยชน์อะไร ต้องติดตามผลที่ตามมายังไง 

พาร์ทที่ทำต่อไปคือ TGAT1 ก็คือเป็นข้อสอบภาษาอังกฤษค่ะ มี 60ข้อ พาร์ท conversation รู้สึกว่าง่ายขึ้นนะคะจากปีก่อน บางข้อคือตอบได้เลย พาร์ท reading มียากง่ายปนๆ กันไปค่ะ มีคำศัพท์บางคำที่เราไม่รู้ แต่ก็พอเดาๆ จากบริบทของประโยคได้ค่ะ แต่บางข้อก็เดาไม่ได้ค่ะ ดังนั้น vocab อย่าประมาทนะคะ พาร์ทนี้เบลล์ทำไม่ทันในส่วนของ passage สุดท้ายค่ะ เดากระจุยเลย ที่ต้องข้ามไม่ทำก่อนเพราะ TGAT2 น้องเยอะม๊าก แล้วก็มีการคำนวณเลยต้องให้เวลาเค้าหน่อยค่ะ 

มาในพาร์ท TGAT2 มี 80ข้อ พาร์ทนี้จะเป็นความสามรถด้านภาษาและคำนวณ ด้านภาษา ก็ออกแนวข้อสอบภาษาไทยเลยค่ะ คำใดต่อไปนี้ให้ความหมายกว้างสุด/แคบสุด ให้บทความมาแล้วถามข้อสรุป ข้อสนันสนุน ข้อโต้แย้ง ข้อใดที่อ่านแล้วมีความหมายกำกวม แล้วก็มีข้อที่ให้บทความแล้วมีการเว้นเพื่อให้เราเติมคำที่เหมาะสมในประโยคค่ะ ด้านการคำนวณก็จะมีพับกล่อง ลูกเต๋า การมองภาพ 3มิติ ลำดับอนุกรม มิติสัมพันธ์นิดๆ หน่อยๆ ค่ะ การคำนวณจะออกแนวๆ ความถนัดแพทย์พาร์ทเชาว์เลยค่ะ

ต่อไป TPAT1 หรือก็คือ ข้อสอบความถนัดแพทย์ ปีนี้เป็นปีที่สองที่มีการปรับเวลา ส่วนตัวชอบมากค่ะ เพราะครึ่งวันจบ กลับบ้านนอน 55555 ข้อสอบมี 3พาร์ท คือ เชาว์/จริยธรรม/เชื่อมโยง

พาร์ทแรก พาร์ทเชาว์ 45ข้อ (75นาที) มาปีหลังๆ กสพทชอบออกแนวตารางข้อมูล แนวกราฟมาเยอะมากก คำนวณปาไป 20ข้อ มีมิติสัมพันธ์มา 1ข้อ อนุกรมปีนี้ไม่มีเลยค่ะ ใครที่เตรียมตัวสอบ เน้นไปที่ตาราง/กราฟดีกว่า เพราะหลังๆ มาออกแบบนี้เยอะขึ้นมากก แต่พาร์ทเชาว์ก็มีส่วนของภาษาบ้าง เช่น ใจความสำคัญ หรือแบบมีเงื่อนไข เช่น ถ้าปลูกแครอท จะไม่ปลูกผักชี ถ้าปลูกผักชี จะปลูกมะเขือเทศกับต้นหอม ประมาณนี้ค่ะ การบริหารเวลาสำคัญมากก ไม่ต้องทำเรียงข้อ ข้ามไปพาร์ทที่ถนัดก่อนเลยค่ะ อย่างเบลล์ไปทำพาร์ทที่เป็นแนวภาษาก่อน

พาร์ท2 พาร์ทจริยธรรม 55ข้อ (60นาที) ปีนี้ลดข้อสอบลง จากปีที่แล้ว 60ข้อ 60นาที ข้อสอบโจทย์ยาวม๊ากก ต้องจับใจความให้ดีว่าปัญหาในบทความอยู่ส่วนไหน อย่าหลงกลข้อสอบ อย่าตอบแบบดีเว่อจนเกินไป มีความพอดีๆ มองโลกในแง่บวก ส่วนใหญ่ข้อสอบจะเป็นการให้เหตุการณ์มาแล้วถามความเห็นของเราค่ะ มีออกเกี่ยวกับแพทย์มา 1ข้อ หลัก ๆจะเป็นการถามความคิดเห็นเรามากกว่าค่ะ

พาร์ท3 พาร์ทเชื่อมโยง 20ข้อ (60นาที) ปีนี้รู้สึกว่าบทความไม่ซับซ้อนมากเหมือนปีก่อนๆ ส่วนตัวมองว่าเหมาะสมค่ะกับเวลาที่ให้มา ถ้าเทียบกับปีก่อนคือเบลล์ฝนจนวินาทีสุดท้ายเลยค่ะ ปีนี้ฝนเสร็จเวลาเหลือให้เราอ่านย้ำอีกรอบ บทความปีนี้รู้สึกว่าหาตัวเชื่อมง่ายกว่า แต่ก็มีบางคำที่แบบ เอ๊ะมันใช่ความหมายเดียวกันกับคำในตารางที่กำหนดมารึเปล่านะ แต่ขอแนะนำนะคะ ไม่มั่นใจ ไม่ต้องโยงค่ะ ตอบไม่ครบไม่โดนหักนะคะ ตอบเกินโดนหัก ดังนั้นขอแนะนำว่าอย่าเดาค่ะ พาร์ทนี้ต้องคำนวณเวลาดีๆ เพราะต้องโยง ฝนอีก ฝนก็ไม่ใช่แค่วงเดียวจบ 1คำตอบต้องฝนถึง 3วง นาฬิกาห้ามลืมเด็ดขาดนะคะ

ซึ่งคะแนนออกมาก็โอเคมากๆ เลยค่ะ อย่าง TGAT1 เบลล์อ่านมานิดหน่อย ตอนสอบคือใช้ความรู้เดิมเยอะมาก แล้วก็มีทำไม่ทันตรงบทความสุดท้ายด้วยค่ะ เลยคิดว่าขอสักครึ่งก็ได้ ซึ่งครึ่งจริงๆค่ะ ส่วน TGAT2 เบลล์ไม่ถนัดคำนวณ ตอนทำแบบฝึกก็งงๆ แต่ในห้องสอบรู้สึกว่าทำได้มากกว่าที่คิดไว้ คะแนนคือโอเคแล้วค่ะ พอใจแล้ว ส่วน TGAT3 เบลล์ทำพาร์ทนี้พาร์ทแรก ได้ทำ อ่านโจทย์ทุกข้อ รู้สึกว่าทำได้เยอะ ขอ 60+ก็โอเคค่ะ ซึ่งเกินไปเยอะเลย ดีใจมากกกค่ะ

เตรียมสอบชีวะสไตล์เด็กเรียนกลางๆ

สำหรับวิชาชีวะโชคดีมากๆ ที่ครูที่รร.สอนสนุก แล้วส่วนตัวเราก็ชอบวิชานี้อยู่แล้ว เลยเรียนเข้าใจค่ะ อาศัยจากตั้งใจเรียนในห้องมากๆ ใช้หนักสือปลาหมึกของอ.อุ้ยเข้าช่วยค่ะ เป็นตัวช่วยที่ช่วยได้เยอะมากค่ะ พอเรียนในห้องเรียนเข้าใจ ตอนสอบเข้าก็เอาแค่สรุป อ่านซ้ำ ทำโจทย์ค่ะ เพราะส่วนตัวอยากไปเน้นวิชาที่ไม่ถนัดมากกว่า 

รีวิวคอร์สสรุปเนื้อหา อ.อุ้ย

เตรียมสอบทันตะฯ

อย่างที่บอกว่าเบลล์ตั้งใจเรียนวิชานี้ในรร.แล้ว พอเตรียมตัวสอบเข้าเลยอยากได้คอร์สที่เป็นสรุปเนื้อหา ซึ่งคอร์สของอ.อุ้ยเป็นคอร์สที่ตอบโจทย์มากๆ 1 เรื่อง : 1หน้ากระดาษ สรุปเรื่องที่จำเป็น ควรจำในหน้าเดียว เป็นคอร์สที่จดเองทุกอย่าง สายจดอย่างเบลล์ถูกใจมากค่ะ อีกอย่างที่รู้สึกว่าดีใจที่ลงก็คือ จะมีเรื่องบางเรื่องที่เราลืมไปแล้ว พอมาสรุปเนื้อหาทำให้เรารู้ว่า เรื่องนี้เรายังไม่แม่นนะ ต้องไปอ่านเพิ่ม แต่เราอ่านเพิ่มเป็นเรื่องๆ ไม่ใช่ทั้งบท ทำให้ช่วยร่นระยะเวลาในการเตรียมตัวสอบของเบลล์ได้เยอะเลยค่ะ

รีวิวคอร์สตะลุยโจทย์ชีวะ อ.อุ้ย

พอจบสรุปเนื้อหา เรารู้แล้วว่าบทไหนที่เราจำไม่ได้ ก็ไปอ่านเพิ่มมาเรียบร้อยแล้ว ต่อไปก็ตะลุยโจทย์ ที่ชอบตะลุยโจทย์ของอ.อุ้ยคือ เป็นแบบแยกบทเลย ก็เป็นการเก็บจุดพลาดแต่ละบทของเราให้ดีมากขึ้น แล้วก็ตบท้ายด้วยตะลุยข้อสอบแบบรวมบทจำลองข้อสอบจริง ตอนทำก็จับเวลาจริงด้วย เป็นการจำลองสถานการณ์วันสอบ พอตอนสอบจริงๆ จะได้ไม่ลนแล้วก็จัดการเวลาได้ค่ะ

ข้อสอบชีวะแค่ท่องจำทำข้อสอบไม่ได้ การทบทวนจากหนังสือสสวท. ช่วยได้

ตัวข้อสอบปัจจุบันจะไม่เน้นการจำเพื่อนำไปสอบ ปัจจุบันนี้จะเน้นการประยุกต์มีเหตุการณ์ตัวอย่างมาให้ และตั้งแต่ปี 64 สสวท. เป็นคนออกข้อสอบ ดังนั้นโจทย์ในหนังสือสำคัญมากก บางข้อคือเป๊ะๆ เลยค่ะ เช่นบทความหลากหลาย รูปมาเป๊ะเลย ที่อยากจะแนะนำคือ หนังสือสสวทอย่าทิ้งนะคะ มีประโยชน์แน่นอน ฝึกทำจากหนังสือสสวทตรงจุดชัวร์ค่ะ ที่สำคัญต้องสโคปเนื้อหาเยอะๆ ให้ย่อลง อย่าอ่านแบบหว่านแห อ่านให้ตรงประเด็นค่ะ

แบ่งเวลาเรียนยังไงบ้าง?

การแบ่งเวลาของเบลล์ก็เป็นจะแบ่งเป็น 3ช่วงค่ะ เช้า บ่าย ค่ำ ส่วนวิชาแล้วแต่การจัดสรรของแต่ละคนเลยค่ะ ตอนเปิดเทอม งานจะเยอะมากๆ กิจกรรมด้วย ถ้ามีการบ้านก็จะรีบทำให้เสร็จ งานกลุ่ม ก็ต้องแบ่งงานกันชัดเจน จัดลำดับการส่งงานให้ดีจะได้จัดตารางได้ถูกค่ะ เสร็จแล้วก็เรียน/ทวน วิชาที่เราจะใช้สอบเข้า วันละ1-3 ชม. ช่วงที่เปิดเทอมเวลาจะไม่เยอะ ไม่ต้องกดดันตัวเองว่าเรียนได้นิดเดียวนะคะ แค่เราทำทุกวัน วันละนิดก็ดีกว่าไม่ได้ทำ

อยากให้ฝากถึงน้องๆ #Dek66 ที่กำลังเตรียมตัวสอบหน่อยค่ะ

เบลล์เข้าใจน้องๆ ทุกคนนะคะ เราเคยอยู่จุดนั้นเราเข้าใจเลยว่ามันทั้งกดดัน เครียด กังวล หมดไฟบ้าง แต่อยากให้น้องๆ นึกถึงความตั้งใจของเรา อะไรที่ทำให้เราต้องมานั่งเรียนคอร์สนู่นนี่ เพราะเราต้องการเรียนคณะที่เราชอบ อยากได้ไม่ใช่หรอ สู้ๆ สิ นิดเดียวแล้ว บอกตัวเองบ่อยๆ นะคะ อย่าลืมว่าเรามาไกลมากแล้ว อย่าเพิ่งยอมแพ้ ตั้งสติ ใจเย็นๆ แล้วลุยต่อ เหนื่อยก็พักบ้าง อย่าหักโหมจนร่างกายอ่อนแอ พักเพื่อสู้ต่อ ลุยค่ะ🔥


และสำหรับน้องๆ ที่กำลังเตรียมสอบอยู่ตอนนี้ก็น่าจะพอรู้ แนวข้อสอบ TGAT และ TPAT กันแล้ว ก็สามารถนำสิ่งที่พี่เบลล์นำมาแบ่งปันในวันนี้ไปใช้เตรียมสอบได้เลย และที่สำคัญอย่าลืมว่า!!การเตรียมสอบที่ดีต้องเป็นการเตรียมสอบที่เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณอย่างที่พี่เบลล์บอกไว้นั่นเองค่ะ

สำหรับน้องๆ ที่อยากเพิ่มความมั่นใจในการสอบชีวะสามารถสมัครติวออนไลน์กับ อ.อุ้ย ดร.ศุภณัฐ ไพโรหกุล ได้เลย คอร์สพิชิต TCAS ชีวะ – สรุปเนื้อหา A-Level  คอร์สนี้จะสรุปเนื้อหาชีวะ ม.ปลาย 3 ปี ใน 200 คอนเช็ปต์ ตามหลักสูตรใหม่ สสวท. เน้นเฉพาะเนื้อหาที่ออกสอบ จบใน 27 ชั่วโมง เนื้อหาอธิบายละเอียด กระชับ มีภาพประกอบ ตาราง และแผนผังต่างๆ ทำให้เข้าใจได้ง่าย พร้อมสรุปเป็นคอนเซ็ปต์สั้นๆ จบได้ภายใน 10 นาที

นอกจากนี้ยังมี คอร์สพิชิต TCAS ชีวะ – ตะลุยโจทย์ A-Level ตะลุยโจทย์ คอร์สนี้นอกจากน้องๆ จะได้ตะลุยโจทย์ชีวะ แนวข้อสอบออกใหม่ 625 ข้อแล้ว อ.อุ้ยยังเฉลยละเอียดจัดเต็ม ไม่มีข้าม เพื่อให้น้องๆ ได้ทบทวน เรียนรู้เทคนิคการทำโจทย์แบบต่างๆ และฝึกทำข้อสอบก่อนลงสนามจริงด้วย

โดยทุกๆ คอร์สที่น้องๆ ติวออนไลน์กับ Dek-D School สามารถทวนซ้ำได้ไม่จำกัดชั่วโมงตลอด 6 เดือน พร้อมรับหนังสือประกอบการเรียนที่ อ.อุ้ยเขียนส่งตรงถึงบ้านฟรี! ที่สำคัญที่สุดแม้ว่าจะเป็นการเรียนออนไลน์ แต่น้องๆ สามารถสอบถามข้อสงสัยกับ อ.อุ้ยใต้คลิปที่กำลังเรียนอยู่ได้ โดยจะได้รับแจ้งเตือนเมื่อมีการตอบกลับ

น้องๆ ที่สนใจอยากติวออนไลน์กับ Dek-D School สามารถปรึกษาพี่ๆ เพิ่มเติมได้ที่ Line @SchoolDekD หรือ ติดตามข้อมูลข่าวสาร และเทคนิคการติวต่างๆ เพิ่มเติม ได้ที่ Facebook Dek-D School เลยนะคะ