HomeReviewแชร์เทคนิค พิชิตคะแนนชีวะ 80 UP ภายใน 3 เดือน จากรุ่นพี่แพทย์ ศิริราช

แชร์เทคนิค พิชิตคะแนนชีวะ 80 UP ภายใน 3 เดือน จากรุ่นพี่แพทย์ ศิริราช

โค้งสุดท้ายใกล้สอบแล้วมีน้องๆ คนไหนที่ไม่ชอบวิชาชีวะ แต่เลี่ยงวิชานี้ไม่ได้เพราะต้องใช้คะแนนในการสอบ TCAS บ้าง วันนี้พี่มีเคล็ดลับเตรียมสอบชีวะ ฉบับเร่งรัด จากพี่ไอซ์ รุ่นพี่ #Dek65 คณะแพทย์ฯ ศิริราชมาฝาก พี่ไอซ์ใช้เวลา 3 เดือนสุดท้ายก่อนสอบเตรียมสอบชีวะจนสามารถ พิชิตคะแนนชีวะ ได้ถึง 80 คะแนน พี่ไอซ์มีเทคนิคยังไงในการเตรียมสอบบ้าง ไปติดตามได้เลย

ก่อนอื่นให้น้องแนะนำตัวก่อนค่ะ

สวัสดีค่ะ ชื่อ ปภาสร วัฒนกุล ชื่อเล่นชื่อ ไอซ์ ค่ะ จบจากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ค่ะ ตอนนี้เรียนอยู่คณะแพทยศาสตร์ ศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดลค่ะ

เตรียมตัวสอบแพทย์ยังไงบ้าง?

แชร์เทคนิค พิชิตคะแนนชีวะ

สอบแพทย์ก็จะใช้คะแนน 9 วิชาสามัญ กับความถนัดแพทย์ เราก็ทยอยเก็บเนื้อหาวิชาต่างๆ ตั้งแต่ช่วง ม.5 เทอม 2 ค่ะ แต่ก็เรียนแบบชิลๆ นะคะ ไม่ได้เรียนหนักอะไรเลยค่ะ จนถึงช่วง ม.6 ปลายๆ ถึงเริ่มมาฟิตๆ ค่ะ สรุปก็คือเริ่มอ่านหนังสือจริงๆ จังๆ ก็ช่วง 6 เดือนก่อนสอบนี่แหละค่ะ แล้วจะเริ่มทำโจทย์ปีเก่าๆ (บางวิชาไม่ได้ทำโจทย์ย้อนหลังเลยค่ะ 555) สิ่งที่มากระตุ้นว่าเราควรจะอ่านหนังสือมากกว่านี้ ก็น่าจะเป็น Dek-D’ Pre-Admission นี่แหละค่ะ แนะนำเลยค่ะสำหรับคนที่จะสอบเข้า ถ้าสอบที่สนามนี่ให้อารมณ์เหมือนตอนทำข้อสอบจริงที่สุดแล้วล่ะค่ะ 

เคยคิดที่จะเทชีวะ แต่ Dek-D’ Pre-Admission คือจุดเปลี่ยน เพราะทำให้รู้ว่าหากเทชีวะมีโอกาสสอบไม่ติดแพทย์แน่ๆ

แชร์เทคนิค พิชิตคะแนนชีวะ

ถ้าพูดถึงชีวะเป็นวิชาที่เราเกลียดสุดๆ เลยค่ะ ไม่คิดจะสนใจมันเลย แล้วก็คิดจะเทมากๆ เพราะคิดว่าวิชาอื่นน่าจะสามารถดึงคะแนนเราให้ติดได้ แล้ววิชาชีวะมันอาศัยความจำเยอะมากค่ะ แล้วก็ข้อสอบมันก็ต้องอาศัยความรู้ครบทุกบท แล้วก็คือไม่รู้จะเริ่มอ่านตรงไหนดี เนื้อหามันเยอะไปหมด ท้อแท้ในการเรียนวิชานี้มากๆ ค่ะ แต่พอมาลองสอบ Dek-D’ Pre-Admission ก็รู้สึกว่ามันไม่ได้แล้ว ถ้าเป็นแบบนี้สอบไม่ติดแน่ๆ และชีวะเห็นพี่ ๆ บอกว่ามันไม่ได้ยาก และเป็นวิชาที่พอจะเก็บคะแนนได้ เนื้อหาออกไม่ได้ลึกมาก ก็เลยเปลี่ยนใจเริ่มอ่านชีวะจริงจัง แล้วก็สมัครคอร์สของพี่อุ้ยค่ะ

เตรียมตัวสอบชีวะ 3 เดือนสุดท้ายก่อนสอบด้วยคอร์สสรุปเนื้อหาชีวะกับอ.อุ้ย

มาเริ่มเตรียมตัวชีวะแบบจริงจัง 3 เดือนก่อนสอบเองค่ะ คือตอนแรกเรียนคอร์สพิชิต TCAS ชีวะ – ตะลุยโจทย์ A-Level กับพี่อุ้ยก่อนค่ะ ตอนนั้นรู้สึกว่าไม่รู้เรื่องอะไรสักอย่างเลย เพราะว่าไม่ได้เก็บเนื้อหาชีวะมาก่อน แล้วเห็นเพื่อนๆ เรียนคอร์สพิชิต TCAS ชีวะ – สรุปเนื้อหา A-Level กับทาง Dek-D School เยอะ ก็เลยลองสมัครดูเป็นคอร์สสั้นแล้วก็ไม่แพงด้วยค่ะ เริ่มมาเรียนช่วงต้นมกราช่วงนั้นเรียนสรุปเนื้อหาชีวะอย่างเดียวเลยค่ะ เรียนประมาณ 2 อาทิตย์ก็จบ พอเรียนจบรู้สึกว่าความรู้ชีวะดีขึ้นเยอะเลยค่ะ เพราะพี่อุ้ยจัดความรู้แต่ละบทเป็นหมวดๆ ให้เรียบร้อยแล้ว แล้วก็จับประเด็นเฉพาะที่ออกสอบมาให้ พวกน้ำๆ ของชีวะเราก็ไม่ต้องไปจำมันค่ะ ก็จำแค่ในหนังสือเล่มนี้เลยพอเราเรียนคอร์สสรุปเนื้อหาของพี่อุ้ยจบช่วงกลางเดือนมกรา เราก็ทวนเนื้อหาที่ได้เรียนตลอดทุกวัน จนจำได้ครบหมดทั้งเล่มค่ะ (เล่มบางๆ)

เมื่อความรู้ชีวะดีขึ้นก็เริ่มตะลุยทำโจทย์ โดยเน้นทำข้อสอบเก่าให้มากที่สุด

หลังจากนั้นเราก็กลับไปดูหนังสือคอร์สตะลุยโจทย์พี่อุ้ยค่ะ ว่ามีเนื้อหาตรงไหนที่เราตกหล่นไปไหม หลังจากนั้นก็ทำข้อสอบย้อนหลัง 10 ปีค่ะ + ข้อสอบ PAT ชีวะด้วย (เพราะว่าตั้งแต่ปี 64 วิชาสามัญมันเปลี่ยนข้อสอบให้เราวิเคราะห์มากขึ้น คล้ายๆ PAT) และเพราะชีวะเป็นวิชาที่เราอ่อนที่สุด เราเลยเก็บข้อสอบเก่าเยอะที่สุดเลยล่ะ แค่ช่วง 3 เดือนก่อนสอบนี่แหละ เราก็ทำข้อสอบปีละวันค่ะ แป๊บเดียวก็ครบแล้ว 10 ปี ที่เหลือก็หมั่นทวนเนื้อหาให้จำได้ค่ะ

คอร์สสรุปเนื้อหาอ.อุ้ย Dek-D School ช่วยชีวิต พิชิตคะแนนชีวะ 80 UP

ต้องบอกว่าคอร์สสรุปเนื้อหาของพี่อุ้ยดีจริงๆ ค่ะ เราได้คะแนนชีวะ 80 ค่ะ จริงๆ คะแนนมันก็ไม่ได้ดีอะไรขนาดนั้น แต่เราเพิ่งมาอ่านชีวะวิชาสุดท้าย เพิ่งเก็บเนื้อหาแบบไฟลน ได้แค่นี้ก็ภูมิใจมากๆ แล้วค่ะ ส่วนตัวไม่ได้อ่านเนื้อหาชีวะจากหนังสืออื่นเลยค่ะ (เพราะไม่ทันแล้ว)

ข้อสอบชีวะปี 65 ยากและเน้นวิเคราะห์

ข้อสอบชีวะปี 65 เราว่ายากกว่าปี 64 พอสมควรเลยค่ะ มันเน้นการคิดวิเคราะห์มากขึ้นเยอะมาก โจทย์ก็ยาว ๆ เหมือนปี 64 ค่ะ ใครที่ไม่ชอบอ่านตัวหนังสือเยอะๆ เราว่าก็ต้องฝึกการอ่านมากขึ้นเลยค่ะ แต่ส่วนตัวเราชอบอ่านพวกนิยายอยู่แล้วค่ะ เจอตัวหนังสือเยอะๆ ก็ไม่ได้ตกใจอะไร แล้วก็โจทย์ส่วนใหญ่มันเป็นพวกการทดลองค่ะ เราเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์ก็เลยคุ้นชินบ้าง แต่สำหรับใครที่ไม่ได้เจอการทดลองอะไรพวกนี้บ่อยๆ ก็แนะนำให้อ่านในหนังสือ สสวท. ชีวะค่ะ (การทดลองที่ข้อสอบเอามาออกก็อยู่ในหนังสือนะคะ)

แชร์เทคนิคเตรียมสอบ TCAS ด้วยการเรียนออนไลน์

เราเรียนทุกวิชาเป็นคอร์สออนไลน์แทบทั้งหมดเลยค่ะ เราก็ใช้เวลาหลังเลิกเรียนเป็นเวลาเรียนพิเศษค่ะ เรียนวันละประมาณ 6 ชม. ประมาณนี้ (รวมทำโจทย์ด้วย) ช่วงแรกๆ ก็เน้นการเก็บเนื้อหาให้ครบก่อน หลังๆ ก็ค่อยทำโจทย์อย่างเดียวค่ะ เราเป็นคนเสียสมาธิง่ายก็ต้องเรียนแบบติวเตอร์จับเวลาทำโจทย์ให้ด้วย (ถ้าทำด้วยตัวเองจะรู้สึกไม่มีกำลังใจมากๆ) แต่ถ้าใครโฟกัสการเรียนได้นานๆ ก็แนะนำให้หาข้อสอบเก่ามาทำเอง ก็จะประหยัดค่าเรียนไปได้เยอะค่ะ พอเรียนเสร็จเครียดๆ ก็จะพักค่ะ ไปดูซีรี่ย์ การ์ตูน เล่นดนตรี ส่วนตัวเราจะไม่มีแพลนอะไรเป็นพิเศษ ก็แค่วันนึงต้องเรียน 5-6 ชม. จะพักตอนไหนก็พักไป อยากเรียนวิชาอะไรก็เรียนวิชานั้น ตามใจตัวเองไปเลยค่ะ แต่ต้องคำนึงว่าก่อนสอบต้องจบทุกวิชานะ อีกอย่างคือพยายามไม่กดดันตัวเองค่ะ แล้วก็แนะนำว่าช่วงเวลาการเก็บเนื้อหา ถ้ายิ่งเก็บเร็วก็ยิ่งดี เพราะช่วงก่อนสอบเราจะได้ไม่เครียด ไปทำข้อสอบแบบชิลๆ ช่วยลดความกดดันไปได้เยอะมาก ถ้าตัวเราคิดว่าเราเตรียมตัวมาพร้อมแล้ว แล้วก็เผื่อใจเอาไว้ค่ะ หาแผนสำรองเตรียมไว้เผื่อด้วย

เตรียมสอบแพทย์เตรียมสอบวิชาอะไรก่อนหลังดี

การเตรียมสอบแพทย์ คิดว่าหนักกว่าคณะอื่นเยอะเลยค่ะ เพราะมันต้องสอบทุกวิชาเลยรวมทั้งความถนัดแพทย์ด้วย ถ้าให้แนะนำส่วนตัวเราเก็บความถนัดแพทย์ก่อนเลยค่ะ เพราะรู้สึกว่าวิชามันจอยๆ แล้วก็เน้นประสบการณ์การทำโจทย์ด้วย จะได้รู้แนวข้อสอบ หมั่นทำข้อสอบวันละนิดๆ ต่อมาก็ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ อันนี้แล้วแต่คนเลยค่ะ อยากเรียนวิชาไหนก่อนก็เรียนวิชานั้นเลย แต่รู้สึกว่าเก็บไปพร้อมๆ กันดีกว่านะคะ เราจะเรียนจบทุกวิชาพร้อมๆ กัน แล้วก็ไล่ทำโจทย์ไปพร้อมๆ กัน เพราะถ้าเราโฟกัสวิชาใดวิชาหนึ่ง อีกวิชามันจะลืมค่ะ แล้วก็วิชาภาษาอังกฤษอันนี้ควรหมั่นเก็บตลอดนะคะ เพราะรู้สึกว่าวิชานี้อาศัยประสบการณ์มากค่ะ เราเริ่มเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่ ม.5 เทอม 2 เป็นวิชาแรกเลยค่ะ ส่วนไทยสังคม อ่านที่หลังสุดเลยค่ะ เราอ่าน 1 เดือนก่อนสอบ เพราะสังคมเนื้อหาเยอะมากค่ะ เราจำได้ไม่หมดแน่นอน ไทยสังคมก็อาศัยดวงเอาค่ะ 555

ฝากถึงน้องๆ #Dek66 หน่อยค่ะ

แชร์เทคนิค พิชิตคะแนนชีวะ

ทุกคณะต้องอาศัยความพยายามค่ะ ถ้าอยากให้เป้าหมายของเราสำเร็จเราก็แค่ต้องพยายาม แล้วก็อย่าท้อแท้ค่ะ จริงๆ ก็ท้อแท้ได้นะคะ แต่พยายามให้กำลังใจของเรามันกลับมาให้ได้ หาเวลาพักผ่อนเยอะๆ ส่วนเวลาอ่านหนังสือก็พยายามโฟกัสกับมันให้มากที่สุด ส่วนเวลาพักก็คือเวลาพัก เป็นกำลังใจให้น้องๆ ทุกๆ คนนะคะ หาความสุขให้ตัวเองเยอะๆ สู้ ๆ นะคะ

ทั้งหมดนี้ก็เป็นเทคนิคการเตรียมสอบชีวะของพี่ไอซ์ จะเห็นว่าพี่ไอซ์ใช้เวลาในการเตรียมสอบชีวะไม่มากก็จริง แต่พี่ไอซ์มีการวางแผนในการเรียน และมีเป้าหมายการเรียนที่ชัดเจน ทำให้สุดท้ายก็สามารถ พิชิตคะแนนชีวะ ซึ่งเป็นวิชาที่ไม่ไม่ชอบได้ถึง 80 คะแนน และสามารถสอบติดคณะในฝันได้ในที่สุด

สำหรับน้องๆ ที่อยากเพิ่มความมั่นใจในการสอบชีวะสามารถสมัครติวออนไลน์กับ อ.อุ้ย ดร.ศุภณัฐ ไพโรหกุล ได้เลย คอร์สพิชิต TCAS ชีวะ – สรุปเนื้อหา A-Level  คอร์สนี้จะสรุปเนื้อหาชีวะ ม.ปลาย 3 ปี ใน 200 คอนเช็ปต์ ตามหลักสูตรใหม่ สสวท. เน้นเฉพาะเนื้อหาที่ออกสอบ จบใน 27 ชั่วโมง เนื้อหาอธิบายละเอียด กระชับ มีภาพประกอบ ตาราง และแผนผังต่างๆ ทำให้เข้าใจได้ง่าย พร้อมสรุปเป็นคอนเซ็ปต์สั้นๆ จบได้ภายใน 10 นาที

นอกจากนี้ยังมี คอร์สพิชิต TCAS ชีวะ – ตะลุยโจทย์ A-Level ตะลุยโจทย์ คอร์สนี้นอกจากน้องๆ จะได้ตะลุยโจทย์ชีวะ แนวข้อสอบออกใหม่ 625 ข้อแล้ว อ.อุ้ยยังเฉลยละเอียดจัดเต็ม ไม่มีข้าม เพื่อให้น้องๆ ได้ทบทวน เรียนรู้เทคนิคการทำโจทย์แบบต่างๆ และฝึกทำข้อสอบก่อนลงสนามจริงด้วย

ทุกๆ คอร์สที่น้องๆ ติวออนไลน์กับ Dek-D School สามารถทวนซ้ำได้ไม่จำกัดชั่วโมงตลอด 6 เดือน พร้อมรับหนังสือประกอบการเรียนที่ อ.อุ้ยเขียนส่งตรงถึงบ้านฟรี! ที่สำคัญที่สุดแม้ว่าจะเป็นการเรียนออนไลน์ แต่น้องๆ สามารถสอบถามข้อสงสัยกับ อ.อุ้ยใต้คลิปที่กำลังเรียนอยู่ได้ โดยจะได้รับแจ้งเตือนเมื่อมีการตอบกลับ 

น้องๆ ที่สนใจอยากติวออนไลน์กับ Dek-D School สามารถปรึกษาพี่ๆ เพิ่มเติมได้ที่ Line @SchoolDekD หรือ ติดตามข้อมูลข่าวสาร และเทคนิคการติวต่างๆ เพิ่มเติม ได้ที่ Facebook Dek-D School เลยนะคะ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -

Most Popular

Recent Comments